ชีวิตที่พอเพียง 3115. ภาคีเครือข่ายการทำเพื่อผู้อื่น



วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๑มีการประชุมกรรมการมูลนิธิพูนพลัง   ซึ่งตามปกติประชุมกันทุกๆ ๒ – ๓ เดือน   เพื่อหารือกันเรื่องกิจกรรมของมูลนิธิ   

ปี ๒๕๖๐ มีการสนับสนุนเงิน๑๐๐,๐๐๐ บาทสร้างห้องน้ำแก่ บ้านแห่งความหวัง (เดิมชื่อบ้านพักกาสะลอง)มูลนิธิเกื้อกูล (เดิมชื่อมูลนิธิไทยลาหู่)ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่   ซึ่งเป็นสถานที่อุปการะที่พักพิงและเรียนหนังสือแก่เด็กชาวเขา   ได้รับฟังเรื่องราว ดูรูป และอ่านจดหมายขอบคุณจากเด็กๆ แล้วผมเกิดความรู้สึกว่ามูลนิธิเกื้อกูลกับมูลนิธิพูนพลังเป็นเครือข่ายการทำเพื่อผู้อื่น 

ผมตีความว่าเป้าหมายหลักของมูลนิธิพูนพลังคือการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพคน    เป็นภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคมที่แบ่งเวลา ทรัพยากร และสมรรถนะส่วนหนึ่งในการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม แก่ผู้อื่น  เน้นที่การช่วยให้เด็กและเยาวชนด้อยโอกาสได้มีโอกาสชีวิตที่ดีขึ้น

เราคุยกันว่ารัฐบาลกำลังจะจัดให้มีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา () ซึ่งหากรัฐบาลเดินหน้าแจกเงินแก่นักเรียนยากจน   มูลนิธิพูนพลังจะต้องเป็นเป้าหมายการทำงาน(เปลี่ยน businessmodel)   ซึ่งผมเสนอให้คิดถึงการไปสนับสนุนให้กลไกในพื้นที่ดำเนินการพัฒนาพื้นที่สองในสาม สำหรับพัฒนา ผลลัพธ์การเรียนรู้ (๒)  ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่    

เนื่องจากเวลานี้มูลนิธิพูนพลังให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนสายอาชีวะ  ซึ่งยังอายุน้อย และบ่อยครั้งมีสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เปราะบาง   ต้องการคนแนะนำปัญาชีวิต    เราจึงคุยกันเรื่องวิธีจัดให้มี peer mentoring แก่ผู้รับทุนระดับอาชีวศึกษา   เราคุยกันเรื่องอาสาสมัครเยี่ยมน้อง  

เอามาเล่า เพื่อบอกว่าในกระแสสังคมตัวใครตัวมัน และมุ่งผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลักนั้น  สังคมไทยยังมีคนเล็กคนน้อยภาคประชาชนที่มุ่งทำเพื่อประโยชน์สังคม  

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ม.ค. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 644945เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2018 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2018 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท