โมเดลธุรกิจครอบครัว: กรณี Mae Sot SEZ


"รูปแบบการยกระดับมูลค่าเพิ่มในการแข่งขันของธุรกิจครอบครัวภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอด"

การทำวิจัยถ้าไปให้สุดทาง ก็คือ การไปยืนยันผล กับ ผู้ประกอบการที่เป็นหน่วยวิจัย และ ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผลการวิจัยตรงตามสภาพเชิงประจักษ์ไหม

อีกส่วนที่สำคัญมาก คือ ผลที่ได้เป็นองค์ความรู้ ซึ่งผู้วิจัยและทีมสามารถสังเคราะห์และจัดรูปแบบองค์ความรู้ ได้ดีกว่า และยังไม่มีใครได้ค้นพบจากคณะวิจัยกลุ่มอื่นๆ ที่ได้ทำมาก่อนหน้านี้

คุณค่าสูงสุดคือ การนำผลการวิจัย ไปใช้ ในการพัฒนาธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจครอบครัว ในอำเภอแม่สอด จ.ตาก

แต่ที่ผู้เขียนได้มากๆ คือ โมเดลธุรกิจครอบครัว (4 Dimensional Model of Family Business ) ผู้เขียนเรียกว่า 4DFOBE (FOBE: F-Family , O-Ownership, B-Business, E-Entrepreneurship ) ได้ยืนยันผลการวิจัยที่ ผู้เขียนทำมาก่อนหน้านี้ว่า ธุรกิจครอบครัวไทย ใช้โมเดล 3 วง ไม่ฟิตกับบริบทของประเทศไทย ต้องเป็น 4DFOBE

คาดหวังไกล ๆ คือ 4DFOBE สามารถพัฒนาให้เป็น "โมเดลต้นแบบ (Prototype Model)" ที่ใช้พัฒนาธุรกิจในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ได้ หากมีการนำไปทำ "วิจัยเชิงนโยบาย (Research Policy)" ขยายไปสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอื่น (10 SEZs) ซึ่งจะได้เป็นรูปแบบที่ เป็น "Generalization" อันนี้คงต้องหาแหล่งทุนสนับสนุน ต่อไปในอนาคต

หมายเลขบันทึก: 644996เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2018 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2018 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท