สังคมศาสตร์ไทย 3



        นักวิจัยทางสังคมศาสตร์จากคอร์เนลล์ผู้เชี่ยวชาญเมืองจีนคือสกินเนอร์ ( G.William  Skinner  ) เมื่อจีนเปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์  เขาจึงหันมาศึกษาคนจีนในเมืองไทย  ผลงานที่โด่งดังมากชื่อ Chinese  Society  in  Thailand  คือท่านมองสังคมรวมตัวกันเพื่อปรับตัว  มีมุมคิดแบบ Instrumentalism  ท่านค้นพบว่าลูกชายคนจีน 2 คน คน 1 ดำรงตนตามแบบจีน  อีกคนเปลี่ยนเป็นไทย  เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  ความเป็นชาติพันธุ์ไม่ได้มาจากชาติกำเนิด  แต่มาจากการปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคมที่ตนเองอยู่  การเป็นจีนหรือไทยก็เป็นเพียงเครื่องมือหรือบทบาทไม่ผูกติดอยู่ที่ชาติกำเนิด  เมื่อเป็นแค่บทบาทก็สามารถปรับเปลี่ยนไปตามบทบาทเงื่อนไขที่ตนใช้ชีวิตอยู่  นี่คือสังคมศาสตร์ทำให้เรามองโลกได้หลายแบบ ถ้ามองแค่ 2 แบบก็เป็นดังนี้ 1. Essentialism คือแบบพวกมีมุมคิดแก่นสารนิยม / ตายตัว  2.  Instrumentalism  คือแบบพวกมีมุมคิดปรับเปลี่ยนได้

        มีคนไทยเป็นลูกศิษย์สกินเนอร์คือ ร้อยตำรวจเอก  รศ. ดร. มรว. อคิน  รพีพัฒน์  ท่านเขียนหนังสือชื่อ  สังคมไทยยุคต้นรัตนโกสินทร์  โดยเอาโครงสร้างหลวม + Instrumentalism  คือมองสังคมไทยว่ามีความยืดหยุ่นด้วยระบบอุปถัมภ์เพื่อปรับตัว  จับกลุ่มช่วงชิงอำนาจ

        ต่อมา  เจคอบส์  ( Norman  Jacobs ) มาเป็นอาจารย์ที่ นิด้า เมื่อ พ.ศ. 2507  เขาเขียนหนังสือชื่อ ประเทศไทยทันสมัยแต่ไม่พัฒนา  Thailand : Modernization  without  Development   คือเขาวิจารณ์ว่า คนไทยใช้อะไรเหมือนคนตะวันตกหมดแต่ไม่มีเหตุผล  เช่น ขับรถหรู  แต่ฝ่าไฟแดง  คือคนเราจะพัฒนาได้ต้องมีเหตุผลด้วยเหมือนเวเบอร์บอกว่า  คุณทำงานต้องมีเป้าหมายด้วย

แนวคิดของเวเบอร์  เน้น . แนวคิดสำคัญคือ

1.Rationality  คือ  การทำอย่างมีเป้าหมาย

2.Subjectivity  คือ  การคิดให้ความหมาย

เวเบอร์กล่าวว่า  อย่ามองคนแค่เห็นเป็นคนเท่านั้น  เพราะเขาก็คิดเป็น  เช่น  เขาทำการศึกษาคนงานเยอรมัน  คือคนทางตะวันออกไปทำงานฝั่งตะวันตก  เขาไม่เข้าใจเพราะคนทางฝั่งตะวันตกนั้นหาเช้ากินค่ำ  ชีวิตไม่มั่นคง แต่มีความเป็นอิสระทางจิตใจ  คนทางตะวันออกมีชีวิตที่อึดอัดคับแคบ  เหมือนเป็นนางแจ๋วทำงานบ้านอยู่ดีดีอยากไปเป็นฉันทนาในโรงงาน เพียงเพราะมีความอิสระทางจิตใจ

เมื่อเวเบอร์เสนอมุมคิดนี้เป็นคนแรก ศ. ดร. นิธิ  เอียวศรีวงศ์ เอามาใช้  หนังสือโด่งดังคือ ปากไก่และใบเรือ  ต่อมาเกิดเศรษฐศาสตร์การเมือง และตั้งสำนักขึ้นที่ จุฬา ฯ  ดังมีเจ้าสำนักเช่น  อ. ฉัตรทิพย์  นาถสุภา , อ. ปรีชา  เปี่ยมพงศ์สานต์  อยู่ในสายมาร์กซิสต์ ( Marxism  ) ซึ่งมองว่า  สังคมไทยมีความขัดแย้งกันอย่างสูงและเป็นสังคมอำนาจนิยมนั้นเอง

...................................

คำขอบคุณ เก็บมุมคิดนี้จากการฟัง ศ. ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ เมื่อ วันที่ 13 – 14 ม.ค. 2561 ณ ม. ทักษิณ สงขลา.

หมายเลขบันทึก: 644067เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2018 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2018 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท