แนวทาง 5 ประการในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (The Five Learning Disciplines)


Peter Senge ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ด้วยกรอบความรู้ 5 สาขา วิชาการ ที่เรียกว่า The five disciplines ซึ่งจะเป็นแนวทางหลักในการสร้างองค์การการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น The five disciplines หรือแนวทางสำคัญ 5 ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์การแห่งการเรียนรู้ขึ้นประกอบด้วย
1. การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery) คือ ลักษณะการเรียนรู้ของคนในองค์การซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ขององค์การได้สมาชิกขององค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น จะมีลักษณะสนใจและใฝ่หาที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้เพื่อเพิ่ม ศักยภาพ ของตน มุ่งสู่จุดหมาย และความสำเร็จที่ได้กำหนดไว้ 2. ความมีสติ (Mental Model) คือ แบบแผนทางจิตสำนึกของคนในองค์การซึ่งจะต้องสะท้อนถึงพฤติกรรมของคนในองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ สมาชิกในองค์การมีแบบแผนทางจิตสำนึกหรือความมีสติที่เอื้อต่อการสะท้อนภาพที่ถูกต้องชัดเจน และมีการจำแนกแยกแยะโดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุงความถูกต้องในการมองโลกและปรกกฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรวมทั้งการทำความเข้าใจในวิธีการที่จะสร้างความกระจ่างชัด เพื่อการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องหรือมีวิธีการที่จะตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏอยู่ได้อย่างเหมาะสม มี Mental Ability ไม่ผันแปรเรรวนหรือท้อถอยเมื่อเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ซึ่งการที่จะปรับ Mental model ของคนในองค์การให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องอาจจะใช้หลักกการของศาสนาพุทธ ในการฝึกสติรักษาศีล และดำรงตนอยู่ในธรรมะ 3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ (Shared Vision) คือ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนทั้งองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้จะต้องเป็นองค์การที่สมาชิกทุกคนได้รับการ พัฒนาวิสัยทัศน์ของตนให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์รวมขององค์การซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการรวมพลังของสมาชิกที่มีความคาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าต่อไป ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกันของคนทั้งองค์การ 4. การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning ) คือ การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในองค์การโดยอาศัยความรู้และความคิดของมวลสมาชิกในการแลกเปลี่ยน และพัฒนาความฉลาดรอบรู้และความสามารถของทีมให้บังเกิดผลยิ่งขึ้น เรียกว่า การอาศัยความสามารถของสมาชิกแต่ละบุคคล องค์การแห่งการเรียนรู้จะเกิดได้เมื่อมีการรวมพลังของกลุ่มต่าง ๆ ภายในองค์การเป็นการรวมตัวของทีมงานที่มีประสิทธิภาพ สูงซึ่งเกิดจากการที่สมาชิกในทีมมีการเรียนรู้ร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ 5. ระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking) คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการในการหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเห็นแบบแผน เห็นขั้นตอนของการพัฒนา คือ เห็นทั้งป่า และเห็นต้นไม้แต่ละต้นด้วย (See Wholes instead of part, See the forest and the trees)
คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 64410เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
Leaning OrganiZation เป็นสิ่งที่ทุกองค์รณ์ปรารถนา ครับ

ผู้คนสามารถเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ที่สูงส่งขององค์กรได้อย่างเต็มหัวจิตหัวใจ ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถเห็นแนวทางที่วิสัยทัศน์นั้นถูกดำเนินไปอย่างแนวเดียวกันกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเอาใจใส่โดยส่วนตัวอย่างลุ่มลึกและอย่างรู้สึกในแรงปรารถนานั้นอย่างเต็มที่

สำหรับองค์กรต่างๆ “ความเป็นเลิศส่วนบุคคล” (Personal Mastery) ไม่ใช่เพียงเรื่องเฉพาะบุคคล แต่เป็นเรื่องของภาวะความเป็นผู้นำด้วย การที่ช่วยให้พนักงานได้ค้นหาว่าจุดประสงค์ของตนมีความหมายอย่างไร และช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนให้แต่ละคนฝึกฝน “ความเป็นเลิศส่วนบุคคล” ได้ ผู้นำจะสามารถทำให้จุดประสงค์ขององค์กรและของพนักงาน ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันได้อย่างเข้มแข็ง

...อ่านมาจากนิทานการเรียนรู้ เรื่อง The Lemming Dilemma : สภาวะลำบากของหนูเลมมิงจ์

...ได้มาจากงานสัปดาห์หนังสือวันนี้เองค่ะ  มีอีก 4 เล่มเกี่ยวกับอีก 4 วินัย  ...แล้วจะนำมาแบ่งปันกันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท