ภาวะหมดไฟ หรือความเหนื่อยหน่าย ( Burn-out)


Are you burn-out ?

                มีใครกำลังหมดไฟในตัวเองบ้างยกมือขึ้น ?

                Burn-out ( ภาวะหมดไฟ หรือความเหนื่อยหน่าย ) ได้ขยายตัวและระบาดไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก หลายประเทศได้รับผลกระทบต่อภาวะนี้ เช่น ประเทศสหราชอาณาจักร  ได้รับควาเสียหายถึง 46,000 ล้านปอนด์ ต่อปี  อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการทำงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ประเทศสหรัฐอเมริกา สูญเสียต้นทุนทางเศรษฐกิจ ถึง 3 ล้าน ล้านเหรียญต่อปี และค่าใช้จ่ายจากการลาออกของพนักงานจำนวนมาก แบะประเทศออสเตเลีย มีระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 30 ล้านเหรียญในปี1997  (Lieter and Maslach, 2005)

                Burn-out ( ภาวะหมดไฟ หรือความเหนื่อยหน่าย ) มักพบในอาชีพที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ (interpersonal) กับบุคคลจำนวนมากและอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด เช่น  ตำรวจ  นักกฎหมาย  ครู  ที่ปรึกษา และ พยาบาล  เป็นต้น  (Maslach, Susan E.,and Leiter, 1986)  เป็นภาวะที่เกิดจากการที่ บุคคลต้องเผชิญกับความเครียดเรื้อรัง ( Chronic stress )  ที่มีใช่ความเครียดสะสมจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า(Depressive)  แต่เป็นการที่บุคคลนั้นใช้กระบวนการทางจิตในการที่ จะตอบสนองภาวะเครียดเรื้อรังนี้ โดย พยายามที่จะ ไม่รับรู้  ไม่ตอบสนองต่อ สิ่งเร้าที่ส่งผลให้เกิดความเครียด(stress)เรื้อรัง   โดยที่ความเครียดนั้นไม่ได้หมดไป  เพียงแต่บุคคลเราพยายามที่จะไม่รับรู้กับสิ่งเร้านั้นๆและพยายามหลีกหนี ในขณะที่ต้องเผชิญและไม่สามารหลีกหนีได้ ปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดภาวะ Burn-out นั้น จากการศึกษาทฤษฎี  วิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย  พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ภาวะ Burn-out( ภาวะหมดไฟ หรือความเหนื่อยหน่าย )  แบ่งได้หลักๆ 5 ประการคือ  1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ  สถานภาพสมรส  ประสบการณ์ในการทำงาน  การรับรู้บรรยากาศองค์กร  ความเครียด ความคาดหวังในงานของบุคคล  และ การเห็นคุณค่าในตนเอง  2.  ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม   ได้แก่  การสนับสนุน ทางสังคม บรรยากาศในที่ทำงาน ลักษณะงานที่รับผิดชอบ สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และ สัมพันธภาพกับผู้รับบริการ  ผลที่ตามมาเมื่อบุคคลเกิดภาวะ Burn-out  ส่งผลใน 4 ด้าน คือ 1.  ผลทางกายและใจของบุคคล 2.   ผลต่อความสัมพันธ์ กับเพื่อน  เพื่อร่วมงาน ครอบรัว และผู้รับบริการ 3. ผลต่อทัศนคติ และผลต่อพฤติกรรม  ทั้งที่เกี่ยวกับการทำงานและการใช้สารเสพติด เหล้า บุหรี่

                ภาวะนี้เกิดได้ทั้งในตัวบุคคล และในองค์กร หลากเกิดในบุคคลก็เพียงบริหารจัดการคนเองเพื่อไม่ให้เกิดภาวะ burn-out นี้ สามารถทำได้ เช่น มีการบริหารจัดการเรื่องการดำเนินชีวิต การทำงาน อย่างมีระเบียบ  เรียนรู้วิธีการคลายเครียดเมื่อรู้สึกว่าตนเองประสบภาวะเครียดแล้วนะ  รู้จักปล่อยวางไม่หอบงานไว้ในอ้อมกอดเพียงคนเดียวเพียงเพราะคิดว่ากลัวคนอื่นทำได้ไม่ดี  มีเพียงตนเท่านั้นที่สามารถทำงานนี้ได้  ฝึกคิดเชิงบวก หาเวลาพักผ่อนคลายเครียดกับครอบครัวบ้าง เพื่อนบ้าง  ประมาณนี้    สำหรับองค์กรนั้นหากเกิดภาวะ Burn-out ขึ้นมา คงไม่สนุกแน่ ที่คนองค์กรเต็มไปด้วยคน Burn-out ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ หมั่นประเมินองค์กร กับภาวะนี้ มีนโยบาล หรือ กิจกรรมที่จะส่งเสริมและสร้างขวัญกำลำใจในการทำงาน อีกทั้งการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาล ย่อมทำให้องค์กร รอดพ้นจาก องค์กร Burn-out อย่างแน่นอน 

 

ด้วยความห่วงใย

ชลัญธร  ตรียมณีรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

หมายเลขบันทึก: 645080เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2018 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2018 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อย่าเพิ่งหมดไฟ

คนสูงวัยยังมีไฟ พลังไฮเพาเวอร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท