๒๐. โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสมุทรปราการ


คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร

             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงมีพระราชดำริและได้พระราชทานแนวคิดแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ให้กับปวงชนชาวไทย เพื่อเปลี่ยนการดำเนินชีวิต....

            ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน ระดับองค์กร ระดับรัฐ ให้รอดพ้นจากวิกฤตและดำเนินอยู่ในสังคมได้อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

            ได้มีการนำแนวพระราชดำริต่างๆ มาจัดทำเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อันมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

            โดยเฉพาะการพัฒนาชนบท ตามแนวพระราชดำริที่เป็นต้นแบบของการนำแนวคิดและวิธีการพัฒนาชนบทอย่างครบวงจร หรือที่เรียกว่า “บริการรวมที่จุดเดียว”

            เพื่อยกระดับชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ยากไร้ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

            โดยเน้นการพัฒนาด้านแหล่งน้ำการเกษตร สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริที่สำคัญ และได้ทรงดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นต้นมา..

            ผมมีโอกาสไปเที่ยวชมและศึกษาเรียนรู้โครงการพระราชดำริ ในส่วนภูมิภาคมาบ้างแล้ว ครั้งนี้ขอศึกษาใกล้ๆกรุงเทพฯ แถบชานเมืองแถวพระประแดง ขับรถขึ้นทางด่วนไปไม่นานก็ถึงที่หมายแล้ว....

            ผมมุ่งมั่นตั้งใจมานานมาก..ว่าสักวัน..ต้องไปให้ถึงโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสมุทรปราการ

            และแล้ววันนี้ก็มาถึง..ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพของพระองค์ท่าน..อย่างหาที่สุดมิได้

            คลองลัดโพธิ์ เป็นชื่อคลองเดิม บริเวณตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เดิมมีลักษณะตื้นเขิน ต่อมาได้จัดสร้างเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ เป็นการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร  

            โดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ำ" ภายใต้การดูแลของหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงานคือ กรชลประทาน กรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  

             มีหลักการคือ จากสภาพของแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมที่มีลักษณะไหลวนคดเคี้ยวบริเวณรอบพื้นที่บริเวณบางกระเจ้านั้นมีความยาวถึง 18 กิโลเมตร นั้นทำให้การระบายน้ำที่ท่วมพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครเป็นไปได้ช้า ไม่ทันเวลาน้ำทะเลหนุน

              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดำริให้พัฒนาใช้คลองลัดโพธิ์ ซึ่งเดิมมีความตื้นเขินมีความยาวราว 600 เมตร ให้ใช้ระบายน้ำที่หลากและน้ำที่ท่วมทางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเลทันทีในช่วงก่อนที่น้ำทะเลหนุน และปิดคลองลัดโพธิ์เมื่อน้ำทะเลหนุน เพื่อหน่วงน้ำทะเลไม่ให้ขึ้นลัดเลาะไปตามแนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดโค้งถึง 18 กิโลเมตรก่อน ซึ่งใช้เวลามากจนถึงเวลาน้ำลง ทำให้ไม่สามารถขึ้นไปท่วมตัวเมืองได้

               พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ และทรงเปิดสะพานภูมิพล 1 ภูมิพล 2 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2553 เวลา 16.30 น.      

               นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยประทับเรือพระที่นั่งอังสนา

               วันนี้..ผมเข้าใจแล้วว่า โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ   ช่วยให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลัดลงทะเลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งสามารถช่วยลดระดับน้ำท่วมสูงสุด 5-6 เซนติเมตร และ ลดระยะเวลาน้ำท่วมลงได้ 1-2 วัน

              ท้ายที่สุดนี้..เมื่อผมได้เรียนรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นที่เรียบร้อย ต่อไปนี้..ถ้าจะนึกถึงแนวพระราชดำริในมหานคร”กรุงเทพ.”.ผมจะคิดถึง..”คลองลัดโพธิ์” และ “สะพานภูมิพล”  

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๑๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 644735เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2018 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2018 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท