งานวิจัย : การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนดงรักวิทยา


ชื่อเรื่อง :  การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนดงรักวิทยา

ชื่อผู้วิจัย : นายสุพจน์  ดำริห์  ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนดงรักวิทยา

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนดงรักวิทยา 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนดงรักวิทยา โดย 2.1) ประเมินสมรรถภาพการนิเทศของครูผู้ทำหน้าที่นิเทศ 2.2) ประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศ 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้ทำหน้าที่นิเทศและครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ 2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู 2.5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทำหน้าที่นิเทศ จำนวน 16 คน ครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 17 คน และนักเรียน จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร เกี่ยวกับ นโยบาย เป้าหมาย หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับสมรรถภาพนิเทศการศึกษาและสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพความจริงที่ปรากฏจากความต้องการ ข้อมูลเชิงนโยบายและผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ด้านการนิเทศภายในโรงเรียน การพัฒนาครู และสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 3) แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของร่างต้นแบบการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครู ซีไอพีไออี (CIPIE Model) 4) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ 5) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 6) แบบประเมินสมรรถนะในการนิเทศ 7) แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการนิเทศ 8) แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ 9) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 10) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ 11) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศ 12) ประเด็นสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนดงรักวิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปเชิงพรรณนา และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา            

ผลการวิจัย พบว่า

             1. รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนดงรักวิทยา ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า“CIPIE Model” ประกอบด้วย หลักการ คือ เน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สำคัญที่ต้องพัฒนาของครู วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพ ในการนิเทศและสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู กระบวนการนิเทศ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการคัดกรองโดยการประเมินสมรรถนะของครู (Classifying : C) 2) ขั้นให้ความรู้ก่อนการดำเนินการนิเทศ (Informing: I) 3) ขั้นการวางแผนการนิเทศ (Planning: P) 4) ขั้นปฏิบัติการนิเทศ (Implementing: I) 5) ขั้นการประเมินผลการนิเทศ (Evaluating: E) 

             2. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาการ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พบว่า ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 มีความเหมาะสม สอดคล้องและมีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี และมีประสิทธิภาพ           3. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ ของรูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัด การเรียนรู้ สำหรับครูไปใช้ในโรงเรียน พบว่า ครูผู้ทำหน้าที่นิเทศ มีสมรรถภาพการนิเทศ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้รับการนิเทศ มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สำหรับครู หลังการใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ ครูผู้ทำหน้าที่นิเทศและครูผู้รับนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ อยู่ในระดับสูง และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับสูงและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 645034เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2018 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2018 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท