เถียงกันยังไงก็ไม่จบ...


ในโลกแบบ Postmodern เป็นการยกระดับความเชื่อเดิมสู่ “กระบวนทัศน์ใหม่”

ขณะที่โลกใบนี้ก้าวเข้าสู่ยุค Postmodern มานานแล้ว แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังคงติดกับดักความคิดของโลกเดิมที่เชื่อว่าความจริงมีหนึ่งเดียว ทุกอย่างต้องเป็นสากล.


ในโลกแบบ Postmodern เป็นการยกระดับความเชื่อเดิมสู่ “กระบวนทัศน์ใหม่” คือ ทุกปัจเจกชน และทุกกลุ่มสังคม มีความคิดความเชื่อ มีวัฒนธรรม มีค่านิยมของตนเอง โดยไม่สามารถตัดสินว่าสิ่งใดถูกต้องมากกว่า สวยงามมากกว่า สิ่งใดดีกว่า หรือสมบูรณ์มากกว่ากัน.. 


ตัวอย่างเช่น การถกเถียงเรื่อง โลกเสรีนิยม กับโลกสังคมนิยม, การแพทย์แผนปัจจุบัน กับการแพทย์ทางเลือก, มีโทษประหาร หรือควรยกเลิก, ควบคุมทรงผมนักเรียน หรือปล่อยเสรี, ต้องเกณฑ์ทหาร หรือใช้ระบบสมัครใจ เป็นต้น.. 


ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นโลกแห่งขั้วตรงข้าม (World of Paradox) ที่ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตนเอง และถ้าเราไม่เข้าใจวิถีแห่งโลก Postmodern ก็มักนำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคม มีการเหยียดหยาม ไล่ล่า ตีตรา มองกันโดยขาดหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ฯลฯ .. 


การโต้แย้งเรื่องราวที่เป็นขั้วตรงข้ามเพื่อเอาชนะกัน ทั้งที่ไม่มีใครสามารถตัดสินความถูกผิดได้อย่างสมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่า สังคมขาดความเข้าใจการใช้ชีวิตในวิถีโลกแบบ Postmodern..


สิ่งที่เราควรทำไม่ใช่การใช้เหตุผลเพื่อเอาชนะ หรือเพื่อเปลี่ยนความคิดของใคร แต่เราควรทำความเข้าใจชุดความคิดและเหตุผลที่แตกต่างกัน เคารพกันและกัน เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันบนความแตกต่างด้วยความเข้าใจ 


 _______________ 

พีธากร ศรีบุตรวงษ์วิทยากรกระบวนทัศน์ 

งานพัฒนาคู่มือวิสาหกิจชุมชนแบบฉบับผู้สูงอายุ

หมายเลขบันทึก: 648395เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2018 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท