สถาบันประสาท


ความประทับใจจากการไป observing ที่สถาบันประสาทวิทยา ในตอนแรกเลยคือ พี่ๆที่ทำงานรวมไปถึงพี่ๆที่ฝึกงานที่มาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพราะทุกคนให้การต้อนรับและพร้อมจะให้ความรู้และตอบคำถามเราถึงแม้ว่าพื้นที่การทำงานตรงนั้นจะไม่ได้กว้างขวางมาก และแม้จะยุ่งอยู่กับการทำเคสก็ตาม ส่วนตัวคือได้ไปสังเกตการณ์เคสที่ไม่ค่อย progressive เพราะผู้รับบริการยังขาด motivation ในการมาฝึกอยู่ แต่พี่ที่ฝึกก็ใจเย็นมาก และพร้อมจะให้กำลังใจทุกๆครั้งกับผู้รับบริการ ตรงนี้มองเห็นถึงความอดทนของพี่โอที เพราะเคสที่เจอบางเคสนั้น พี่ๆโอทีต้องทำการยืดกล้ามเนื้อให้ผู้รับบริการทุกครั้งพูดคำแนะนำเดิมๆกับผู้รับบริการเหมือนเดิมทุกครั้ง ในเรื่องเดิมๆแต่พี่ๆก็ไม่มีทีท่าว่าจะยอมแพ้กับผู้รับบริการเลย ถึงแม้ว่าผู้รับบริการอาจจะยอมแพ้ไปแล้ว ประทับใจในการวางแผนการให้กิจกรรม การวิเคราะห์กิจกรรมของพี่ๆ เช่น ตอนที่ให้ผู้รับบริการยืดกล้ามเนื้อ แต่มีการเบี่ยงเบนความสนใจโดยให้ใช้ร่างกายอีกส่วนทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด อีกอย่างคือ พี่ๆมีการถามเราก่อนว่าที่พี่ให้ผู้รับบริการทำอย่างนี้นั้นเพื่ออะไรแลพเพราะอะไร เพื่อเป็นการฝึกให้เราวิเคราะห์กิจกรรมไปในตัว และมีการแนะนำเราว่าการเป็นนักโอทีเราต้องวิเคราะห์กิจกรรมให้เป็น ให้เหมาะสมกับผู้รับบริการของเรา และยังปล่อยให้เรา observe ผู้รับบริการแบบตัวต่อตัวทำให้เราเองได้มีโอกาสได้ให้กำลังใจกับผู้รับบริการในระหว่างการฝึก เพื่อเป็นการเพิ่ม motivation ให้กับผู้รับบริการอีกทาง และเป็นการได้เห็นมุมมองและความคิดเกี่ยวกับตัวของผู้รับบริการเอง ว่าเป้าหมายของเขาตอนนี้เขาอยากจะไปทำอะไร นี่เป็นการสะท้อนให้เราเห็นว่าถ้าเราเป็นพี่โอทีเราจะวางแผนการให้บริการเขาอย่างไรบ้าง และตอนนี้เราทำอะไรให้เขาได้บ้าง เรายังขาดความรู้ตรงส่วนไหนบ้าง เราต้องทบทวนเพิ่มเติมตรงไหนบ้าง และถ้าเราเจอผู้รับบริการที่ไม่มี motivation ใดๆเลยเราจะทำอย่างไร เปรียบเสมือนห้องเรียนชีวิตจริง 

สิ่งที่ประทับใจอีกอย่างคือ เมื่อฝึกเคสทุกเคสเสร็จ พี่ๆก็ได้เปิดให้ถามคำถาม และยังได้ให้คำแนะนำต่างๆเพิ่มเติมมาด้วย อีกทั้งยังให้หนังสือคู่มือสำหรับผู้ป่วย stroke ชอบทั้งลักษณะการทำงาน และบรรยากาศการทำงาน รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ที่รู้สึกได้คือเหมือนไม่ใช่รุ่นพี่กับรุ่นน้องแต่บรรยากาศเหมือนเป็นพี่น้องที่เป็นครอบครัวเดียวกัน และส่งผลให้ผู้รับบริการรู้สึกเช่นนั้นด้วย ทำให้ไม่อึดอัดหรือเกร็งเวลามาฝึก

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 644943เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2018 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2018 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท