ชีวิตที่พอเพียง 3186. ไปโตเกียว ๒๕๖๑ ๗. มุมมองต่อภาคธุรกิจ



ในการประชุมเตรียมการณ์PMAC2019 วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๑   Douglas Webb จาก UNDPอธิบายว่า   เรื่อง NCDrisk factors เป็นคล้ายๆ การต่อสู้ระหว่าง ภาคธุรกิจ  กับภาคป้องกันและแก้ปัญหา NCD

ภาคธุรกิจต้องการขายสินค้ามากๆ เพื่อทำกำไรมากๆ   โดยไม่คำนึงว่าการบริโภคสินค้านั้นจะก่อปัญหา NCD หรือไม่    และชัดเจนว่า สินค้าบางตัวก่อปัญหามาก    แต่บริษัทเจ้าของธุรกิจไม่สนใจปัญหา NCD  สนใจแต่กำไร   คนยิ่งบริโภคมาก ยิ่งได้กำไรมาก

ภาคีป้องกันและแก้ปัญหาNCD ต้องการขัดขวางการขายและใช้สินค้านั้น  เพื่อลดปัญหา NCD    จึงเป็นคู่ปรับของบริษัทสินค้านั้นโดยธรรมชาติ    

เพราะโลกอยู่ใต้สภาพนี้แหละเราจึงต้องการระบบ Governance   เพื่อปกป้องและประสานผลประโยชน์ของทุกฝ่าย

ผมคิดว่าการมองภาคธุรกิจแบบเหมารวมน่าจะไม่ตรงความจริง     เพราะบริษัทธุรกิจเขาก็แข่งขันกันเอง    และมีสินค้าหลากหลาย    หากเราวิจัยพบว่าสินค้าที่แตกต่างหรือเป็นนวัตกรรม   มีอันตรายน้อยกว่าและสื่อสารออกสู่สาธารณชน ก็น่าจะเป็นแนวร่วมกับภาคธุรกิจบางส่วน  ในการลดปัญหา NCDได้  ธุรกิจที่ทำแบบนี้ได้แน่นอนคือธุรกิจอาหาร และธุรกิจที่ก่อผลเสียต่อสภาพแวดล้อม  

วิธีคิดแบบ win – win นี้น่าจะคิดได้อีกมาก  คนที่เข้าคลุกวงในหากไม่เมาหมัด ก็จะคิดยุทธวิธีใหม่ๆ ในแนวทางดังกล่าวได้     

วิจารณ์ พานิช

๑๙ เม.ย. ๖๑

ห้อง ๕๖๗ โรงแรม แกรนด์ฮิลล์, โตเกียว 


 

หมายเลขบันทึก: 647817เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2018 02:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2018 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท