ตามเก็บวันเวลา : งาน "ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)" ครั้งที่ ๑๓ : การออกแบบกระบวนการ


การเปลี่ยนแปลงทั้งหลายจะเกิดขึ้นอย่างทั่วถึงได้ก็ต่อเมื่อทุกคนในทีมมีทั้งความรู้ แรงบันดาลใจ และมีความตระหนักในความสำคัญของเรื่องนั้นจริงๆ

วันที่ ๒๘-๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑

Change.OLE ด้วยท่าทีปังปัง

 

คณะทำงานคุยกันว่าอยากให้งาน KM ครั้งนี้มีความพิเศษกว่าครั้งอื่นๆ เพราะเป็นครั้งที่ ๑๓  

เมื่อต้องการให้ความพิเศษเกิดขึ้น แน่นอนว่าเราทุกคนที่เป็นโค้ชย่อมต้องทำงานหนักขึ้น ลงแรงมากขึ้นเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ !

เมื่อจบภาคเรียนวิมังสา ปีการศึกษา ๒๕๖๐ ส่วนมาตรฐานการศึกษาและเทียบโอน ได้ทำแบบสอบถามเจตคติของคุณครูช่วงชั้น ๑-๒  ต่อการทำ OLE  และ LS  จำนวน ๘๐ คน

จากการประมวลผลแบบสอบถามพบว่าคุณครูเห็นความสำคัญ อยากทำงานในระบบ Lesson Study และมีความมั่นใจสูง เนื่องจากมีความคุ้นชินแล้ว   แต่ยังขาดความมั่นใจในระบบ OLE เพราะยังเข้าใจกลไกการทำงานของ OLE ได้ไม่ดีพอ และเป็นเรื่องที่เพิ่งเริ่มนำลงสู่ครูอย่างสมบูรณ์เต็มทั้งระบบหลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินผลเมื่อต้นปีการศึกษานี้เอง

 

ด้วยเหตุนี้เป้าหมายสำคัญของการจัดงาน “ชื่นใจ...ได้เรียนรู้ (ภาคครูเพลิน)” ครั้งที่ ๑๓ จึงมุ่งไปที่การทำให้ ทุกคนเกิดความเข้าใจในระบบ OLE และเข้าใจกลไกการทำงานของ OLE  ด้วยการสะท้อนให้เห็นกลไก การทำงานของระบบหลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินผล ที่เหลื่อมซ้อนและเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ ตั้งแต่วงจรการทำงานในระดับรายครั้ง รายตอน รายภาค มาจนกระทั่งถึงรายปี เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายจะเกิดขึ้นอย่างทั่วถึงได้ก็ต่อเมื่อทุกคนในทีมมีทั้งความรู้ แรงบันดาลใจ และมีความตระหนักในความสำคัญของเรื่องนั้นจริงๆ

 

“Change.OLE ด้วยท่าทีปังปัง” เป็นชื่องานที่ได้มาจากการระดมสมองของกลุ่มแกนนำ ที่ต้องการจะสื่อว่าพวกเรากำลังร่วมกันเปลี่ยนแปลง (ยกระดับคุณภาพ) ของระบบหลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินผล ด้วยท่าทีปังปัง (เป๊ะ + อลังการ / ถูกใจ)

 

เพื่อให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ก่อให้เกิดการพัฒนาครูได้ “เป๊ะ” มากขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ กลุ่มแกนนำทุกคนจึงต้องให้เวลากับงานเขียนเรื่องเล่าที่คุณครูแต่ละคนเขียนสะท้อนผลการทำงานของตนเองในชั้นเรียน โดยยกการเรียนรู้ในแผนใดแผนหนึ่งขึ้นมาเปรียบเทียบกันว่า

O (เป้าหมาย) L (กระบวนการ) E (การประเมินผล) แบบเก่าที่เคยใช้เมื่อปีการศึกษา ๒๕๕๙ กับแบบใหม่ที่ใช้ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ มีความแตกต่างกันอย่างไร โดยให้ครูทุกคนเขียนสรุปเป็นความรู้ปฏิบัติออกมาว่า

  • วิธีการใหม่ที่ครูนำมาใช้ดีกว่าวิธีการเดิมเพราะอะไร
  • วิธีการใหม่ช่วยให้ครูสังเกตเห็นอะไรจากเด็กได้บ้าง เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
  • ครูทำอะไรเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้นบ้าง


หมายเลขบันทึก: 648936เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2018 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2018 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท