ร่วมสร้าง platform ใหม่ ของการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัย ยุค ประเทศไทย ๔.๐



บ่ายวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ผมเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารงานกลางหน่วยบริหารงานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศ SiCORE-M ครั้งที่ ๘/๒๕๖๑ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล   ระหว่างนั่งประชุมแบบสานเสวนา ผมตีความว่า งานนี้เป็นการสร้าง platform ใหม่ ของการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัย ในระยะยาว

 หลังจากทีมงาน ที่นำโดย อ. นพ. อัครินทร์ นิมมานนิตย์ เป็นหัวหน้าทีม เริ่มศึกษาเป้าหมายและแนวทางการทำงาน  รวมทั้งปรึกษาหารือกลุ่มงานวิจัยที่เข้มแข็งในศิริราช  ใช้เวลาค่อนปี   ก็ได้งาน ๕ ก้อน

  • การจัดตั้ง SICRES (Siriraj Institute of Clinical Research)    ซึ่งผมทำนายว่า ต่อไปจะมีโอกาสพัฒนาเป็น TIRES (Thailand Institute of Clinical Research)   เป็นองค์กรที่ทำงานเลี้ยงตัวเองแบบไม่ค้ากำไร   ทำงานให้แก่ประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายา 
  • งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานรักษาผู้ป่วยโดยการใช้ยาที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา (Drug repurposing)    ซึ่งเป็นการนำยาเก่ามาใช้ในเป้าหมายใหม่   งานนี้จะฝังอยู่ในอีก ๔ ก้อน   
  • SiCORE Allergy
  • SiCORE Cancer
  • SiCORE Dengue

นี่คือกระบวนการเรียนรู้จากการทำงานจริง เพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมงานวิจัยในโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย    เพื่อใช้ภูมิปัญญาที่มีมากมาย กระจัดกระจาย    ให้ทำงานร่วมกันแบบพุ่งเป้า    มีการกำหนดเป้าหมายที่มีความสำคัญต่อประเทศ    หาทางสร้างความร่วมมือทั้งภายในศิริราช ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ภายในประเทศไทย   และร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์ในต่างประเทศ  

 เป็นการทำงานระยะยาว เพื่อสร้าง platform ใหม่ของการวิจัย ที่เดิมปล่อยให้อาจารย์แต่ละคนดิ้นรนช่วยตัวเองในการสร้างผลงานวิจัย   มาเป็น มีการกำหนดเป้าหมายสำคัญของการวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศ    แล้วมีมาตรการรวมทีมวิจัย และมาตรการส่งเสริมในรูปแบบต่างๆ    

 งานวิจัยไม่ใช่งานส่วนตัว หรือทำเฉพาะตน    แต่จะกลายเป็นงานที่มีเป้าหมายสูงส่ง เพื่อผู้ป่วย เพื่อประเทศ และเพื่อมนุษยชาติ    มีระบบการจัดการสนับสนุนจริงจัง    ไปสู่งานนวัตกรรมที่ออกสู่ตลาดได้  

วิจารณ์ พานิช

๑๘ ก.ค. ๖๑

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 650702เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2018 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2018 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท