การจัดการความรู้ของเครือซีเมนต์ไทย


km เครือซีเมนต์ไทย

ผมได้ไปอ่านหนังสือ" เพิ่มพลังธุรกิจด้วยไอซีทีโซลูชั่น (EMPOWER YOUR  BUSINESS WITH ICT SOLUTION " มีหัวข้อการจัดการความรู้ของกลุ่มเครือซีเมนต์ไทย จึงอยากมาเล่าให้ฟังครับ

คุณมนูย สรรค์คุณากร ผอ.สำนักงานบุคคลกลาง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย กล่าวว่า "Asset ที่สำคัญของเครือฯ คือ คนที่ทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งและทำให้เราแก้ไปปัญหาที่ผ่านมาได้ และ e-learningเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาบุคลากรของปูนซีเมนต์ไทยเท่านั้น เพราะโครงสร้างที่จะส่งเสริมให้พนักงานสามารถนำความรู้ (knowledge) ไปใช้จนเกิด wisdom นั้น จำเป็นต้องมีส่วนประกอบมากกว่าแค่เพียง e-learning คือต้องมีส่วนประกอบที่จะนำเอาความรู้จัดเก็บรวมรวม เพื่อให้มีฐานความรู้ที่มากเพียงพอจะเกิดประโยขน์ได้ แล้วจัดแบ่งหรือใส่ความสามารถในการค้นหา เพื่อให้พนักงานนำความรู้ไปใข้ได้ รวมทั้งเทคโนโลยี e-learning ที่จะช่วยกระจายความรู้ไปยังพนักงานเพิ่มโอกาสที่จะได้เรียนรู้ตลอดเวลา "

จะเห็นได้ว่าเครือซีเมนต์ไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาคน จึวได้มีนโยบายว่า เรื่องการพัฒนาความรู้ การวิจัยและพัฒนานั้น ไม่จำเป็นต้องมาคิดถึง return เพราะถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็น long term investment อย่างไรก็ตามแม่นโยบายจะไม่คำนึงถึง return ด้านนี้ แต่ก็น่าจะต้องมีตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาบุคคลากร ตัวชี้วัดที่สำคัญคือการสร้าง successor หรือการสร้างพนักงานในระดับถัดไปที่จะมาแทนที่พนักงานในระดับที่สูงกว่าหรือผู้บริหาร เช่น เวลาที่เรามีตำแหน่งระดับสูงกว่าเกษียณเราไม่จำเป็นต้องรับคนนอกคนในพร้อมขึ้นมาแค่ไหน หรือตอนที่ขยายธุรกิจ เราต้องมีคนพร้อมโดยไม่จำเป็นต้องหาคนจากข้างนอก ผิดกับบางธุรกิจที่มีเงินพร้อมแต่หาคนไม่ได้

เครือซีเมนต์ได้จัดสร้าง knowledge management center ประกอบด้วย

1. ส่วนของ working knowledge เป็นส่วนที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการทำงานจากพนักงานที่ทำงานในแต่ละวัน ซึ่ง tacit knowledge เหล่านั้นมีอยู่ในหัวของพนักงานหากไม่สามารถนำมารวบรวมและเผยแพร่ ความรู้เหล่านี้อาจหายไปพร้อมกับพนักงาน

2. ส่วนของ soft learning 

เป็นส่วนที่รวบรวมความรู้โดยทั่วไปที่น่าสนใจ อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เช่นเป็นเรื่องเกี่ยวกับ personal development, business development&tools

3. ส่วนของ knowledge sharing board

เป็นwebboard ที่ใช้แชร์ไอเดีย ความคิดเห็น ถามปัญหา และช่วยกันแก้ปัญหา โดยจะแบ่งหัวข้อและที่สำัคัญคือ การกำหนดผู้รับผิดชอบเป็น expert ในหัวข้อนั้นๆหรือพยายามจะช่วยหาคำตอบให้

4. ส่วนของ e-iso

เป็นผลพวงที่ได้จากการทำ iso 9000:2000 ของปูนซีเมนต์ไทย คือความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ดังนั้นการรวบรวมเอกกระบวนการทำงานในแต่ละ operation ออกมาเป็นเอกสารอิเลคทรอนิกส์ในโครงการ e-iso นี้ทำให้พนักงานนำไปใช้ได้สะดวกด้วยไฮเปอร์ลิงค์ที่เชื่อมโยงไปยังไฟล์เอกสารต่างๆ

5. ส่วนของ best practice

เป็นรูปแบบหรือขั้นตอนทำงานที่ดีสำหรับใช้เป็นแบบอย่างในการเริ่มต้นหรือต่อยอดเพื่อไม่ต้องเริ่มใหม่จากศูนย์

6. ส่วนcase study

เป็นส่วนที่รวบรวมกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและองค์กรอื่น ทั้งกรณีที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว เพื่อแต่ละหน่วยสรุปเป็นเคสว่า หากพบสถานการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ สาเหตุเกิดจากอะไร  จะมีผลกระทบอย่างไร หาคำตอบได้จากไหนหรือควรจะแก้ไขอย่างไร

นอกจากนี้ เครือซีเมนต์ไทยได้นำเทคโนโลยีการถ่ายทอดความรู้ดดยใช้ซอฟแวร์ Acule@n มาใช้ในการจัดเก็บความรู้และส่งกระจายไปยังพนักงานได้.....จบแล้วครับ 

 

คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 64558เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 07:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท