ชีวิตที่พอเพียง 3217. ฮีโร่แห่งความดีงาม



นสพ. The New York TimesInternational Edition ฉบับวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑  ในคอลัมน์ Opinion มีบทความชื่อWhatmoral heroes are made of (1)  เขียนโดย David Brooks น่าอ่านมาก   สรุปตอนท้ายว่า คนที่ตั้งหน้าทำเพื่อผู้อื่นนั้น  ทำด้วยความเชื่อหรือการเห็นคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของสิ่งนั้น และทำด้วยกระบวนทัศน์ว่า ตนเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการที่ยิ่งใหญ่นั้น   ตนไม่ใช่ตัวขบวนการนั้น   คือทำอย่างไร้ตัวตนนั่นเอง  

แต่ผมก็ไม่วายเถียง David Brooks ว่าเขาทำให้เรื่องบุคคลตัวอย่างแห่งความดีงามสูงส่งเกินไปหรือเปล่า     ผมคิดว่ามนุษย์ทุกคนสามารถบรรลุความเป็น “มนุษย์ระดับ ๖”  ตามแนวทางของ moral development of Lawrence Kohlberg ได้    โดยที่เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครู โรงเรียน และสังคม   ที่จะต้องสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในสังคมให้เอื้อต่อการที่เด็กและเยาวชนจะพัฒนาตนเองในด้านความดีงาม  

การศึกษา และการเลี้ยงดูเด็ก ต้องรดน้ำใส่ปุ๋ยเพื่อให้ความดีงามในตัวเด็กเจริญงอกงาม   และบั่นทอนไม่ให้หน่ออ่อนของความชั่วร้ายขยายตัว    และการเรียนรู้นี้ต้องดำเนินไปตลอดชีวิต   แม้แต่คนแก่อย่างผมก็ต้องหมั่นเตือนสติตนเองและเรียนรู้

นิตยสาร Nikkei Asian Review ฉบับวันที่๑๔ - ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑    ลงเรื่อง Facebook’suphill battle against fake news in Asia (2)   และข่าวการจับพระที่มีสมณศักดิ์สูงเรื่องฉ้อโกงเงิน(3) บอกเราว่า    เป็นธรรมดาโลกที่ในระบบนิเวศมีขั้วตรงกันข้ามอยู่ด้วยกัน    ชั่วกับดีอยู่ปนๆ กัน    ในสังคมยุคปัจจุบันที่สิ่งต่างๆ มัน VUCAคนเราต้องรู้จักแยกแยะ   และอยู่ในโลกแบบลิ้นเสืออยู่ในปากเสือโดยไม่โดนเขี้ยวเสืองับ

Facebook เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยการสื่อสารที่เรียกว่าการสื่อสารสังคม   ซึ่งก็เหมือนเทคโนโลยีหรือเครื่องมือทั่วไป ที่มีทั้งผลดีและผลเสีย    ขึ้นกับการนำไปใช้    คนที่ทำกิจการใหญ่โต มีผลกระทบต่อสังคมสูงต้องรับผิดชอบต่อสังคม    โดยการจัดการต้องไม่แค่ทำเพื่อกำไรเท่านั้นต้องทำเพื่อความถูกต้องดีงานของสังคมด้วย   โดยหาทางปิดกั้นการใช้งานเพื่อความชั่วร้าย  

พระ เป็นสมมติสงฆ์ อาจมีจำนวนหนึ่งที่ฝึกฝนจนลดละกิเลสลงไปได้มาก    และบางรูปอาจเป็นอริยะสงฆ์    แต่ส่วนใหญ่เป็นสมมติสงฆ์คือยังมีกิเลสอยู่    วงการสงฆ์บางส่วนอาจดำเนินกิจการแบบเพิ่มพูนกิเลสแก่พระ(และอุบาสกอุบาสิกา) ด้วยซ้ำ    การได้รับสมณศักดิ์ไม่สัมพันธ์กับการลดกิเลส    ดังกรณีหลวงพ่ออดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมกายและสมเด็จอดีตตัวเก็งพระสังฆราช     ในสายตาของผมเป็นเหยื่อของความชั่วร้าย  

มองลบเป็นบวก    ความชั่วร้ายสอนให้เราเข้าใจคุณค่าของความดีงาม    ความร้อนรุ่มอึดอัดขัดข้องสอนให้เรารู้จักคุณค่าของความสงบเย็น     

วิจารณ์ พานิช

๒๕ พ.ค. ๖๑   เพิ่มเติม ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑ในห้องรับรองการบินไทย สนามบินสุวรรณภูมิ  


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 648942เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2018 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2018 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์กล่าวว่า..โดยที่เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครู โรงเรียน และสังคม ที่จะต้องสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในสังคมให้เอื้อต่อการที่เด็กและเยาวชนจะพัฒนาตนเองในด้านความดีงาม …… ดังนี้แล้ว จะเป็นไปได้หรือ ที่..คนธรรมดาๆ..มิหนำซ้ำจะหย่อนไปข้างมีชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน..ทั้งมีสติปัญญาที่พาตัวไม่ค่อยจะรอดเป็นส่วนใหญ่..จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้แก่เด็กและเยาวชนได้..หากต้องการแก้ไขให้เด็กและเยาวชน..ทางที่ถูกต้องคือ การสร้างกระบวนการ ในการแก้ไขผู้ใหญ่ และสังคม..ให้เดินตรง เดินถูก..เสียก่อน..ครับ..ผู้ใหญ่ที่ปรารถนาดีต่อชาติจึงจำต้องเสียสละความสุขส่วนตัว หรือ ความสุขส่วนครอบครัว..อย่าปล่อยให้คนเลว คนชั่ว ลอยนวลให้เด็กเห็นเป็นตัวอย่าง....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท