จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สูตรขยาย


การขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนผสม

1. หัวเชื้อจุลินทรีย์

2. หอมแดง 2 หัว

3. ไข่ไก่ เอาเฉพาะไข่ขาว 1 ฟอง

4. น้ำส้มสายชูปริมาณเท่ากับไข่ขาว

5. เปลือกไข่

6. เกลือ 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1. เตรียมอาหาร

   1.1 ตำ บด หรือ ปั่น => เปลือกไข่ ให้ละเอียด (ถ้ามีเวลาและมีเปลือกไข่เยอะก็สามารถที่จะทำให้ละเอียดแล้วเก็บเป็นผงไว้ใช้ได้นานเลยครับ)

   1.2 ผสม น้ำส้มสายชูครึ่งส่วน กับ เปลือกไข่ ทิ้งไว้ 5-10 นาทีให้ทำปฏิกิริยากันเพื่อดึงแคลเซียมคาร์บอเนท ออกมา / ผสมน้ำส้มสายชูส่วนที่เหลือกับไข่ขาวแล้วคนให้เข้ากัน

   1.3 ตำ บด หรือ ปั่น => หอมแดงกับเกลือ ให้ละเอียด

   1.4 ผสม 1.1 กับ 1.2 และ 1.3 เข้าด้วยกัน

2. ขยาย

   2.1 น้ำขวด

        2.1.1 เทน้ำออกจากขวดให้เหลือ 75-80% ของขวด (ผมใช้น้ำขวดที่ซื้อมาเลย ขี้เกียจลวกขวดเก่า)

        2.1.2 ใส่อาหารลงไป 2 ช้อนโต๊ะ และเขย่าให้เข้ากัน

        2.1.3 เติมหัวเชื้อเข้มข้นให้เต็มขวด เขย่าอีกครั้ง แล้วปิดฝาขวด

    2.2 น้ำประปา

        2.2.1 เอาน้ำผสมทรายเทลงขวดแล้วเขย่า จากนั้นล้างขวดให้สะอาดตากแดดให้แห้งก็สามารถนำมาใช้ใหม่โดยไม่ต้องลวกน้ำร้อน หรือ ลวกขวดด้วยน้ำร้อน เขย่าแล้วเทน้ำร้อนออกและให้เปิดฝาขวดทิ้งไว้

        2.2.2 ใส่อาหารลงไป 2 ช้อนโต๊ะ

        2.2.3 เติมหัวเชื้อเข้มข้นให้มีปริมาณ 20-25% ของความจุ

        2.2.4 เปิดน้ำจากก๊อกน้ำประปาโดยตรง (ห้ามต่อสายยางเนื่องจากในสายยางอาจจะมีเชื้อตัวอื่นที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อ) ใส่ในขวดให้เต็มแล้วปิดฝาขวด

3. เลี้ยง

   3.1 ช่วง 3 วันแรกให้เขย่าขวดวันละครั้ง

   3.2 ครบ 7 วันพร้อมใช้แต่ถ้ายังไม่ใช้ก็ให้เติมอาหารเพิ่ม 1 ช้อนชา

   3.3 ประมาณ 1 เดือนถ้าสียังไม่เข้มหรือยังไม่ใช้ก็ให้เติมอาหารเพิ่ม 1 ช้อนชาสามารถเก็บไว้ใช้ได้เป็นปี (ให้อาหารเพิ่มทุก 2-3 เดือน)

คุณสมบัติของอาหารเลี้ยงเชื้อ

1. ไข่ขาว = โปรตีน (กรดอมิโน ไลซีน)

2. เปลือกไข่ = แคลเซียมคาร์บอเนท เมื่อผสมกับน้ำส้มสายชูจะให้สารประกอบคาร์บอน / เปลือกไข่สีแดงคือเบต้าแคโรทีน

3. น้ำส้มสายชู = ช่วยย่อยโปรตีนให้เป็น กรดอมีโน (ไนโตรเจน)

4. เกลือ = กันเชื้อตัวอื่นเนื่องจากจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตในน้ำเค็มได้

5. หอมแดง = ซัลเฟอร์เพื่อให้จุลินทรีย์นำไปใช้ในการแลกเปลี่ยนอิเล็คตรอน

อาหารเลี้ยงเชื้อชุดนี้จะได้จุลินทรีย์สีน้ำทับทิม

*** จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไม่ได้กินซัลเฟอร์เป็นอาหารแต่นำซัลเฟอร์ ( ที่มีผลกระทบต่อการขยายและการหาอาหารรากพืช) ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนอิเล็คตรอนและทำให้ซัลเฟอร์กลายเป็นซัลไฟเมื่อไปจับกับโลหะก็จะกลายเป็นอาหารให้กับพืช ดังนั้นเมื่อซัลเฟอร์ถูกนำไปใช้ก็จะทำให้รากพืชสามารถแผ่ขยายและหาอาหารไ้ด้เต็มที่ แต่ก็ต้องมองถึงความสัมพันธ์ระหว่างรากพืชกับอาหารพืชดังนี้

1. ถึงแม้จะมีอาหารอยู่มากรากพืชไม่สามารถจะกินอาหารได้เต็มที่พืชก็โตไม่เต็มที่

2. ถึงแม้รากพืชจะสามารถจะกินอาหารได้เต็มที่แต่อาหารมีไม่พอพืชก็โตได้ไม่เต็มที่

ฉะนั้นและฉะนี้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจึงไม่ใช่พระเอกที่มาคนเดียวจบ แต่ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆเข้ามาช่วยเพื่อให้ทุกอย่างสมบูรณ์มากที่สุดตามธรรมชาติ

อ้างอิงมาจาก ข้อมูลอาจารย์วินัย ยิ้มแย้ม

หมายเลขบันทึก: 644106เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2018 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2018 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท