Bata จิดสำนึกธุรกิจครอบครัวที่ดี


ที่มารูปภาพ : https://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DGjaL7tzx8O1tplLCva98LGG5TNp.jpg

                  หากพูดถึงสิ่งจำเป็นในการดำเนินชีวิตเราแล้ว สิ่งแรกที่นึกถึงคงเป็น อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย แต่ถ้ามองให้แคบลงมาการเดินทางไปไหนมาไหน สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างก้คือ รองเท้านั่นเอง เพราะรองเท้าถือเป็นสิ่งจำเป็นเวลาไปไหนมาไหน เพื่อป้องกันเท้าของเราจากการบาดเจ็บต่างๆที่พื้น และรองเท้าที่คนไทยคุ้นเคยกันมานาน หนึ่งในนั้นก็คงจะต้องมีแบรนด์ Bata อยู่ด้วย จากคุณภาพที่ดี ราคาไม่แพง ทำให้หลายคนเลือกใช้รองเท้าแบรนด์นี้ ซึ่งรองเท้า Bata มีขายในไทยตั้งแต่เมื่อ 40 ปีที่แล้ว หากให้เล่าความเป็นมาจริงๆ แล้ว รองเท้า Bata ในช่วงปี 1894 โทมัส บาจา (Thomas Bata) ได้ริเริ่มเปลี่ยนวิธีการผลิตรองเท้าจากการเย็บด้วยมือแบบเดิมคือทำไปทีละคู่ มาเป็นการใช้สายพานในขบวนการผลิตรองเท้า นับเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนโฉมธุรกิจรองเท้าหนังให้กลายมาเป็นการผลิตที่ทันสมัยที่สุดเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อโรงงานผลิตรองเท้าว่า T. & A. Bata Shoe Company ขึ้นในเมืองชลิน ประเทศเชคโกสโลวาเกีย

                จากผลงานการทำรองเท้าที่เลื่องชื่อของ ธุรกิจครอบครัว โรงงานตระกูลบาจา ทำให้สินค้าของเขาสามารถนำออกมาขายทั้งตลาดที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงและตลาดที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกด้วย ในเวลาเพียงไม่ถึง 10 ปี ตระกูลบาจาก็สามารถขยับขยายโรงงานทำรองเท้าของครอบครัวให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ จากยอดการผลิตรองเท้าไม่ต่ำกว่า 2,200 คู่ต่อวัน หรือ ราว ๆ 8 แสนกว่าคู่ต่อปีความสำเร็จในครั้งนี้เป็นผลมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่รู้จักนำเทคโนโลยีเครื่องจักรเข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆแม้กระทั่งในภวะสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจรอบโลกต่างก็หยุดชะงัก, วัตถุดิบหายาก, แรงงานคนขาดแคลน แต่แบรนด์รองเท้าบาจาก็ยังสามารถล่องผ่านคลื่นสงครามมาได้อย่างปลอดภัยดัวยการพัฒนาเทคโนโลยีให้รองเท้าดูทันสมัยมากขึ้น ในปี 1917 ความฮอตฮิตที่สุดของแบรนด์รองเท้าบาจาก็คือความสามารถในการทะยานยอดผลิตรองเท้าไปได้มากกว่า 2 ล้านคู่ต่อปี  

              แบรนด์รองเท้าหนังบาจา ได้เริ่มทำแคมเปญการตลาดด้าน CSR มาตั้งแต่ยุคก่อนสงความโลกครั้งที่ 1  โดยขณะนั้น ที่เมืองชลิน บาจาไม่เพียงแต่สร้างที่พักให้กับคนงานของตนเท่านั้น แต่ยังสร้างทั้งโรงเรียนและโรงพยาบาลขึ้นในบริเวณนั้น เพื่อให้ความสะดวกแก่พนักงาน, ครอบครัวพนักงานและผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น แม้ในช่วงภาวะสงครามที่ข้าวยากหมากแพง แบรนด์บาจาก็ได้บริจาคค่าอาหารให้อีกด้วย หลักการสำคัญอย่างหนึ่งที่ โทมัส บาจา ยึดมั่นในการประกอบธุรกิจก็คือ “การทำธุรกิจนั้นจำเป็นต้องคืนกำไรให้แก่สังคมด้วย เพราะเมื่อไรที่สังคมอยู่ได้ เราก็จะอยู่ได้เช่นกัน” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ความยากจนขัดสนเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ชนิดที่ว่าเศรษษฐกิจตกต่ำเป็นที่สุด โทมัส บาจา จึงจำเป็นต้องพลิกกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมและยังเป็นจุดกำเนิดกลยุทธ์การตลาดสุดคลาสสิค เริ่มจากแบรนด์บาจาตัดสินใจลดราคาสินค้าลงมากสุดถึง 50% ควบคู่ไปกับการเจรจาตกลงกับพนักงานบริษัทว่าจะลดค่าจ้างลง 40% แลกกับการที่บริษัทจะจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร และเสื้อผ้าตลอดจนเครื่องนุ่งห่มที่จำเป็น ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ทุกคนรอดจากวิกฤตการณ์ครั้งนั้นไปด้วยกัน กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย, การจำกัดต้นทุนการผลิตควบคู่ไปกับการสื่อสารภายในองค์กรถูกนำมาใช้ได้อย่างลงตัวผ่านความชัดเจน ส่งผลให้แบรนด์บาจาสามารถฝ่าคลื่นสงครามมาได้และประสบความสำเร็จอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับได้ใจทั้งผู้บริโภคและพนักงานไปแบบเต็ม ๆ

ที่มา : https://moneyhub.in.th/article...

หมายเลขบันทึก: 644208เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2018 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2018 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท