เศรษฐกิจและทุนชุมชนจังหวัดพัทลุง ตามรองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงไปเรียนรู้การประเมินพื้นที่ ด้วยเครื่องมือ KSNB(5) ที่ตะแพน


    ตำบลตะแพนอำเภอศรีบรรพต ถูกเสนอเป็นพื้นที่ในโครงการเศรษฐกิจและทุนชุมชนต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด

พัทลุง เมื่อครั้งประชุมรายงานความคืบหน้า  10 พื้นที่โครงการ ในประเด็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอนุรักษ์ เมื่อวัน

ที่29 มีนาคม 2561

    ซึ่งเป็นที่มาของดรีมทีมลงประเมินชุมชน ตามหลักการ KSNB  4ด้าน 14 ตัวชี้วัด https://www.gotoknow.org/posts...

และเป็นพื้นที่สุดท้ายของการลง

ประเมินในวันนี้ 

     เมื่อไปถึงกลุ่มเป้าหมายมากันมากมาย ทั้งๆที่เป็นเวลา บ่าย3 โมงกว่า ทั้ง ชาวบ้าน ท้องที่ ท้องถิ่น และส่วน

ราชการอำเภอ ต่างรอรับกันด้วยความตั้งใจ ทักทายทานน้ำพอคลายร้อน ก็เริ่มเวที โดยคนเดิม เครื่องมือเดิม 

แต่ประเด็นเปลี่ยน กลุ่มหมายเปลี่ยน คุณ วิเชียร มณีรัตนโชติ ก็เปลี่ยนกระบวนทัศน์จัดการให้ชุมชนประเมินตนเอง

ในประเด็นการท่องเที่ยว

คุณวิเชียร มณีรัตนโชิต นักกระบวนกร ชวนคุยทำความเข้าใจแบบประเมิน 

 พื้นที่นี้ผู้เขียนคุ้นชินกับแกนนำหลายคน ที่เป็นอดีตสหาย และเป็นนักศึกษา วปช.(วิทยาลัยป้องกันชุมชน)มาด้วย

กันมีเรื่องราวการต่อสู้ในการอนุรักษ์ ปกป้องสิทธิในที่ดิน มีกติกาชุมชน คนอยู่กับป่า  มีความรู้ มีทักษะ มีเครือข่าย

 มีองค์กรทั้งภายใน และภายนอก และต่างประเทศ ในเรื่องสิทธิ์ https://www.gotoknow.org/posts...

แต่พอมาจับประเด็นการท่องเที่ยวตามหลักKSNB  ยังห่างไกล  ต้องมาช่วยกันพัฒนาอีกหลายช่วง ให้เกิดสโลแกน

 "เที่ยวแพน แสนเพลิน" เหมือนโฆษณา รองเท้า ยี่ห้อหนึ่งและอีกประเด็นของที่นี้ที่เป็นทุนทางสังคมคือสมุนไพร 

มีสมุนไพรมากมาย

 น้ำตาพระศิวะ

 ยายถีบหลานและอื่นๆ ยังมีในพื้นที่นี้ ทุนธรรมชาติเหล่านี้จะพัฒนามาหนุนเสริมมาใช้เป็นทุนในการท่อง

เที่ยวทางเลือกกันต่อไป ให้เกิดเศรษฐกิจและทุนชุมชน แต่คงไม่ใช่เป็นการท่องเที่ยว"บ้านร้างในป่ารก หรือการท่อง

เที่ยวเส้นทางโจร ตามที่ทีมประเมินแซวกัน ขอเป็นกำลังใจให้ชุมชน 20 ถึง 23 นี้ พบกันกับค่ายนักศึกษา จะมาเล่า

นิทานให้ฟัง.........  ขอบคุณทีมงานทุกคนที่ทำให้มีโอกาสทำสิ่งดี สู่ชีวิต

ท่านรอง ดวงพร ปิดเวที ที่3  ปรนนิบัติราชการกันจนค่ำ

ผู้นำทีม  นำกลับบ้านด้วยความปลอดภัยทุกท่าน

บ้านวอญา  เที่ยงคืนของวันที่ 9 เมย 61

น้ำตาพระศิวะ : ตำนานแห่งเมล็ดพืชมงคล "รุทรักษะ"

ตำนานแห่งเมล็ดพืชมงคล

รุทรักษะ

ในครั้งหนึ่ง องค์มหาอุมาเทวีเจ้า ได้ ทูลถาม องค์พระสดามหาศิวะเจ้า ถึงความสำคัญของเมล็ดรุทรักษะ ซึ่งองค์พระสดามหาศิวะเจ้า และ เหล่า คณะปติ, คณะบริวาร ขององค์พระสดามหาศิวะเจ้า ได้ใช้ประดับสวมใส่อยู่ และได้รับทราบถึงคำตอบว่า ในครั้งหนึ่งของการทำสมาธิอันยิ่งใหญ่ในการเปิดโลกทัศนะญาณขององค์พระสดามหาศิวะเจ้า เมื่อองค์พระสดามหาศิวะ ผู้เป็นเจ้าท่านได้ทรงเห็นความทุกข์ ยาก ลำบากใน การดำรงชีวิตของเหล่ามนุษย์บนโลก ด้วยความเวทนา ในชะตากรรม น้ำพระอัสสุชล(น้ำตา) ขององค์พระสดามหาศิวะเจ้า จึงได้หยดลงมาบนพื้นโลก และเมื่อน้ำพระอัสสุชล(น้ำตา) ขององค์พระสดามหาศิวะเจ้าหยดถึงพื้นดินนั้นก็ได้บังเกิดเป็นต้นไม้ขึ้น องค์พระสดามหาศิวะเจ้า จึงได้อำนวยพรให้กับต้นไม้ที่กำเนิดนั้นโดยให้ถือว่าเป็นต้นไม้มงคลและตั้งชื่อให้ว่าต้นรุทรักษะและอำนวยพรให้แก่มนุษย์ที่ได้นำเมล็ดรุทรักษะไปประดับหรือสวมใส่ด้วยความเคารพ,รักดังนี้

ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะที่ผ่านพิธีกรรมอย่างถูกต้อง จะไม่มีไสยเวทย์ ภูตผี วิญญาณร้าย มารบกวน หรือรังควาญ ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะที่ผ่านพิธีกรรมอย่างถูกต้อง เมื่อเสียชีวิตลงในขณะที่สวมใส่รุทรักษะจะไม่ต้องได้รับการคร่ากุม หรือจับกุมโดยยมทูต เพื่อไปรับโทษในนรก ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะที่ผ่านพิธีกรรมอย่างถูกต้อง จะ ทำให้มีเรื่องเสียใจหรือเศร้าหมองน้อยลงเสียน้ำตาน้อยลงและหากเมล็ดรุทรักษะยิ่งมีขนาดเล็กลงเท่าใด ก็จะยิ่งจะทำให้เสียน้ำตาน้อยลงเท่านั้น ผู้ที่สวมใส่รุทรักษะที่ผ่านพิธีกรรมอย่างถูกต้อง จะสามารถรักษาสุขภาพ ให้ดีและแข็งแรงได้ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรค ที่ ทางการแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุพบ หรือ ผู้ที่เป็นโรคร้ายแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้
เรื่องน่าอัศจรรย์เเละความศักดิ์สิทธิ์ของรุทรักษะ

รุทรักษะ มีหลายลักษณะ หรือเรียกว่า หลายหน้า ถ้าจะอธิบายง่ายๆก็คือ บนผิวเมล็ดที่มีลักษณะกลมนั้นมีเส้นเเบ่งเมล็ดออกเป็นกี่ส่วน ซึ่งเเต่ละลักษณะนั้นตามตำนานเเละความเชื่อของผู้คนจากอารยธรรมทางอินเดียตอนเหนือ เนปาล ภูฎาน เเละธิเบต จากข้อมูลหนังสือ The Mystic Seed ของ K.T. Shubhakaran สรุปได้ดังนี้

1. หนึ่งหน้า เชื่อว่าเป็นมารดาเเห่งเมล็ดรุทรักษะทั้งปวง นำมาซึ่งความสุขเเละการปกป้องจากบรรดาอันตรายทั้งปวง พระลักษมีจะคอยปกป้องผู้ที่บูชารุทรักษะหนึ่งหน้านี้ เเละทำลายล้างความชั่วร้ายทั้งปวง

2. สองหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของพระศิวะ ช่วยเพิ่มพลังสมาธิให้ผู้สวมใส่เเละเกิดสมาธิได้เร็ว

3. สามหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของเทพอัคนี เเละใช้เพื่อป้องกันโชคร้ายต่างๆ ปลอดจากโรคภัย ปกป้องผู้สวมใส่จากอาวุธ เเคล้วคลาด นำมาซึ่งทรัพย์ เงินทอง

4. สี่หน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนเเห่งพระพรหม ช่วยชำระจิตรใจให้บริสุทธิ์ ก่อให้เกิดปัญญา

5. ห้าหน้า เชื่อว่าเทพเจ้าศักสิทธิ์ทั้งห้าจะประทานพรเเละความสำเร็จในชีวิตให้เเก่ผู้สวมใส่ ขจัดโรคภัย อีกทั้งยังเชื่อกันว่าหากสวมใส่ สามเมล็ดจะนำมาซึ่งกำไรทางการค้า ธุรกิจ เเละความมั่งคั่ง

6. หกหน้า เขื่อว่าเป็นตัวเเทนของพระ Kartikeya ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระพิฆเนศ ผู้ชายใส่มือขวา ผู้หญิงใส่มือซ้าย ช่วยปกป้องนานาประการ

7. เจ็ดหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของ Sapta Rishis ช่วยให้ผู้สวมใส่ได้รับโชคทรัพย์สิน ความนับถือ เเละความมีอำนาจ ผู้คนยำเกรง

8. เเปดหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของพระพิฆเนศ ผู้สวมใส่จะได้รับความสำเร็จ ชีวิตราบรื่น เเละความมีสติปัญญา

9. เก้าหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนเทพทั้งสามคือ Bhairava Yama เเละ Kapil Muni นิยมสวมใส่มือซ้ายเพื่อความก้าวหน้า เเละความสำเร็จ

10. สิบหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของเทพพระวิศณุ ปกป้องผู้สวมใส่จากอิทธิพลของความชั่วร้ายทั้งปวง

11. สิบเอ็ดหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของพระอินทร์ นำมาซึ่งความมั่งคั่ง ทรัพย์สินเพิ่มพูนอย่างรวดเร็ว

12. สิบสองหน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของเทพพระวิศณุ พระอาทิตย์จะคอยคุ้มครองผู้สวมใส่ให้ได้ความมั่งคั่งทั้งปวงเเละความราบรื่นของชีวิต

13. สิบสามหน้า เชื่อว่าผู้สวมใส่จะได้รับความสำเร็จในชีวิต เเละได้รับโชคดีตลอดเวลา ปราศจากทุกข์ต่างๆ

14. สิบสี่หน้า เชื่อว่าเป็นตัวเเทนของพระศิวะเเละเทพหนุมาน ช่วยรักษาโรคเเละความทุกข์ต่างๆ
เมล็ดรุทรักษะเชื่อว่าจะเพิ่มพลังงานให้เเก่ผู้สวมใส่ เเละส่งพลังเเม่เหล็กไฟฟ้าด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายผ่อนคลาย ปรับระดับการทำงานของร่างกายให้สมดุลย์ จิตรใจผ่อนคลายเเละเกิดสมาธิได้ง่าย ทางอินเดียตอนเหนือใช้ร่วมกับการรักษาโรคให้เเก่ผู้ป่วยด้วย
(ขอบคุณข้อมูลจาก

(Bloggang.com : weblog for you and your gang)

หมายเลขบันทึก: 646359เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2018 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2018 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ร่วมให้กำลังใจคนทำงานด้วยใจเพื่อพัฒนาพัทลุงของเราค่ะ

บังครับได้ทั้งความรู้และกระบวนการชุมชน

ชอบใจมากๆครับ

เรียนอาจารย์ ทิพวรรณ  ปีนี้ลงพื้นที่ประเมิน ค้นหาทุนทางเศรษฐกิจ ของชุมชน ซึ่งมีความหลากหลายในแต่ละพื้นที่

โชคดีที่ท่านรอง ดวงพร เป็นแม่ทัพขับเคลื่อนงาน ได้ประสานรัฐราษฎร์ เอกชน และท้องถิ่น

ขอบคุณ ท่านอาจารย์ ขจิตที่ตามมาให้กำลังใจ 

มีอีกหลายพื้นที่ ที่ต้องลงค้นหาทุนชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท