๘. การวิจัยเรื่องพระเครื่องของไทยโดยใช้หลักและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์


ผมหายไปนาน เพราะว่าได้เข้าร่วมกับ ดร.แสวง รวยสูงเนิน อดีตอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันท่านเกษียณแล้วเป็นเกษตรกรแนวใหม่และนักสะสมพระ ได้ติดตามดร.แสวงทางเฟสบุคได้ติดต่อและร่วมงานกับท่าน เพื่อใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาวิจัยพระเครื่องชนิดต่างๆ 

อ.มีหลักการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว ผมได้มาศึกษาหลักทางวิทยาศาสตร์ของอ. นำมาคิดต่อและหารือกับอ.เพื่อหาวิธีพิสูจน์หลักทางวิทยาศาสตร์นั้นๆ เครื่องมือสำคัญที่ใช้คือเครื่อง SEM EDS ซึ่งเป็นกล้องจุลทัศน์อิเลคตรอนกำลังขยายสูงมากและต่อพ่่วงกับเครื่องมือวิเคราะห์ธาตุ สามารถบอกได้ว่าวัสดุที่กำลังส่องอยู่นั้นประกอบไปด้วยธาตุอะไรบ้าง เครื่องมือนี้เป็นตัวใหม่สมัยที่ผมเรียนยังไม่มี จึงตื่นเต้นมากเพราะว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้พิสูจน์สมมุติฐานต่างๆได้เป็นอย่างดียิ่ง

หลักการเบื้องต้นของเครื่อง SEM EDS 

เครื่อง SEM EDS ย่อมาจาก Scanning Electron Microscope with Energy Dispersive Spectroscopy คือเครื่องที่สามารถยิงลำอิเลคตรอนไปตกกระทบพื้นผิววัสดุที่จะส่อง เมื่อตกกระทบแล้วอิเลคตรอนก็จะสะท้อนกลับเข้ามาที่ตัวรับสัญญาน ตัวรับสัญญานก็สามารถแยกแยะได้ว่าอิเลคตรอนตัวนั้นตัวนี้มาจากตำแหน่งไหน สูงต่ำอย่างไรแล้วก็ประมวลมาเป็นภาพได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วย และยังสามารถวัดระดับพลังงานของรังสีที่คายออกจากตำแหน่งที่กำหนดไว้ ซึ่งระดับพลังงานของรังสีนี้จะสามารถบอกได้ว่าเป็นธาตุอะไรในตารางธาตุได้ ดังนั้นเครื่องมือตัวนี้จึงเหมือนกล้องวิเศษที่สามารถบอกได้ทั้งรูปขยาย 100,000 เท่าและส่วนประกอบว่ามีธาตุอะไรอยู่บ้าง สามารถใช้แยกพระแท้ออกจากพระเก๊ได้

นี่คือเครื่อง SEM EDS

เครื่องตัวนี้มีในประเทศไทยหลายที่มีใช้ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน ประชาชนทั่วไปสามารถขอเข้าใช้ได้และมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากเกินไป

เชื่อว่าอีกไม่นานคงเห็นคนใช้เครื่องตัวนี้เป็นตัวตัดสินพระแท้ได้

นี่คือตัวอย่างของผลวิเคราะห์จากเครื่องตัวนี้

เป็นรูปที่ได้จากกล้อง SEM และผลจาก EDS ของพระบางขุนพรหมฐานแซมส่องบริเวณที่คาดว่ามีการงอกของผลึก calcite ซึ่งมีลักษณะคล้ายเจดีย์ซ้อนๆกันอยู่เป็นชั้นๆ ผลการวิเคราะห์ธาตุแสดงแน่ชัดว่าเป็น CaCO3 หรือ calcium carbonate ซึ่ง calcite ก็คือผลึกรูปแบบหนึ่งของ calcium carbonate นั่นเอง

เราได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเปลือกหอย เนื่องจากเราเชื่อว่าผิวพระสมเด็จจะมีลักษณะพื้นผิวที่มีพัฒนาการเหมือนๆกัน คือมีการงอกของผลึก calcite และ aragonite  ซึ่งเป็นรูปแบบผลึกของ calcium carbonate นั่นเอง 

calcium carbonate มีชื่อเรียกหลากหลายชื่อมาก เพราะว่าเป็นของที่มนุษย์ใช้กันมาอย่างยาวนานมาก คนไทยเรียกว่า ปูน  ปูนมีแหล่งที่มาหลายที่ เช่นภูเขาหินปูน จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ หินอ่อน ฝรั่งเรียกว่า Lime (ไม่ใช่มะนาวนะ) 

จากรูป SEM EDS ของเปลือกหอยจะเห็นได้ว่ามีลักษณะและองค์ประกอบธาตุเหมือนกัน คือมีการงอกของผลึก calcite และเป็นสาร CaCO3

จากสมมุติฐานที่ว่าพระสมเด็จวัดระฆังแท้สร้างจากปูนเปลือกหอย เมื่อผ่านกาลเวลา 150 กว่าปี จะมีการงอกของ calcite และ aragonite ผสมผสานกับคราบน้ำมันตังอิ๋ว หรือน้ำว่าน 

ความเก่าสังเกตุได้จากผลึกของ calcite และ aragonite ที่อยู่สอดประสานกลมกลืนกัน และมีน้ำว่านอยู่ระหว่างผลึกสองชนิดนี้ ของปลอมไม่มีทางทำได้

หมายเลขบันทึก: 646747เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2018 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2018 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท