การฝึกสุขภาวะทางเพศออทิสติก


ขอบพระคุณคุณครูท่านหนึ่งที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Go to Know ครับผม

ขออภัยที่ตอบช้าเนื่องจากติดภารกิจครับ ขอบพระคุณสำหรับคำถามในสามกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ขออนุญาตตอบคำถามตามลำดับ ดังนี้
1. รายที่ 1 ชายวัย 13 ปี เขาจับน้องสาวมาแล้วจับอวัยวะเพศ เมื่อสังเกตเห็น ผู้ปกครองหรือครูก็บอกเคสนี้ว่า "รักน้องสาวอย่างไร" แล้วรอฟังคำตอบ จากนั้นผู้ปกครองหรือครูทวนคำตอบพร้อมย้ำให้ชัดเจนว่า "รักน้องสาวแบบพี่น้อง กอดนิ่ง ไม่ใช้เสียง นับในใจ 1-20 แล้วพาน้องไปเล่นเต้นรำ/ออกกำลังกาย" ผู้ปกครองและครูสาธิตกับน้องสาวและเคสแล้วลองให้เคสทำตาม เป็นการปรับพฤติกรรมแบบสาธิตการเรียนรู้แบบ Negative Reinforcement ให้ลดการจับมืออวัยวะเพศมากอดและเต้นรำกับน้องสาวพร้อมใส่ข้อมูลที่ดีว่า รักแบบพี่น้อง ช่วยเหลือน้อง
2. รายที่ 2 หญิงวัย 17 ปี พูดจารู้เรื่องดี แต่ไม่เข้าใจเรื่องความอาย ผู้ปกครองและครูที่เป็นเพศหญิงควรแนะนำด้วยความใจเย็น น้ำเสียงอ่อนโยน เน้นความรู้สึกเมตตา จะปรับพฤติกรรมแบบสาธิตและสื่อสารแบบ Positive Punishment โดยเน้นการสอนให้ตรงเวลาพร้อมบันทึกพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เคสชอบช่วยตนเองเวลาใดบ้าง ก็ปรับพฤติกรรมเวลานั้น เริ่มจาก "เรียกชื่อเคส แม่หรือครูจะช่วยสอนเรื่องอวัยวะเพศ มานั่งคุยกันนะลูก" สาธิตตั้งแต่เราจะปิดประตูห้อง เพราะเป็นสาวแล้ว ถ้าใครเข้ามา หนูจะไม่ปลอดภัย จากนั้นก็ให้เด็กทำให้ดูว่า ถ้าจะถอดเสื้อ ให้ปิดประตู ย้ำจนเข้าใจ 3 รอบ ต่อด้วย เวลาช่วยตนเอง หนูทำอย่างไร ให้เด็กนอนและสัมผัสมือแบบ Hand Under Hand แล้วนำมาแตะรอบๆสะดือจนถึงรอบๆอวัยะเพศ จากนั้นค่อยๆวางมือเด็ก แล้วสังเกตว่า เด็กมีการช่วยตนเองได้ถูกต้อง (ผ่อนคลายได้จริงไหม) ในช่วง 3 นาที แรก ถ้าเด็กมีการสัมผัสและทำอย่างนุ่มนวล ก็บอกเด็กว่า เอาหละหนูช่วยตนเองได้ ย้ำให้ปิดประตู เสร็จแล้วก็ล้างตัวในห้องน้ำ ปิดประตู ถ้าจะให้แม่หรือครูช่วยอะไร ก็บอกนะ
3. รายที่ 3 ชายวัย 25 ปี มีอารมณ์รุนแรงด้วยการหมกมุ่นทางเพศ และโดนให้อยู่ในบ้าน ทำให้มีความไม่อิสระทางเพศวิถี บ่งชี้ว่ามีความย้ำคิดแบบไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรที่คลายความเครียดลบสะสม เลยช่วยตัวเองเกือบทุกวัน  ควรปรับพฤติกรรมแบบชักชวนไปทำกิจกรรมแบบเครียดบวกเน้น PERMA คือ จัดบรรยากาศสร้างความไว้ใจและมีอารมณ์ร่วมเป็นบวก Positive Engagement Relationship Meaning & Purpose Achievement & Accomplishment โดยชวนเคสออกจากบ้านเพื่อทำกลุ่มที่มีความเป็นผู้ใหญ่ทำกิจกรรมสร้างสรรค์มีประโยชน์ ไม่คาดหวังว่าจะทำได้ เพียงสังเกตและมองคนวัยใกล้กันออกกำลังกาย ทำงานศิลปะ และเล่นเกมส์นันทนาการ จะทำให้เกิดการปรับพฤติกรรมแบบ Negative Reinforcement เพราะมีการลดพฤติกรรมไม่เหมาะสมในบ้าน แล้วเปลี่ยนบรรยากาศมานอกบ้าน ถ้าทางบ้านทำไม่ได้ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในรพ.จิตเวชสำหรับผู้ใหญ่ครับ เช่น จิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยาคลินิก ครูการศึกษาพิเศษที่มีประสบการณ์ มาจัดกลุ่มเพิ่มทักษะ Social Emotional Learning (SEL) ใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ พร้อมกระตุ้นแรงจูงใจและปรับทัศนคติร่วมของการสื่อสารเพื่อเกิดความรักความเข้าใจในครอบครัวคู่ขนานกันไป 

ในกรณีรายที่ 1-2 ถ้าไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงใน 3 สัปดาห์ ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ดังเช่นรายที่ 3 ณ รพ.หรือหน่วยงานที่มีประสบการณ์การพัฒนาสุขภาพจิตสังคมของเด็กวัยรุ่น ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าจะมีหน่วยงานใดทำเรื่องนี้โดยเฉพาะหรือไม่ ผมเคยอบรมให้ครูที่มูลนิธีออทิสติกแต่ก็ไม่ได้ติดตามผลว่าเป็นเช่นไร คิดว่าลองทำตามคำแนะนำก่อนนะครับ และลองปรึกษาทีมสุขภาพจิตในรพ.ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ และ/หรือ หน่วยงานกรมสุขภาพจิต น่าจะทำได้ระดับหนึ่ง ส่วนผู้ที่จะช่วยเหลือทั้ง 3 เคสได้ดีที่สุดคือ ผู้ปกครองครับ

ขอแสดงความนับถือ
อ.ป๊อป ศุภลักษณ์ 

หมายเลขบันทึก: 649061เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2018 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2018 09:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณพี่โอ๋และดร.ขวัญมากครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท