ชีวิตที่พอเพียง : 2991 ขบวนการ 2/3 ร่วมฟูมฟักพัฒนาเยาวชนของชาติ


ผมลองทดสอบแนวคิด “ขบวนการ 2/3” เพื่อร่วมฟูมฟักพัฒนาเยาวชนของชาติ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ในการประชุม “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และยกระดับความรู้ เรื่องการพัฒนาพลเมืองเยาวชน” ของมูลนิธิ สยามกัมมาจล    และพบว่า แนวคิดนี้ได้รับการบอมรับอย่างดีและมีพลัง    ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นการนำเสนอ ในกลุ่ม “คนคอเดียวกัน” ก็เป็นได้  


แนวคิดนี้มาจากการอ่านหนังสือ Finnish Lessons 2.0 ที่เขียนโดย Pasi Sahlberg อย่างพินิจพิเคราะห์

อาศัยหลักฐานสองชิ้นในหนังสือเล่มนี้ คือ

  • โรงเรียนส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของเพียงหนึ่งในสามของผลสัมฤทธิ์ทั้งหมด   สาระอยู่ใน หนังสือฉบับแปล ปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์หน้า ๒๖๗ - ๒๖๘   โดยผมขอคัดลอกมาส่วนหนึ่งดังนี้    นับตั้งแต่รายงานของโคลแมนออกเผยแพร่ในปี 1996  ก็มีผลการศึกษาวิจัยจำนวนหนึ่ง ช่วยยืนยันข้อสรุปที่ว่า ความผันแปรของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนส่วนใหญ่ล้วนเกิดขึ้น จากเหตุปัจจัยภายนอกโรงเรียน เช่น การศึกษาและอาชีพของพ่อแม่ อิทธิพลจากเพื่อน และคุณลักษณะของนักเรียนแต่ละคน   ต่อมาอีกราว ๕๐ ปีให้หลัง    งานวิจัยที่ศึกษา สาเหตุที่จะช่วยอธิบายคะแนนสอบของนักเรียน ก็ให้ข้อสรุปว่า  ความผันแปรของ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนมีเพียง ๑๐ - ๒๐ เปอร์เซนต์เท่านั้นที่เกิดจากปัจจัยในห้องเรียน ซึ่งก็คือครูและการสอนของครู   ส่วนปัจจัยภายในโรงเรียน ได้แก่ บรรยากาศภายใน โรงเรียน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และภาวะผู้นำ ก็ส่งผลให้เกิดความผันแปร ในตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน   อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า  สองในสามของตัวแปรที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน อยู่เหนือความควบคุมของโรงเรียน
  • ผลสัมฤทธิ์อีกสองในสาม มาจากกิจกรรมของ “ภาคส่วนที่สาม”  ซึ่งผมตั้งชื่อว่า “ขบวนการ 2/3”  แต่น่าเสียดายที่สาระส่วนนี้ซ่อนอยู่ในหัวข้อ สอนน้อย เรียนรู้มาก    เป็นส่วน ขยายความว่า เมื่อโรงเรียนเลิกชั้นเรียนตอนบ่ายสองโมง แล้วหลังจากนั้นเด็กนักเรียน ไปทำอะไร    ผมขอคัดลอกข้อความ ในหนังสือ หน้า ๑๙๔ -  ๑๙๕ ดังต่อไปนี้


นักเรียนฟินแลนด์ใช้เวลาเรียนที่โรงเรียนในแต่ละวันน้อยกว่านักเรียนในอีกหลายประเทศ  ถ้าเช่นนั้น  หลังเลิกเรียน เด็กๆ ไปทำอะไรกัน?   โดยหลักการ นักเรียนสามารถกลับบ้านได้ ในตอนบ่าย   เว้นแต่โรงเรียนจะจัดกิจกรรมอะไรให้ทำ    โรงเรียนประถมศึกษาต้องจัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนสำหรับเด็กเล็ก   และโรงเรียน ก็ควรมีชมรมทางวิชาการหรือสันทนาการให้นักเรียนชั้นที่โตกว่า   สมาคมเยาวชน และสมาคมกีฬาหลายแห่งของฟินแลนด์มีส่วนสำคัญมากในการหยิบยื่นโอกาส ให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในองค์รวม    สองในสามของนักเรียนอายุ ๑๐ ถึง ๑๔ ปี   และนักเรียนอายุ ๑๕ ถึง ๑๙ ปีเกินกว่าครึ่ง สังกัดอยู่กับสมาคมเยาวชนหรือสมาคมกีฬาอย่างน้อยหนึ่งสมาคม   เครือข่ายของสมาคม ที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐเหล่านี้เรียกว่า ภาคส่วนที่สาม (Third Sector)   พวกเขามีส่วนอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมและพัฒนาการ เฉพาะบุคคลของเยาวชนฟินน์  และนับว่ามีคุณูปการอย่างสูงต่องานด้านการศึกษา ของโรงเรียนฟินแลนด์ด้วย”

 

ผมชี้ให้ผู้เข้าร่วมประชุมเรื่องการพัฒนาพลเมืองเยาวชนเห็นว่า ที่มูลนิธิสยามกัมมาจลร่วมงานนี้ กับภาคีมา ๘ ปี เป็นหน่ออ่อนของการพัฒนา “ขบวนการ 2/3” ที่จะเข้าไปร่วมกัน สร้างระบบ 2/3    และหากประเทศไทยไม่พัฒนาระบบ 2/3 นี้ให้เข้มแข็ง    คุณภาพของเยาวชนไทยจะตกต่ำ    คุณภาพของพลเมืองไทยก็จะต่ำ    ประเทศไทยจะไม่มีทางบรรลุ Thailand 4.0 ได้

วิจารณ์ พานิช

๑๙ ก.ค. ๖๐

 

หมายเลขบันทึก: 635072เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2017 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ธันวาคม 2019 07:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Are you saying we must develop/improve our 'society' so that our children have 'good environment' (out-of-school) to learn from? Cleaning society is not easy. We will need 'role models', strong stand against corruption and inequality, deep learning,... -- a convoluting loop.

Can we build a 'bootstrap' model that uses feedbacks to steer education systems?

คุณ sr ครับ

กรุณาอธิบาย bootstrap model feedback loop ในทางปฏิบัติได้ไหมครับ

ขอบพระคุณครับ

วิจารณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท