เมื่อนำการจัดการเรียนรู้แบบผ่านกระบวนการคิดแบบ 4c มาใช้กับนักศึกษาอาชีวศึกษา


          ดิฉันจบสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมค่ะ ผ่านรายวิชาที่ใช้การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลงานที่รวบเข้ากับจินตนาการแบบยึดหลักความเป็นเป็นได้ เป็นศิลปะที่จับต้องได้ ใช้งานได้จริง และมีประโยชน์ เรียนจบไปทำงานบริษัทก็ได้ใช้ความสามารถในสิ่งที่เรียนมาเลี้ยงชีพ และวันหนึ่งก็ลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัทมาเป็นครูค่ะ

          ดิฉันก็เป็นครูตามปกติไปตามหน้าที่ค่ะ ไม่ได้จบครูมานะคะ ก็สอนตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย พอมหาวิทยาลัยรับสมัครนักศึกษาวิชาชีพครู ก็ไปสมัครสอบและได้เข้าเรียน ยอมรับค่ะว่าได้เรียนรู้ว่าการที่จะเป็นครูได้ ไม่ใช่มีความรู้อย่างเดียวแล้วก็มาสอนๆๆนักเรียน หากแต่จะต้องมีการเตรียมตัวและการจัดการหลายๆอย่าง ถึงจะทำให้ครู นักเรียนและห้องเรียนประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกัน ตอนนี้การจัดการเรียนรู้รูปแบบต่างๆมีมากเป็นดอกเห็ด ครูที่เรียนหลักสูตรครูใหม่ๆอย่างดิฉันก็งงเลยสิค่ะ แล้วจะเลือกการจัดการเรียนรู้แบบไหนมาใช้กับนักเรียนแต่ละกลุ่ม แต่ละวิชา แล้วก็ไปเห็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งค่ะที่คิดว่านี่ล่ะ ฉันจะสามารถจะเลือกมาใช้ได้อย่างถนัดถนี่เข้ากับวิชาและตัวผู้สอน และน่าจะสามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างทั่วถึงได้ นั่นคือการจัดการเรียนรู้แบบผ่านกระบวนการคิดแบบ 4C ค่ะ ประกอบด้วย

                                       1) Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์

                                       2) Communication - การสื่อสาร

                                       3) Collaboration - การร่วมมือ

                                       4) Creativity - ความคิดสร้างสรรค์

“คิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น” คือ 4C ค่ะ นักศึกษากลุ่มทดลองของดิฉันคือ นักศึกษาระดับ ปวส.2 ใช่ค่ะดิฉันสอนเด็กอาชีวะค่ะ เลือกใช้ในรายวิชาเขียนแบบฯ เริ่มจากการสร้างกิจกรรมที่จะมีให้เกิดขึ้น เพื่อเน้นกระบวนการ 4C ที่เลือกมาให้ครบทุกด้าน เริ่มต้นจากการให้โจทย์ค่ะ เลือกใช้ กล่องดินสอ ที่ทุกคนรู้และเข้าใจในรูปแบบของมันเป็นอย่างดีขึ้นมาค่ะ จากนั้นเอากล่องดินสอมาให้นักเรียนคิดให้แตกต่าง ต่อยอด และสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ พากล่องดินสอ นักศึกษาและครู มาเสวนาร่วมกันค่ะ เราก็จะได้กระบวนการคิดวิเคราะห์ค่ะ กล่องดินสอมีรูปลักษณะอย่างไร การใช้งาน รูปทรง ขนาด ถ้าคิดให้เป็นกล่องดินสอแบบใหม่ๆจะพอทำอะไรได้บ้าง ให้พูดทุกคนค่ะ ทุกคนก็จะวิเคราะห์กันได้หลากหลาย จากนั้นก็ให้ออกแบบกล่องดินสอในแบบของตนเองค่ะ ได้กระบวนการความคิดสร้างสรรค์ จากนั้นให้ออกมานำเสนอผลงานออกแบบของตนเองที่หน้าห้องค่ะ ใครสงสัยหรืออยากเพิ่มเติมส่วนไหนก็นำเสนอเพื่อน แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยจะกล้าถามกล้าสงสัยกันหรอกค่ะ เรื่องปกติเนอะ นักศึกษาบางคนนำเสนอความคิด พรีเซนต์งานตัวเองได้ดีเชียวค่ะ สนุกกันใหญ่หัวเราะกันไป ได้กระบวนการสื่อสารและความร่วมมือมากบ้างน้อยบ้าง จากภาพรวมในส่วนตัวของครูถือว่าประสบความสำเร็จ ถ้าจะให้เทียบกับเปอร์เซ็นต์แล้ว 80% ค่ะ ให้เยอะไปไหม หักหายไปตรงที่นักศึกษายังหลุดจาดความคิดเดิมๆไม่ได้ คือยังไม่สามารถฉีกออกจากความเป็นกล่องดินสอได้ และในส่วนของการสื่อสารบางคนตอนคุยเสียงดังมาก พอให้ออกมานำเสนอเสียงเบามาก อาย ไม่กล้าพูดเหมือนตอนคุย ดีค่ะ อย่างน้อยก็ได้นำกระบวนการมากระตุ้นเด็กบ้าง สร้างทักษะการทำงาน ให้ความรู้เพื่อนำไปต่อยอดอย่างเดียวไม่พอ เขาต้องคิดได้ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ วิเคราะห์ได้ รู้จักให้ความร่วมมือเพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นี่คือสิ่งที่ครูให้ได้นอกจากความรู้จากปากครูและตัวหนังสือ

          และแน่นอนว่าการจัดการเรียนรู้แบบผ่านกระบวนการคิดแบบ 4c มีประโยชน์มากค่ะ เคยมีความคิดว่าสำหรับเด็กอาชีวะแล้วต้องยัดแต่ทักษะความสามารถในการทำงานเข้าไป เพื่อตอบสนองให้แก่ภาคอุตสาหกรรม จากการสอนแบบใช้ความรู้ที่ตัวเองมีปลาวๆๆ ไปส่งใส่นักศึกษาเพื่อให้เขาเก่ง ไม่ได้มีความสุขเท่ากับการที่เห็นเขาได้ใช้ความคิดตนเอง ได้คิดเป็น พูดเป็น ทำเป็น มีความสุขมากค่ะ        

หมายเลขบันทึก: 646749เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2018 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2018 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท