วิกขัมภนปหาน (การละนิวรณ์ด้วยการข่ม)


              หลักปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐานข้อแรก ได้แก่ การมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็น และระชึกได้ในธรรม อันเป็นเครื่องกีดกั้นความดี คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งได้แก่

             - กามฉันนิวรณ์ ความยินดี พอใจ ติดอยู่ในกามคุณทั้ง ๕ (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส)

            - พยาบาทนิวรณ์ คือความขัดเคื่องใจ โกรธ ความผุกโกรธ ผูกใจเจ็บแค้น หรือาฆาดพยาบาทจองเวร อันสืบเนื่องแต่กระทบเข้ากับอารมณ์ที่ไม่อพใจและโกรธ..

            - ถีนมิทธนิวร์ คือ ควาหดหู้้อถอยจาากอารมณ์ที่เพ่งเพียร ความง่วงเหงาซึมเซา อันเป็นเหตุให้จิตใจไม่ปลอดโปร่ง กระปรี้ประเปร่า

            - อุทธัจจกุกกุจจนิวร ความฟุ่งซ่าน ความตื่นเต้ฯ หรือวามคิดวิตกกังวลไปในเรื่องราวต่างๆ ทั้ง ในอดีต ปัจจุบันและในอนาคต หรือการแสวงหาเรื่องคนอื่นมาซุบซิบนินทาอันเป็นเหตุให้จิตใจไม่สงบ

            - วิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเล ไม่แน่ใจ ความเคลื่อบเคลงสงสัยในธรรมปฏิบัติว่าจะเป็นทางถูกต้อง อันให้ผลเป็นคุณแน่จริหรือ หรือจะเป็นางผิดให้ผลเป็นโทษ

            นิวรณธรรมทั้ง ๕ เป็นปฏิปักษ์ธรรม คือ เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกแห่งคุณความดี เป็นธรรมที่ทำให้จิตใจไม่สามารถจะเป็นอรรถเห็นธรรมได้ชัดเจนตามที่เป็นจริง แม้จะเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ฉะนั้นจึงควรจำกัดเสีย

            เมื่อจิตสงบระงับจากนิวรณธรรมแล้ว ย่อมควรแก่งานวิปัสสนาเพื่อเจริญปัญญารู้แจ้ง..

           "..ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้า พิจารณาเห้นธรรมในธรรมททั้งภายในภายนอกบ้อง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห้ฯธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่

           อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยุ่ว่า "ธรรมมีอยู่" ก็เพียงแต่สักว่ารู้สักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผุ้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

           ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ นิวรณ์ ๕ อยู่"

           ผู้ปฏิบัติธรรมจึงพึงมีสติพิจารณาระลึกได้อยู่เสมอว่าจิตของตนมีนิวรณธรรมข้อใดเกิดขึ้นหรือไม่ หากมี ก็พึงกำจัดเสียด้วยองค์แห่งฌาน อันเป็นเครื่องทำลายนิวรณืธรรมเหล่านั้นให้หมดไปจากจิตใจ กล่าวคือ

           วิตก ปการถีนมิทธนิวร์, วิจาร ปหารวิจิกิจฉานิวรณ์, ปีติ ปหารพยาบาทนิวรณ์, สุข ปหานอุทธัจจกุกกุจจนิวร์, และเอกัคคตา ปหานกามฉันทนิวรณ์

           การข่ม หรือปหาน คือละนิวรณ์ ด้วยอำนาจของฌานนั้นเรียกวา วิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่ม) ตราบใดที่ฌานจิตยังไม่เสื่อม ตราบนั้นนิวรณธรรมย่อมถูกข่มมิให้ปรากฎขึนได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้านิวรณ์ธรรมกำเริบขึ้นเมื่อใดฌานก็เสื่อมไปเมื่อนั้นอีกเช่นกัน

          เมื่อผู้ปฏิบัตธรรมขช่มนิวรณ์ด้วยองค์แห่งฌานอันเป็นเครื่องทำลายแล้วฌานจิตก็ย่อมเกิดขึ้น ผุ้ปฏิบัติภาวนาธรรมก็พึงอาศัยสมาธิจิตหรือฌานจิตนั้นพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลาย ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งให้เห็นตามความเป็นจริง 

        นี่เป็นทางบริสุทธิ์แห่งจิตและปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมทืั้งหลาย โดยเฉพาะอยางยิ่งปัญญาอันรู้แจ้งตามความเป็นจริงในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อย่างถาวร ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน ตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

       "นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส     ปญฺญา นตฺถิ ฌายโต      ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ      ส เว นิพฺพานสนฺติเก"

       " ฌานย่อมไม่มีแก่ผุ้มีมีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผุ้ไม่เพ่งอยู่ ชนใดมีทั้งฌานและปัญญาด้วย ชนนั้นแล ชื่อว่า ดำรงอยู่ใกล้พระนิพพาน"

       ... การเจริญภาวนาถึงธรรมกาย ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสฺโร) สอนในขั้สมถกัมมัฎฐานนั้น เป็นพระกัมมัฎฐานที่ประกอบพร้อมด้วยอารมณ์สมถะ คือ อาโลกกสิณ พุทธานุสสติ และอานาปานสติที่มีอานุภาพสูงมาก (วิธีเจริญสมาธิ-รูปฌาน ๔) จึงเป็นกัมมัฎฐานที่ช่วยให้มีสติพิจารณาเห็นธรรมนธรรมคือนิวรณ์ ๕ พร้อมด้วยวิธีปฏิบัติเพื่อยกภูมิจิตขึ้นสู่องค์คือองค์แห่งฌาน อันเป็นธรรมเครื่องปหารกิเลสนิวรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้จิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใส อ่อนโยน ควรแก่งาน สมความมุ่งหมายของการบำเพ็ยสติปัฎฐานทุกประการ...

         "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย"

คำสำคัญ (Tags): #นิวรณ์ ๕
หมายเลขบันทึก: 648488เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2018 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2018 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท