การทดลองมีความหมายมากกว่าคำว่า "ลงมือทำ"


        จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้เคมีพบว่า ครูวิทยาศาสตร์เป็นครูสาขาที่ต้องคิดหลายๆด้านในการจัดการเรียนการสอน  เป้าหมายต้องชัดเจน เนื้อหาต้องแม่น และต้องปลูกฝังทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังรับผิดชอบต่อสังคมด้วย  นอกจากนี้ก่อนสอนต้องเตรียมการทดลอง และหลังสอนเสร็จต้องมาตรวจรายงานการทดลอง หากเทียบกับครูบางสาขาวิชาพบว่า เราเป็นครูที่แปลว่า คุรุ อย่างแท้จริง

           

         สำหรับครูนกในฐานะครูผู้สอนเคมี จะบอกใครเสมอๆ "การสอนปฎิบัติการทดลอง" ต้องทำ เพราะในการทดลองหนึ่งครั้งเราสามารถฝึกทักษะนักเรียนได้มากมายตั้งแต่  ทักษะการวางแผน  ทักษะการทำงานกลุ่ม  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการสื่อสาร  ซึ่งทั้งนี้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ต้องพร้อมระดับหนึ่ง แต่หากไม่พร้อมหรือไม่มีก็สามารถแก้ปัญหาได้  และเมื่อพูดถึงเครื่องมือพืื้นฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าครูสามารถตั้งคำถามชวนคิดกับนักเรียนได้มากมาย เช่น 
        -  การทดลองครั้งนี้เราควรรินสารละลาย....กี่มิลลิลิตรดี เพราะอะไร

        -  ในการใช้แท่งแก้วคนเราควรใช้ปลายด้านไหนคนสารละลาย เพราะเหตุใดถึงใช้ด้าน....คนสาร

        -  การกรองสาร เมื่อพับกระดาษกรองแล้วมีการฉีกกระดาษกรองที่มุมด้านนี้....เพื่อเหตุผลใด

        -  ทำไมเราต้องใช้ปิเปปต์แทนกระบอกตวงค่ะ

        อีกมากมาย...ครูนกเชื่อว่าครูวิทยาศาสตร์ตั้งคำถามกันได้เก่งๆ

       อยากให้นักเรียนรักวิทยาศาสตร์ เรียนวิทยาศาสตร์อยากมีความสุข ต้องทดลองค่ะ...ลองเถอะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 649286เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2018 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2018 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนวิทย์ต้องทดลองค่ะ จำอย่างเดียวเพื่อเอาไปสอบไม่ได้ช่วยสร้างความเข้าใจค่ะ แป๊บเดียวก็ลืมนะคะครูนก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี