Regime , what is it really mean in Thai context??


เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า "ระบอบ"กับ"ระบบ" ในภาษาไทยไม่น้อย คำนี้แปลมาจากภาษาอังกฤษค่ะ ลองมาดูซิคะว่ามันแปลมาจากคำไหนกัน?

          หลังจากที่ห่างหายจะบล็อกและท่านผู้อ่านที่รักทุกท่านไปนาน กลับมาอีกครั้งกับภาษาอังกฤษน่ารู้ในคำศัพท์ที่ไม่น่าจะสายเกินไปในช่วงนี้ ท่านเคยสงสัยไหมคะว่าคำว่า ระบอบ มีที่มาจากไหน ดิฉันมีคำตอบด้านล่างค่ะ

          คำว่า"ระบอบ" เป็นศัพท์ที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า "Regime" โดยทรงดัดแปลงมาจากคำว่า"ระบบ"(system) "ระเบียบ"(Order) เพื่อใช้ในความหมายว่า"ระเบียบการปกครอง" เช่น ระบอบประชาธิปไตย(Democratic Regime) เป็นต้น

          คำว่า"Regime" ความหมายในแง่การเมืองการปกครอง ตาม Oxford Advanced Learner 's Dictionary(2003)หมายถึงระบอบการปกครองที่มักมีความหมายในทางลบ กล่าวคือหมายถึงระบอบการปกครองที่รัฐบาลที่เข้าสู่อำนาจในการบริหารประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือรัฐบาลที่ใช้อำนาจบริหารประเทศโดยไม่เป็นธรรม เช่น

  • รัฐบาลทหาร (Military Regime )
  • ระบอบฟาสซิสต์(Fascist Regime)
  • ระบอบเผด็จการ(Dictatorial Regime)
  • ระบอบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด(Totalitarian Regime)
  • รัฐบาลที่โหดร้ายป่าเถื่อน(Brutal Regime)
  • รัฐบาลที่กดขี่(Oppressive Regime)

          ส่วนคำว่าระบอบ(Regime)ในบริบทของภาษาไทย หมายถึงระบอบการเมืองการปกครองไม่ว่าจะเป็นความหมายในเชิงบวกหรือเชิงลบ คำไทยมิได้แยกความหมายของคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษไว้อย่างชัดเจนแต่อย่างใด   เนื่องจากยังปรากฏคำว่าระบอบราชาธิปไตยภายใต้กษัตริย์( Constitutional Monarchy Regime)ประชาธิปไตย(Democratic Regime) ในบริบทของภาษาไทย อีกทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ยังให้ความหมาย คำว่า"ระบอบ" หมายถึง แบบอย่าง ธรรมเนียม หรือ ระเบียบการปกครอง 

           และในตอนท้ายเหมือนเดิมค่ะ ขอฝาก Idiom โดนใจให้เอากลับไปขบคิดกันนะคะ..

           Power tends to corrupt; Absolute power corrupts absolutely. แปลว่า อำนาจนำมาซึ่งการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยิ่งไปกว่านั้น อำนาจเบ็ดเสร็จทำให้ฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อย่างเด็ดขาด แต่หากจะกล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ อำนาจทำให้คนเสื่อมลงและเลวลงในที่สุดหากลุ่มหลงใช้มันอย่างไร้คุณธรรม...

ปล. ขอบคุณคุณขจิตที่ติดตามถามข่าวตลอดมาค่ะ ตอนนี้ได้อ่านสมใจแล้วนะคะและหวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่านจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525

คอลัมภ์ภาษาน่ารู้เรื่องศัพท์ในข่าวการเมือง โดยสมศีล ฌานวังศะ  จากมติชนสุดสัปดาห์(ไม่ทราบวันที่พิมพ์)

Oxford Advanced Learner 's Dictionary(2003)

Webster's New World Dictionary (1994)

         

 

         

หมายเลขบันทึก: 64928เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2006 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ดีจังเลยครับคำศัพท์
  • นึกว่าคุณดวงเด่นแวะไปงานด้วย
  • อยากพบเหมือนกัน
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณค่ะ พอดีช่วงนั้นต้องส่งรายงาน
  • ยินดีที่ได้ทราบข้อมูลจากเพื่อนใน GtoK ค่ะ

 

  • ขอบคุณมากครับ
  • จะได้ดูรูปในบันทึกต่อไปครับ
  • ขอบคุณมาหกครับผม
  • ขอบคุณมากค่ะคุณขจิต
  • จะรออ่านค่ะ
  • แวะมาโหวต
  • ไม่ใช่สิแวะมาขอบคุณครับ

สาระดีมากครับ ชอบมาก

เขียนมาอีกนะครับ จะรออ่าน

  • ยินดีอย่างยิ่งค่ะ
  • ขอบคุณคุณขจิตค่ะ ที่เข้ามาโหวต...เอ้ยมาทักทาย
  • ขอบคุณคุณคูร Eng' ตะคร้อพิทยาค่ะ ที่ให้ความสนใจ

 

ขอบคุณครับ สำคัญบทความนี้

กำลังต้องการอยู่พอดี

ยินดีมากๆ ค่ะ และขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท