​สถิติเกี่ยวกับคดีทางปกครอง


มีจำนวนไม่น้อยเป็นคดีที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยตกเป็นผู้ถูกฟ้องคดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อันดับมหาวิทยาลัยของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆมีแต่ทรุดลง [https://www.gotoknow.org/posts/644595] เนื่องจากต้องใช้เวลาไปกับเรื่องคดีในศาลปกครอง และเสียโอกาสในการแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายในระดับสากล

สถิติเกี่ยวกับคดีทางปกครอง

            ผมได้รับ อีเมล์ จาก รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ดังต่อไปนี้  

          ที่เว็บไซต์ของศาลปกครองของไทย [http://www.admincourt.go.th/admincourt/site/] มีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับคดีทางปกครองอยู่มาก ที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ นับตั้งแต่มีการเปิดทำการศาลปกครองในปี พ.ศ. 2543 มาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีคดีรับเข้าทั้งหมด 138,898 คดี มีคดีที่แล้วเสร็จ 116,353 คดี คดีแล้วเสร็จคิดเป็น 83.77% แยกเป็นศาลปกครองระดับต่างๆ ดังนี้

ศาล

คดีรับเข้าทั้งหมด

คดีแล้วเสร็จ

% คดีแล้วเสร็จ

ศาลปกครองสูงสุด

39,992

28,933

72.35

ศาลปกครองกลาง

45,582

40,548

88.96

ศาลปกครองเชียงใหม่

7,006

6,314

90.12

ศาลปกครองสงขลา

6,284

5,817

92.57

ศาลปกครองขอนแก่น

8,726

7,608

87.19

ศาลปกครองนครราชสีมา

7,673

7,017

91.45

ศาลปกครองนครศรีธรรมราช

5,247

4,458

84.96

ศาลปกครองพิษณุโลก

5,248

4,458

91.46

ศาลปกครองระยอง

4,523

3,846

85.03

ศาลปกครองอุดรธานี

2,739

2,164

79.01

ศาลปกครองอุบลราชธานี

4,223

3,560

84.30

ศาลปกครองเพชรบุรี

1,327

1,094

82.44

ศาลปกครองนครสวรรค์

328

194

59.15

 

          หน่วยงานระดับกระทรวงที่ถูกฟ้องคดีปกครองมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1) กระทรวงศึกษาธิการ 2) กระทรวงมหาดไทย 3) หน่วยงานขึ้นตรงนายกรัฐมนตรี/สำนักนายกรัฐมนตรี 4) กระทรวงการคลัง 5) กระทรวงสาธารณสุข 6) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 7) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8) กระทรวงพลังงาน 9) กระทรวงยุติธรรม 10) กระทรวงกลาโหม

          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขั้นสูง คือมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา เฉพาะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ/ในกำกับของรัฐ โดยยังไม่รวมมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปรากฏรายชื่อมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เป็นผู้ถูกฟ้องถึงระดับศาลปกครองสูงสุดมากที่สุด (พร้อมจำนวนคดีที่ถูกฟ้อง) ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561 ดังต่อไปนี้

1 มหาวิทยาลัยมหิดล (166), 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (88), 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (74), 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (68), 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (68), 6 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (65), 7 มหาวิทยาลัยรามคำแหง (61), 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (48), 9 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (36), 10มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (31), 11 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (18), 11 มหาวิทยาลัยนเรศวร (18), 13 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (17), 14 มหาวิทยาลัยศิลปากร (15), 15 มหาวิทยาลัยเทคโนยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (14), 16 สถาบันเทคโนยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (13), 17 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (7), 17 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (7), 17 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (7), 20 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (5) และ 21 มหาวิทยาลัยพะเยา (1) ทั้งนี้ ผู้ที่ฟ้องมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรในสังกัด และคดีจำแนกได้เป็นงานคดีปกครอง/แผนกคดีบริหารงานบุคคล ในลำดับต้นๆ (ยกเว้นกรณีมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ผู้ฟ้องเป็นบริษัทเอกชนและเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง)  นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแรกในส่วนภูมิภาค คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีคดีที่มีชื่อเป็นผู้ถูกฟ้องคดีในศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองขอนแก่น และศาลปกครองสงขลา เป็นจำนวน 108 คดี 518 คดี และ 57 คดี ตามลำดับอีกด้วย

          แม้ว่าในภาพรวมทั้งประเทศ คดีปกครองที่แล้วเสร็จมีกว่า 1 แสนคดี แต่คดีที่ยังไม่แล้วเสร็จหลังจากศาลปกครองรับเรื่องแล้วมากกว่า 2 ปี มีจำนวนไม่น้อยเป็นคดีที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยตกเป็นผู้ถูกฟ้องคดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อันดับมหาวิทยาลัยของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆมีแต่ทรุดลง [https://www.gotoknow.org/posts/644595]  เนื่องจากต้องใช้เวลาไปกับเรื่องคดีในศาลปกครอง และเสียโอกาสในการแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายในระดับสากล จึงเป็นสถานการณ์ที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยแต่ละแห่ง ต้องรีบแสวงหามาตรการป้องกันไม่ให้มีเหตุให้ผู้ใดทำให้องค์กรของตนตกเป็นผู้ถูกฟ้องทางคดีปกครอง มากไปกว่านี้ โดยการตรวจสอบปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้รัดกุม เป็นธรรม และอยู่บนหลักความไม่มีผลย้อนหลังของนิติกรรมทางการปกครอง (Non-retroactivite des actes administrates) กับทั้งติดตามการดำเนินงานของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมอบหมาย ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยครบถ้วนและสุจริต และหากยังมีกรณีที่สถาบันตกเป็นผู้ถูกฟ้องทางคดีปกครองอีก ก็น่าที่จะคำนึงถึงลู่ทางที่จะอำนวยให้ผู้ฟ้องถอนฟ้องได้อย่างเหมาะสมและไม่ขัดกับหลักนิติธรรม ทั้งนี้ ในเรื่องนี้ สภามหาวิทยาลัย/สถาบันแต่ละแห่ง น่าจะได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ที่เป็นตัวแทนของสมาคมนักศึกษา/นิสิตเก่า คณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัย/สถาบัน และสภาอาจารย์/พนักงาน ซึ่งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน โดยตำแหน่งอยู่แล้ว

          ผมจึงขอส่งเรื่องนี้มายังอาจารย์ เพื่อโปรดพิจารณานำลงบล็อกสภามหาวิทยาลัย ตามที่เห็นสมควรต่อไปด้วย จักขอบคุณยิ่ง

          มงคล รายะนาคร

           

 

หมายเลขบันทึก: 644671เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2018 04:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2018 04:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

- หลักความไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังของนิติกรรมทางปกครอง (Le principe de non-retroactivite des actes administratifs) เป็นหนึ่งในสี่หลักกฎหมายทั่วไปที่มีการนำมาใช้ในกฎหมายไทย โปรดดูรายละเอียดใน “หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง” โดยอมร วาณิชวิวัฒน์ ที่

https://thaijustice.files.wordpress.com/2014/08/yutitham11-book2556-year8no2.pdf

- ผู้ที่สนใจเรื่อง “ศาลปกครองกับคดีพิพาทเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย” โดยฤทัย หงส์สิริ โปรดดูหนังสือจัดทำโดยสถาบันคลังสมองแห่งชาติ ได้ที่

http://www.knit.or.th/web/wp-content/uploads/2016/10/KNIT-hongsiri-final.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท