​ หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อนโยบายและการดำเนินการตามนโยบาย


               วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑ สถาบันคลังสมองของชาติจัดการประชุม Workshop on evidence synthesis for decision making  โดยเชิญวิทยากรมาจากอังกฤษ ๒ ท่าน  จากประเทศไทยเราเอง ๑ ท่าน   คือ รศ. ดร. มุกดารัตน์ บางพันธ์ และ  Kelly Dickson จาก UCL Institute of Education   และ นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ จาก HITAP  

Social Science Research Unit, Department of Social Science, UCL ได้ก่อตั้ง Evidence for Policy and Practice Information and Coordination Centre (1)   ทำงานวิจัยเพื่อให้ข้อมูลหลักฐานที่ดีแก่ฝ่ายนโยบายและผู้ปฏิบัติ    โดยทำงาน (1) Systematic review  (2) Research use

จุดสำคัญคือ เรามักมี global evidence   ที่เมื่อเอามาใช้ในสภาพจำเพาะของพื้นที่ (local context) อาจใช้ได้ หรืออาจใช้ไม่ได้ผล   การทำ systematic review จึงจะช่วยบอกว่าข้อสรุปใหญ่ๆ แต่ละเรื่องเชื่อได้แค่ไหนในต่างบริบท  

ในการทำ systematic review ไม่ได้มุ่งแค่ดูผล  แต่ดูที่วิธีการทำวิจัยแต่ละโครงการด้วย    ผลของ SR ช่วยบอก gap of knowledge   และใช้บอกโจทย์วิจัยที่ควรทำต่อด้วย   

ดร. มุกดารัตน์ ยกตัวอย่าง การประยุกต์ใช้ microfinance ที่อัฟริกา    พบว่าในบางพื้นที่ microfinance ช่วยคนจน    แต่ในบางพื้นที่กลับทำอันตราย   ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย บอกว่า สกว. เคยใช้ microfinance ในพื้นที่ของประเทศไทย และพบว่า ที่ไม่ได้ผลเพราะโครงการขาดมิติด้านการเรียนรู้   

น่าสนใจที่วงการวิชาการด้าน systematic review ได้สร้างเครื่องมือ เพื่อรับมือความซับซ้อนสารพัดด้านของสภาพจริงด้านการวิจัย และด้านวงการนโยบาย    

สหราชอาณาจักร ตระหนักในความสำคัญของการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ประกอบการใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน  จึงตั้ง What works network ในปี 2013 (2)

ผมได้เรียนรู้ชื่อเทคนิควิธีการสังเคราะห์ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อหาความหมายสำหรับตัดสินใจ สารพัดวิธี เช่น meta-regression, realist review    ก้าวหน้าไปจนถึงวิธีสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ meta-analysis of observational studies, critical interpretive analysis, meta-ethnography, thematic synthesis, framework synthesis   

นอกจากนั้นผมยังได้รู้จัก aggregation review, configuration review, systematic map, และ systematic review software ชื่อ EPPI-reviewer 4   และจากการค้นด้วย Google  พบ systematic review software ตัวอื่นๆ อีกด้วย   

นพ. ยศ ตีระวัฒนานนท์ ยกตัวอย่างข้อหลงผิด (myth) ในเรื่องทางสุขภาพ ๕ ประการ    ที่ผลการวิจัยหาหลักฐานเชิงประจักษ์บอกว่า ความเชื่อเหล่านั้นไม่เป็นจริง    และชี้ว่าการหาโจทย์วิจัยที่ดี ที่ตอบโจทย์นโยบายสำคัญด้านระบบสุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง    และเนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านสุขภาพมีราคาแพงมาก    หลายกรณีมีการตั้งราคาแพงเกินต้นทุนเป็นสิบเป็นร้อยเท่า    และบริษัทธุรกิจค้ากำไรเกินควร    การมีระบบ HTA (Health Technology Assessment) จึงช่วยได้มาก

วิจารณ์ พานิช                        

๑๙ มี.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 646723เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2018 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2018 09:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท