ตามเก็บวันเวลา : งาน "ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)" ครั้งที่ ๑๓ : ใช้กระบวนการ KM สร้างความสำเร็จ


ภารกิจของคุณอำนวยในครั้งนี้ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบ OLE และกลไกการทำงานของ OLE จากการปฏิบัติจริงที่ครูเขียนเล่าเอาไว้ในเรื่องเล่า ให้เกิดขึ้นกับสมาชิกทั้ง ๑๐ คนในวงของตนอย่างกระจ่าง

ในการจัดกลุ่มของงานเขียนของครูคณะทำงานจะจัดตามประเด็นที่ระบุไว้ในเรื่องเล่า โดยจะจัดให้ครูที่มีประสบการณ์ความสำเร็จร่วมกัน ใช้วิธีการเดียวกัน ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกประมาณ ๑๐ คน และมีคุณอำนวยประจำกลุ่มกลุ่มละคน


ภารกิจของคุณอำนวย

ภารกิจของคุณอำนวยในครั้งนี้ คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจในระบบ OLE และกลไกการทำงานของ OLE จากการปฏิบัติจริงที่ครูเขียนเล่าเอาไว้ในเรื่องเล่า ให้เกิดขึ้นกับสมาชิกทั้ง ๑๐ คนในวงของตนอย่างกระจ่าง


สร้างความรู้จากการปฏิบัติ

คุณอำนวยต้องใช้เรื่องเล่าของครูในกลุ่มของตนมาถอดประเด็นต่างๆ ดังนี้

๑.  เป้าหมาย (O)  ที่ต้องการคืออะไร จุดมุ่งหมายคืออะไร

๒.   วิธีการในแผนนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่เราต้องการหรือไม่

๓.  วิธีการที่ครูใช้ในการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนขณะเรียนรู้/ไม่เรียนรู้

๔. นักเรียนมีวิธีการเรียนรู้ (Learning Style)อย่างไรบ้าง

๕. วิธีการที่ครูทำแล้วทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

๖. การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นผลจากการปรับวิธีการใหม่

จนครูเห็นเป็นวงจรของการยกระดับการเรียนรู้จากแผนการเรียนรู้รายครั้ง ไปสู่รายสัปดาห์ รายภาค และรายปี


คำถามที่สำคัญของคุณอำนวย

๑. เป้าหมายของของแผนคืออะไร

๒. ต้องการให้นักเรียนได้อะไร

๓. นักเรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

๔. เหตุที่ทำให้การเรียนรู้ไม่บรรลุเป้าหมาย สมรรถนะเด็กไม่ถึง โจทย์ไม่สนุก ความรู้ไม่พอ สื่อไม่พอ หรืออื่นๆ

๕. ในขณะที่ครูกำลังจัดกระบวนการเรียนรู้ ถ้าครูพบว่าสมรรถนะเด็กไม่ถึง โจทย์ไม่สนุก ความรู้ไม่พอ สื่อไม่พอ หรืออื่นๆ ครูจะปรับกระบวนการอย่างไร เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการ และเพื่อพาชั้นเรียนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้


การประเมินผล

หากการเรียนรู้ของวงบรรลุเป้าหมาย ครูจะได้เห็นว่าการเรียนรู้ในช่วงเวลา ๑ ชั่วโมงนี้ คือช่วงเวลาที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ที่ทุกคนมีบทบาทในการขับเคลื่อนความรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกัน


Key Success Factors

  • คุณอำนวยต้องอ่านเรื่องเล่าของครูทุกคนอย่างละเอียด และทำความรู้จักกับสมาชิกทั้ง ๑๐ คนจากเรื่องเล่าที่แต่ละคนเขียนขึ้นมาเป็นอย่างดี การจัดกลุ่มในครั้งนี้เป็นการจัดกลุ่มคละหน่วยวิชา คละระดับชั้น โดยแต่ละกลุ่มจะมีประเด็นร่วมที่แตกต่างกันไป ดังนี้  


ลุ่มกระซู่   การจัดการเรียนการสอนตามการตอบสนองของเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือ

กลุ่มกระซู่  การสอนตามระดับพัฒนาการ

กลุ่มกระซู่  ความชัดเจนในการสอนของครู

กลุ่มกระทิง  ความเข้าใจในผู้เรียน+การตอบสนองต่อการเรียนรู้

กลุ่มกระทิง  ความเข้าใจในผู้เรียน+การตอบสนองต่อการเรียนรู้

กลุ่มกระทิง  ผู้เรียนตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้

กลุ่มกาเซล   ครูตั้งเป้าหมายและการประเมินผู้เรียน

กลุ่มกาเซล   การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน+การทำ Formative Assessment

กลุ่มกาเซล   การพัฒนาแผนผ่าน LS /OLE


  • แผนการจัดการเรียนรู้ละเอียด และสื่อที่ดี คือ เครื่องมือสำคัญในการควบคุมกระบวนการให้บรรลุเป้าหมาย 




หมายเลขบันทึก: 648938เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2018 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2018 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท