อัคคีภัย


การควบเพลิงไหม้

อัคคีภัย

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

อัคคี ไม่เกิดแน่ถ้ารู้แก้และป้องกัน ไฟเป็นอัคคีร้าย เป็นมหันตภัยที่เผาผลาญทำลายล้างทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างรวดเร็ว สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้นั้น เกิดขึ้นจากหลายกรณี จากไฟฟ้าลัดวงจร การจุดธูปเทียนบูชาพระ การเผาขยะ และหญ้าแห้ง การใช้ก๊าชหุงต้ม และการทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน และประกายไฟ โดยขาดความระมัดระวัง ล้วนเป็นสาเหตุ ของการเกิดอัคคีภัย แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุด คือ ความประมาท ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งการขาดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน และระงับอัคคีภัยเบื้องต้น เมื่อเกิดเพลิงไหม้เล็กน้อย ก็ไม่รู้วิธีการระงับควบคุม จึงเกิดการลุกลาม สร้างความสูญเสียมากมาย จึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนทุกคนต้องทำความเข้าใจในการป้องกัน และระงับอัคคีภัย

ไม่อยากให้เกิดอัคคีภัย ควรทำอย่างไร

  • จัดระเบียบภายใน ภายนอกอาคารบ้านเรือน และสถานที่ทำงาน เช่นขจัดสิ่งรกรุงรังให้หมดไป เก็บของที่เป็นวัตถุไวไฟ ให้เป็นสัดส่วน พ้นจากบริเวณที่อาจเกิดความร้อนหรือประกายไฟและเขียนเครื่องหมายกำกับอย่างชัดเจน
  • ตรวจตราซ่อมแซม อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ที่อาจเป็นบ่อเกิด อัคคีภัย เช่นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อน ถ้าชำรุดก็ต้องซ่อม แก้ไขให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
  • เตรียมอุปกรณ์ สำหรับดับเพลิงไว้ให้พร้อม รับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ทราย น้ำ และเครื่องดับเพลิงประเภทต่างๆ รวมทั้งศึกษาวิธีใช้ให้เข้าใจ
  • ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามข้อแนะนำหรือแนวทางที่สถานบันด้านการป้องกันและระงับ อัคคีภัยกำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัย

เมื่อเกิดอัคคีภัย ควรทำอย่างไร

  1. เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ต้องพยายามควบคุมสติให้ดี
  2. พยายามดับเพลิง เบื้องต้นด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ ในอาคารนั้นๆก่อน
  3. ปิดประตูหน้าต่างทุกบาน พร้อมทั้งอุดช่องหรือท่อต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าชหรือควัน
  4. ให้เด็กและคนชราไปอยู่ในที่ปลอดภัย
  5. ขนย้ายทรัพย์สินที่มีค่าเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
  6. ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานดับเพลิง

ประเภทของเพลิงไหม้ และการเลือกใช้เครื่องหมายดับเพลิง เพลิงไหม้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะเชื้อเพลง ซึ่งมีวิธีดับและใช้เครื่องดับเพลิงที่แตกต่างกัน คือ

  1. เพลิงไหม้ประเภท ก.
  2. เพลิงไหม้ประเภท ข.
  3. เพลิงไหม้ประเภท ค.
  4. เพลิงไหม้ประเภท ง.
  5. เพลิงไหม้ประเภท K.

การเลือกใช้

  1. เลือกใช้เฉพาะเครื่องดับเพลิงที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม
  2. ควรศึกษาข้อมูล
  • แบบหรือประเภทเครื่องหมายดับเพลิง
  • ขนาดหรือน้ำหนักของสารที่บรรจุ
  • ระดับความสามารถ ในการดับเพลิง เช่น 3A : 10B:C
  • ตรวจดูมาตรวัดความดัน เข็มจะต้องชี้ที่ความดันไม่ต่ำกว่า ระบุที่ฉลาก
  • ปีที่ผลิตเครื่องหมายดับเพลิง ซึ่งจะตอกลงบนตัวเครื่องดับเพลิง ชนิดของสารที่บรรจุ

3.การเลือกเครื่องดับเพลิง ให้เหมาะสมกับสถานที่

  • สำหรับที่อยู่อาศัย ควรใช้เครื่องดับเพลิงที่มีขนาดตั้งแต่ 4.5 กิโลกรัม หรือ 10 ปอนด์ และระดับความสามารถ ตั้งแต่ 2A : 28: C ขึ้นไป
  • สำหรับสถานที่ประกอบการ หรือโรงงานอุตสาหกรรมให้ติดตั้ง เครื่องดับเพลิงที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัม อย่างน้อย 1 เครื่อง ต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติโรงงานและระดับความสามารถในการดับเพลิง ควรใช้ 4A : 20B : C 
คำสำคัญ (Tags): #อัคคีภัย#ไฟไหม้
หมายเลขบันทึก: 648396เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท