​ ชีวิตที่พอเพียง 3242. สี่สหายเรียนรู้วิวัฒนาการของมนุษย์



วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑สี่สหายนัดกินอาหารเที่ยงที่ภัตตาคาร China Place ถนนพระราม ๖   แล้วไปคุยกันต่อที่บ้าน ศ. ดร. ฉัตรทิพย์นาถสุภา ที่ถนนเศรษฐศิริ

โดยนัดกันว่า วันนี้ ศ. ดร. วิสุทธิ์ใบไม้ จะมาเล่าเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์    โยงมาสู่การตั้งถิ่นฐานของคนไทยในดินแดนแหลมทอง   

ศ.วิสุทธิ์ตั้งต้นที่วิวัฒนาการของสัตว์เป็น ไพรเมท เมื่อ ๕๐ ล้านปีก่อน    จนเมื่อ ๖ ล้านปีก่อนเกิดลิง โฮมินอยด์ที่เวลานี้คือ ชิมแปนซี  กอริลลา  อุรังอุตัง และชะนี    เมื่อ ๕ล้านปีก่อนเกิดมนุษย์ โฮมินิดส์ ในจีนัส Ardipithecus และ Australopithecusซึ่งเวลานี้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว   

จีนัสที่คล้ายมนุษย์ปัจจุบันที่สุดคือ Neanderthal (Homosapiens neanderthalensis)   มีชีวิตอยู่ในช่วง ๔๓๐,๐๐๐ - ๓๘,๐๐๐ ปีก่อน   ซึ่งจะเห็นว่ามีช่วงอยู่ร่วมกันกับมนุษย์Homo sapiens sapiens    และมีผู้บอกว่ามีการผสมข้ามพันธุ์กัน   ทำให้มนุษย์ปัจจุบันมียีนของ Neanderthal อยู่ด้วย   

มนุษย์เกิดขึ้นในโลกเมื่อประมาณ ๒แสนปีก่อน    ที่อัฟริกาบริเวณที่ปัจจุบันเป็นประเทศเอธิโอเปีย    แล้วต่อมาเกิดการอพยพใหญ่ของมนุษย์ ออกจากอัฟริกา เริ่มต้นเมื่อ ๑๕๐,๐๐๐ปีก่อน    และเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อนเกิดการอพยพใหญ่ของมนุษย์ระลอกที่สอง คราวนี้ออกจากยุโรปตะวันตก    เป็นจุดเริ่มต้นของยุคล่าอาณานิคม   

ศ. วิสุทธิ์เอารายงานผลการวิจัยในวารสาร Science เมื่อเดือนกุมภาพันธ์๒๕๖๑ นี่เองที่บอกว่าภาพเขียนสีในถ้ำที่สเปน มีอายุ ๖๕,๐๐๐ ปี จากการศึกษาด้วย Uranium– Thorium Dating ซึ่งมีความแม่นยำมาก    ในช่วงนั้นมนุษย์ Homo sapienssapiens ยังอพยพไปไม่ถึงสเปน  เขาจึงสันนิษฐานว่าภาพเหล่านั้นเขียนโดยมนุษย์ Neanderthal   สะท้อนความฉลาดของมนุษย์สปีชี่ส์นี้    ในการทำสีจากหินสีและในการวาดภาพ       

ศ. วิสุทธิ์ เอาแผนที่แสดงการอพยพของชนเผ่าไทจากตอนใต้ของจีนมายังดินแดนสุวรรณภูมิ    ทำให้เกิดคำอธิบายของศ. ฉัตรทิพย์ว่า เขมรคือมอญที่รับวัฒนธรรมอินเดีย    และจริงๆ แล้วเขมรกับไทยมีความใกล้ชิดกันมากในทางวัฒนธรรม ไม่ต่างจากลาว   

ศ.วิสุทธิ์ลงท้ายด้วยภาพที่แสดงยุคล่าอาณานิคมแบบดั้งเดิมที่ล่าดินแดนเพื่อตักตวงทรัพยากร   กับแบบปัจจุบัน ที่ไม่ต้องยึดดินแดนไม่ต้องยึดอำนาจรัฐ แต่ยึดอำนาจข้อมูลข่าวสารและการค้า  

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 650059เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2018 21:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2018 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท