การบริหารงานบุคคลเพื่อบรรลุผลการวิจัยแบบมุ่งเป้า


วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๑ ผมไปร่วมประชุม Si-CORE-M    ซึ่งเป็นการประชุมทีมบริหารงานของโมเดลสนับสนุนการวิจัยแบบใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล   ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิด CORE (Center of Research Excellence)  ที่เป็นการวิจัยที่มีเป้าหมายชัดเจน    ทำงานวิจัยแบบจริงจัง ส่งมอบผลงานได้ ตามที่ตั้งเป้าไว้    ที่ผมเคยเล่าไว้ ที่นี่  

เราพบว่า Si-CORE เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมทางวิชาการและด้านการจัดการที่วิวัฒนาการมาเพื่อเป้าหมายอื่น    ที่ไม่ตรงกันกับเป้าหมายของ CORE เสียทีเดียว   

เมื่อสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขการทำงาน เงื่อนไขความก้าวหน้า กำหนดไว้เพื่อเป้าหมายอื่น    แต่ถูกกำหนดให้นำมาใช้กับคนในหน่วยใหม่ ที่เป้าหมายผลงานแตกต่างออกไป    คนตามสเป็กที่ Si-CORE ต้องการดึงมาเป็นนักวิจัย    ซึ่งเป็นคนมีความสามารถสูง มีโอกาสเลือกงาน ย่อมรู้ทันที่จะไม่เลือกมาทำงานใน Si-CORE    

เรื่องตรงไปตรงมาเช่นนี้ ไม่ทราบว่า “เส้นผม” อะไรมาบังไว้

ผมตีความว่า  “เส้นผม” ในที่นี้คือ กระบวนทัศน์ราชการ ที่ยึดถือ “เบอร์เดียวสวมทุกตีน” (one-size fits all)

ทำให้ผมได้ตระหนักว่า “กระบวนทัศน์ครอบงำ” มันมีพลังจริงๆ    มันทำให้คนฉลาดทำสิ่งโง่ๆ ได้   

สรุปว่า หากจะตั้งหน่วยงานวิจัยแบบมุ่งเป้า ต้องสร้างระบบบริหารงานบุคคลที่ดึงดูดนักวิจัยชั้นยอดมาทำงาน เป็นนักวิจัยประจำ Si-CORE   โดยไม่ต้องมีตำแหน่งเป็นอาจารย์    แต่ได้รับผลประโยชน์ สิทธิ และความรับผิดชอบต่อผลงานสูง ไม่ด้อยกว่าอาจารย์    



วิจารณ์ พานิช        

๒๖ เม.ย. ๖๑  เพิ่มเติม ๑๔ พ.ค. ๖๑

 

หมายเลขบันทึก: 648343เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2018 07:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน อาจารย์

   ผมขอความรู้เรื่อง GUR: Good University Report ด้วยครับในมุมมองของอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท