เกรด D แล้วไง


การออกแบบการเรียนการสอน ควรตั้งอยู่บนพื้นฐาน ระดับความสามารถ ทักษะการเรียนของเด็กๆ และเราต้องเข้าใจให้ได้ว่า เด็กไม่ได้เก่งทุกคน

          “เด็กทุกคนไม่มีทางเหมือนกัน ถ้าวัดตามอเมริกา เด็กมีทุกระดับ A B C D มีเด็ก A และเราก็ต้องผลักดันเขาไปให้ถึงระดับ A ส่วนเด็ก D เราก็ต้องเข้าใจด้วยว่า เขาไม่สามารถทำได้มากกว่านี้แล้ว ตรงนี้ต่างหาก ที่เราจำเป็นต้องหาวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างให้เขา และยอมรับมันให้ได้ ทั้งครู พ่อแม่ และเด็ก มันคือวิธีที่ดีที่สุดแล้ว”

          การตั้งเป้าหมายเดียวกันให้เด็กๆ ทุกคน คือความผิดพลาดอันเลวร้าย การทำทุกวิถีทางเพื่อให้เด็กๆ ได้เกรด A คือเรื่องไร้สาระ

          “มันไม่มีทางเป็นไปได้ แต่เราก็เรียกร้องให้เด็กๆ ฉลาดในมาตรฐานนั้น”


          ตีน่าย้ำว่า ถึงจะเรียนไม่ได้เกรด A แต่เด็ก C หรือ D ก็มีพรสวรรค์อย่างอื่น เช่น ทักษะสังคม หรือทักษะทางอารมณ์

          “หนูอาจเรียนเลขไม่เก่ง แต่หนูเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของทุกคน หนูเป็นเด็กตรงต่อเวลา มีน้ำใจ สิ่งเหล่านี้คือพรสวรรค์เท่าๆ กับความสามารถทางวิชาการ เพราะพรสวรรค์ไม่ควรมีนิยามหนึ่งเดียว”

          สำหรับปีที่ 26 ของการทำหน้าที่คุณครูประจำชั้น ตีน่าบอกว่าเธอมีความสนุกกับการสอนมากขึ้นทุกปี และคิดว่าจะเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังได้ยินเด็กๆ ในห้องพูดว่า “หนูมีความสุข หนูอยากมาโรงเรียนจังเลย”


[Spoil] คลิกเพื่อซ่อนข้อความขอขอบคุณข้อมูลจาก http://waymagazine.org/finnish_classroom_teacher/

คำสำคัญ (Tags): #เกรด
หมายเลขบันทึก: 647586เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2018 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2018 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท