หลอดดูด


หลอดดูด

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

คุณยังใช้หลอดดูด เป็นหลอดพลาสติกอยู่หรือเปล่า หลอดพลาสติกทำให้เกิดปัญหา ปัญหานั้นคือขยะพลาสติก ส่งผลให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมใหญ่โต เพราะว่าเจ้าหลอดพลาสติก หรือพูดให้ถูกกว่านั้นคือ มันไม่ได้ย่อยสลาย เพียงแต่แตกตัวเปลี่ยนรูปไปตามกาลเวลาต่างหาก ที่เราใช้ประโยชน์เพียงไม่กี่นาที แต่ต้องใช้เวลาย่อยสลายสลายนานเป็นสิบๆปี

หลอดดูด เป็นอุปกรณ์ในการดูดของเหลว มักใช้กับเครื่องดื่ม โดยทั่วไปหลอดดูดเป็นท่อผอมและยาว ทำมาจากพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งหลอดดูดตรงและหลอดดูดที่สามารถ งอที่ตรงปลายได้ เพื่อให้ดูดเครื่องดื่มได้ง่ายขึ้น เมื่อดูดเครื่องดื่มเราจะนำปลายข้างหนึ่งใสลงไปในเครื่องดื่ม อีกข้างหนึ่งใส่ปาก โดยจะใช้มือจับไว้ด้วย เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณปากทำการออกแรงดูด ทำให้ความดันอากาศภายในปากลดลง ความดันอากาศเครื่องดื่ม ซึ่งมีมากกว่าจะดันเครื่องดื่มให้ไหลเข้าไปในหลอดดูดเข้าสู่ปาก

สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การผลิตหลอดพลาสติก ส่งเสริมการใช้ปิโตรเลียม และหลอดที่ใช้แล้ว กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของมลภาวะพลาสติกทั่วโลก เมื่อถูกทอดทิ้ง ส่วนใหญ่หลังจากใช้งานครั้งเดียว ปริมาณการใช้หลอดพลาสติก โดยเฉลี่ย 1.6 หลอดต่อคนต่อวัน

หลอดทางเลือก ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับหลอดพลาสติก ได้แก่

  1. หลอดกระดาษ หลอดชนิดนี้ใช้ไดครั้งเดียว จึงไม่เท่าหลดประเภทที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แม้ยังสร้างขยะอยู่ แต่สร้างผลกระทบน้อยกว่าหลอดพลาสติกแน่นอน
  2. หลอดแก้ว ทำมาจากแก้วแข็งที่เรียกว่าโบโรซิลิเคต มีความคงทนและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  3. หลอดดูดอลูมิเนียม ที่พบเห็นได้บ่อย ทำจากสเตนเลส คุณภาพดี มีความแข็งแรงและทนทานมาก
  4. หลอดไม้ไผ่ ไม้ไผ่เป็นพืชที่โตเร็ว สามารถปลูกทดแทนได้ง่าย และเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ ล้างและตากให้แห้งหลังการใช้งาน หากดูแลรักษาดีๆสามารถใช้งานได้หลายปี
  5. หลอดก้านไคร้ เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เป็นทางเลือกใหม่ที่อยู่ระหว่างพัฒนา หลอดทำมาจากต้นไคร้ ที่ปลูกแทนอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี หลอดชนิดนี้ย่อยสลายได้ 100 %
  6. หลอดส้นพาสต้า ลองมองหาเส้นพาสต้าที่มีรู เช่น bucutini หรือ berciateli นำมาทำเป็นอาหาร หลอดชนิดนี้ไม่สร้างขยะ เพราะสามารถนำไปประกอบอาหารต่อได้
หมายเลขบันทึก: 648346เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท