วัยกังวลสู่วัยเรียนรู้ด้วยตัวเอง(ถอดบทเรียน อาจารย์เดียร์)


น้องเอส(นามสมมติ) อายุ 15 ปี เรียนอยู่ ม.3  กำลังจะขึ้น ม.4  ไม่ส่งงานและไม่ทำการบ้าน แล้วหลังจากกลับบ้านก็ไปพูดคุยกับคนแปลกหน้าและถูกหลอกให้เอาของไปให้คนแปลกหน้า แต่ไม่คุยกับเพื่อน ไม่ทำงานกลุ่มกับเพื่อนเลย

            พ่อแม่ของน้องเอสจึงมาขอคำปรึกษาจาก อ.เดียร์ เมื่อมาพบกับน้อง แล้วทำกิจกรรมร่วมกัน น้องมีความกังวลกับตัวเองน้ำหนักที่มาก อ.เดียร์จึงถามว่า "อยากออกกำลังกายอะไร" น้องบอกว่า "อยากวิ่ง"(MOHO : ดูที่ความต้องการและความสนใจของ pt. เป็นหลัก) ดังนั้นอาจารย์เดียร์เลยออกวิ่งร่วมกับน้องที่สวนสาธารณะใกล้บ้าน ซึ่งมีสอนมวยไทยด้วย น้องก็เลยสนใจในกีฬามวยไทย จึงเข้าไปคุยกับครูฝึก ก็ตกลงที่จะเรียน ต่อมาหลังจากที่กลับจากโรงเรียน น้องก็หันมาตั้งใจในกีฬามวยแทนการคุยกับคนแปลกหน้า จนน้องซื้อกระสอบทรายไว้ที่บ้าน อ.เดียร์ ก็มาซ้อมเล่นกับน้องก็มีการคิดท่าต่อยมวยกันเองเล่นๆ ซึ่งน้องบอกว่า รู้สึกดีหลังจากที่ได้ทำกิจกรรม เพราะน้ำหนักน้องลดลง และปัญหาที่สำคัญของพ่อแม่คือ น้องไม่ยอมส่งงานเลย ดังนั้น อ.เดียร์จึงได้พาพ่อแม่และน้อง รวมถึงอาจารย์ที่โรงเรียน ร่วมคุยกัน และเข้าไปสำรวจดูสภาพแวดล้อมในโรงเรียน เมื่อกลับบ้านมา อ.เดียร์ก็ชวนน้องมาทำตารางการส่งงานและให้น้องลงมือทำ สุดท้ายน้องก็เริ่มส่งงานได้ตามปกติ (ปรับความคิดจาก short term to long term : จากแค่ทำกิจกรรมนี้ไม่ค่อยได้ ก็ให้เป็นกิจกรรมที่ทำเริ่มทำได้แล้วมีลำดับขั้นตอน นำไปสู่การทำได้ด้วยตนเอง) ซึ่งน้องไม่คุยกับเพื่อน ไม่ยอมทำงานกลุ่ม พ่อแม่จึงตัดสินใจให้ชวนเพื่อนๆของน้องมาที่บ้าน ให้น้องรู้จักการทำงานเป็นกลุ่มและคุยกับเพื่อนแล้ว ถือว่า ตอนนี้น้องก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีการลดจำนวนครั้งในการเจอกับน้องให้น้อยลงเพื่อให้น้องได้รู้สึกภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้และรู้จักแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 

ในการรักษาของ อ.เดียร์ คือ มีการประเมินในเรื่อง รับความรู้สึก,การเคลื่อนไหว,การดำเนินกิจวัตรประจำวัน,สุขภาวะและอนามัย เป็นต้น ซึ่งตอนแรกที่มีปัญหาเยอะๆ ก็ต้องมีการตั้งเป้าประสงค์ของปัญหาที่เกิดว่ามีอะไรบ้าง เริ่มวางแผนและพูดคุยกับน้องและคนหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับตัวน้อง แล้วให้น้องลงมือทำด้วยตนเองและมีการเข้าไปแทรกแซงบ้าง(Interactive)โดยทำกิจกรรมร่วมกับน้องให้น้องได้รู้สึกไว้ใจและเชื่อใจ และสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย และมีการนัดเจอกันเพื่อตรวจสอบว่าตรงตามเป้าประสงค์ที่วางไว้

นางสาวทิพาพร  ปัทมะเสวี เลขที่ 8

PTOT 5923008

หมายเลขบันทึก: 645238เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2018 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2018 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท