สรุปผล"เวทนานุปัสสา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา"


          การเจริยเวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และ ธัมมนุปัสสนาสติปัฎฐานนั้น ช่วยยให้ผู้ปฏิบัติภาวนารู้เหตุ และกระบวนการเกิดและดับ ของเวทนา ของจิ และของสัญโญชน์ โดยนัยนี้ จึงช่วยให้ผุ้ปฏิืบัติภาวนาสามารถรู้ลู่ทางในการดับเวทนาด้วยสมถกัมมัฎฐาน และรู้วิะีคลายความยึดม่นถือมันใน ใังขาร/สังขตธรรมทั้งหลาย มีรเบญจขันธ์เป็นต้น ด้วยสมถ วิปัสสนากัมมัฎฐาน อันเป็นทางกำจัดตัณหาและทิฎฐิให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษต่อไปนั่นเอง

        ในกรณีการดับเวทนาด้วยสมถกัมมัฎฐาน นั้น ก็คือว่า เมื่อจิตใจได้รับการฝึกให้หยุดให้นิ่ง และประกอบด้วยปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมโดยเฉาพะอย่างยิ่ง รู้เท่าทันในสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจยปรุงแต่งตามที่เป็นจริง คือเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และมีสติสัมปชัญญะคือความรู้ตัวพร้อมและรู้สึกผิดชอบขั่วดีแล้ว แม้จะมีส่ิงที่จะก่อให้เกิดเวทนาจากภายนอก เป้นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทงกาย และธรรมารมณ์ มากระทบกับอายตนะภายในหรือทวารต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็ทำใจให้หยุดนิ่งเสีย โดยรวมใจหยุดในยหุด กลางของกลาง หยุดในหยุดเรื่อยไป ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตาก็ปฏิบัติได้

       การปฏิบัติดังกล่าวก็จะเป็นผลให้ธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ซึ่งซ้อนกันอยู่เป็นขชั้นๆ และมีดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวงนั้น รวมหยุดนิงเป้นจุดเดียวกัน มากน้อยตามส่วนที่สามารถกระทำได้เท่าที่โอกาสและสภาพแวดล้อมจะอำนวยให้ และนั่นก็หมายความว่า "ใจ" ไม่ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมร์ ไม่ทำหน้าที่่รับรุ้อารมณ์ และไม่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์จากภายนอกที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น หรือกายเนื้อนั้นเอง เพราะฉะนั้น เวทนาที่เกิดกับกาย ก็สักแต่ว่าเกิดกับกาย เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป แต่หาได้กระทบกระทบกระเทือนถึง "ใจ" ด้วยไม่ หรือกระทบถึงบ้างก็เป็นแต่เพียงส่วนน้อย พอที่จะมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันในกระบวนการของจิตที่จะปรุงแต่งอารมร์ให้เกิดเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น รู้ข้อดี ข้อเสีย และทางออกจากเวทนาเหล่านั้นได้โดยไม่ยาก

         อาการที่จิตไม่สังขารคือไม่ปรุงแต่งอารมณ์ ไม่รับรู้ และไม่เสวยอารมณ์ ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขนัเอง ที่เป็นผลให้เวทนาถูกข่มให้ระงับโดยสมถภาวนาเป็นเบื้องต้น และโดยนัยนี้ ทุกข์ย่อมดับลงได้ตามสวนที่ "ใจ" หยุดิน่งเป็นอามรณ์เดียว ณ ศูนย์กลางกาย เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ (หลุดพ้นจากทุกข์โดยการข่มกิเลส)

       ส่วนว่า อนุสัย อันเนื่องแต่เวทนา นั้น ย่อมสามารถกำจัดให้หมดสิ้นไปเป็สมุจเฉทปหาน ได้ด้วยวิปัสสนาปัญญาและโลกุตตรปัญญา จากการเจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน

       ผลจากการเจริญภาวนาดังกล่าว จึงช่วยให้ผุ้ปฏิบัติธรรมสามารถแยกดวทนาที่เกิดกับกายให้ออกจากใจได้อย่างสัมฤทธฺ์ผล คือให้เป็นหลักแต่ว่า เป็นเวทนาที่เกิดกับกาย แล้วก็ดับไป แต่มิได้กระทกระเทือนถึงใจ หรือให้กระทบกระเทือนถึงใจแต่เพียงเล็กน้อย จิตใจจึงเป็นอิสระไม่เลื่อนลอยตามอารมณ์ที่มากระทบ หรือย่างน้อยก็ไม่ถึงกับต้องสยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก หรือเดียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารัก อันเป็นทางให้กิเลส ตัณหา ทิฎิฐิ เข้ามามีอำนาจเหนือจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันได้ อันเป็นผลให้กาย วาจา และใจ บริสุทธิ์ ได้บรรลุมรรคผล นิพพาน ต่อไปตามลำดับภูมิะรรมที่ปฏิบัติได้

        เมื่อทิฎฐิคือความเห็นผิด กิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นหตุแห่งทุกข์ ถุกกำจัดให้หมดสิ้นไปด้วยสมถกัมมัฎฐาน อัเป็นะรรมเครื่องสงบะงับกิเลสนิวรณ์ และด้วยวิปัสสนากัมมัฎฐาน ธรรมเครื่องเจริญปัญญา ทั้งวิปัสสนาปัญญาและโลกุตรปัญญา ดังนี้ ทุกข์ฺก็ย่อมดับลงตามด้วยโดยอัตโนมัติ 

         ดังที่พระพุทธิงค์ได้ทางประทานพระบรมพุทโธวาทไว้ว่า

         "ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผุ้มิได้เรียนรู้ ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนา (คือความเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข) บ้างอริยสาวกผุ้ได้เรียนรู้แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนั้น อะไรเ็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป้นข้อแตกต่าง ระหว่างอริยสาวกผุ้ได้เรียนรู้ กับปุถุชนผุ้มิได้เรียนรู้

         ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผุ้มิได้เรียนรูป ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมโศกเศร้า คร่ำครวญ ร่ำไห้ รำพัน ตีอกร้องได หลงไหลฟั่นเฟือนไป เขาย่อมเสวยเวทนาทั้งสองอย่าง คือ เวทนาทางกายและ เวทนาทางใจ...

        อนึ่ง เพราะถูกทุกขเวทนานั้นกระทบ เขาย่อมเกิดความขัดใจเมือเขามีความขัดใจเพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย เรพาะทุกขเวทนาก็ย่อมนอนเนื่อง เขาถุกทุกขเวทนา กระทบเข้าแล้ว ก็หันเข้าระเริงกับกามสุข (คือความสุขในการสนองความต้องการทางตา หู จมูก ลิ้นและกาย เช่น หันเข้าหาการดื่อมสุรา และสิ่งบันเทิงเรงรมย์ต่างๆ เป็นต้น) เพราะอะไร เพราะปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมไม่รู้ทางออกจากทุกขเวทนา ออกไปจากกามสุข และเมื่อเขาระเริงอยุ่กับกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นก็ย่อมนอนเนื่อง.. เขาย่อมไม่รู้เท่าทันในความเกิดขึ้น และควาเสื่อมสลายไป ข้อดี ข้อเสีย ของเเวทนาเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง และไม่รู้เท่าทันในทางอออกจากเวทนาเหล่านั้นตามที่ควรจะเป้น เมื่อเขาไมารู้เท่าทันในความเกิดขึ้น และความเสื่อมสลายไป ข้อดี ข้อเสียของเวทนาเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง และไม่รู้เท่าทันในทางออกจาเวทนาเหล่านั้นตามที่ควรจะเป็น อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนาก็ย่อมนอนเนือง

      ถ้าได้เสวยสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว (คือประกอบด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน) ถ้าเสวยทุกขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถูกมัดตัว ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา เขาก็เสวยอย่างถุกมัดตัวภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่าปุถุชนผุมิได้เรียนรุ้ ผุ้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ประเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราเรียกว่า ผุ้ปรกอบด้วยทุกข์

       ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผุ้ไดเรียนรู้ ถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่คร่ำครวบญ ไม่พิไรรำพันไม่ตีอกร้อยได้ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน เธอย่อมเสวยเวทนาทงกายอยางเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ...

       อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดใจ เรพาะทุกขเวทนานั้น เมื่อไม่มีความขัดใจ เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย เพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนเนื่อง เธอถูกทุกขเวทนากระทบ ก็ไม่หันเข้าระเริงกับกามสุข เรพาะอะไร.. เพราะอริยสาวกผุ้เรียนรู้แล้ว ย่อมรุ้ทางออกจากทุกขเวทนาออกจากกามสุขไปอีก

          เมื่อเธอไม่ระเริงกับกามสุข ราคานุสัย เพราะสุขเวทนาก็ไม่นอนเนื่อง เธอยอมรุ้เท่าทันในความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไป ข้อดี ข้อเสีย ของเวทนาเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง และรู้เท่าทันในทางออกจากเวทนาเหล่านั้นตามที่ควรจะเป็น

         เมื่อเธอย่อมรู้เท่าทันในความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไป ข้อดี ข้อเสีย ของเวทนาเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง และรู้เท่าทันในทางออกจากเวทนาเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง และรู้เท่าทันในทางออกจากเวทนาเหล่านั้นตามที่ควรจะเป็น อวิชชานุสัย เพราะอทุกขมสุขเวทนาก็ไม่นอนเนือง ถ้าเวทนาสุขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว (คือไม่ประกอบด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน) ถ้าเสวยทุกขเวทนา เธอก็เสวยอย่างไม่ถุกมัดตัว ถ้าเสวยอุกขมสุขเวทนาเธอก็เสวยอย่างไม่ถูกมัดตัว

        ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ผุ้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ฺ โทมนัน และอุปสายาส เราเรียกว่า ผุ้ปราศจากทุกข์

        ภิกษุทั้งหลายนี้แหละเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกเป็นข้อแตกต่าง ระกว่างอริยสาวกผุ้ได้เรียนรู้ กับปุถุชนผุ้มิได้เรียนรู้"..

         "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

         

หมายเลขบันทึก: 648787เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2018 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2018 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท