การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”


ชื่อเรื่อง    :   การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                  โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”

ผู้วิจัย      :   สุชาติ  บูรณ์เจริญ, โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”  อำเภอเมืองสุรินทร์ 

                    จังหวัดสุรินทร์  ปีการศึกษา 2560                                                               บทคัดย่อ               การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการรับการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”  2)  พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน  3)  ใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และ  4)  ประเมินผลรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้

            ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการรับการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”  แหล่ง     ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ 1) รายงานการประชุมครูฝ่ายวิชาการ  และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  8 กลุ่มสาระ  2)  การสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการรับการนิเทศภายในสถานศึกษา จากครู  จำนวน 38 คน  และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้  จำนวน 8 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือแบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการรับการนิเทศภายในสถานศึกษา  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 

            ขั้นตอนที่ 2  การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน  โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย  คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา และการบริหารการศึกษา  จำนวน 5 คน  นวัตกรรมแบะเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1)  คู่มือการนิเทศภายในสถานศึกษา  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน  โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”  2)  แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 

            ขั้นตอนที่ 3  การใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3  “เทศบาลอนุสรณ์” แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ 1)  ครูผู้สอน จำนวน 38  คน  2)  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ผู้ปฏิบัติการนิเทศ จำนวน 8 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครู  2) แบบประเมินประสิทธิภาพของครูผู้นิเทศการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 

            ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน และครูปฏิบัติการสอน จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ   แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  

 

สรุปผลการวิจัย

             1. ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และมีปัญหาการติด  0.ร เกิดจากนักเรียนขาดความรับผิดชอบต่อการเรียน  ปัญหาผู้ปกครองไม่มีเวลาในการกำกับ ติดตาม และดูแลนักเรียน  โรงเรียนขาดระบบการนิเทศการเรียนการสอนของครูเพื่อพัฒนาครูที่เป็นระบบ  ปัญหาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมากที่สุด คือ ปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้  ซึ่งครูมีความต้องการให้โรงเรียนจัดระบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

            2. ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการรับการนิเทศภายในสถานศึกษา 2) การวางแผนและกำหนดทางเลือกการนิเทศ  3) การสร้างสื่อ เครื่องมือและพัฒนาวิธีการนิเทศ 4) การปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา และ 5) การประเมินผลและรายงานผล   รูปแบบที่สร้างขึ้นผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ามีความเหมาะสม ระดับมาก

              3. ผลจากการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” พบว่า  ครูผู้สอนมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก  ครูผู้นิเทศสามารถปฏิบัติการนิเทศ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน  ส่วนด้านความก้าวหน้าด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

              4. ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้นิเทศ และครูผู้รับการนิเทศจากรูปแบบการนิเทศที่สร้างขึ้น พบว่า  ครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศ
หมายเลขบันทึก: 645960เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2018 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2018 19:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท