สังคมศาสตร์ไทย 2



ต่อจากตอนที่แล้ว โครงสร้างหน้าที่คือแต่ละคนล้วนมีบทบาทเป็นของตนเองและทุกคนต้องมีอย่างเดียวกันคือ การจรรโลงไว้ซึ่งการอยู่ร่วมกันในสังคม ต่อมาปี พ.ศ. 2491 มีคณาจารย์สายสังคมศาสตร์จาก Cornell University, U.S.A. มาทำวิจัยศึกษาหมู่บ้านบางชัน เขตมินบุรี กรุงเทพ ฯเป็นทีมแรก มีคนไทยร่วมทีมด้วยคือ ดร. กมล ชาญเลขา


จากการเชื่อมโยงความคิด Conceptualization ได้แนวคิดเกี่ยวกับคนไทยดังนี้
1.คนไทยมีความเป็นปัจเจกชนนิยมสูงมากเพราะรับแนวคิดทางพุทธเรื่องการทำบุญคนใดทำคนนั้นได้บุญ
2.คนไทยไม่ให้ความสำคัญและไม่ผูกพันยึดโยงอยู่กับสถาบันอย่างแนบแน่น คือไม่ค่อยสนใจ Team Work
3.คนไทยมีการเขยิบฐานะทางสังคมสูงมีการเลื่อนสถานภาพทางสังคมอย่างรวดเร็วหรือสูงมาก


ด้วยสังคมไทยมีกลไกสำคัญอยู่ 2 สถาบัน คือ 1.สถาบันสงฆ์ เช่นคนได้ดีมาจากวัดคือเลื่อนสถานภาพทางสังคมได้เร็วผ่านสถาบันสงฆ์นี้ 2.สถาบันอุปถัมภ์หรือเด็กเส้น หลัง พ.ศ. 2510 คนไทยเริ่มไปจบ ป. เอกจากเมืองนอก แต่ก่อนนั้นแค่จบ ป. โทมามีคนเก่งบางคน เช่น อ. พัทยา สายหู , อ. สุเทพ สุนทรเภสัช จบ ป.โทมาจากอังกฤษ มาทำวิจัยได้ตอนหลังท่านไปจบ ป. เอกมาจาก U.S.A. ก็อยู่ในยุค พ.ศ. 2510 ในสายนี้ก่อนหน้านั้นมีคนจบ ป. เอกเพียงคนเดียวคือ ดร. กมล ชาญเลขา 


ในแง่กระแสรองคือ พระยาอนุมานราชธน ( เสถียรโกเศศ ) ท่านทำงานอยู่คณะอักษรศาสตร์ จุฬา ฯ เคยทำงานอยู่กรมเจ้าท่า เป็นนายด่าน มีฝรั่งให้หนังสือ The Golden Bough เป็นความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ของคนในโลกใบนี้ คนเขียนชื่อ เฟรเซอร์ ( James Frazer ) และท่านได้เขียนเลียนแบบนั้นมีผลงานคือ ประเพณีไทยสมัยก่อน ชีวิตคนไทยสมัยก่อน ความเชื่อเรื่องต่าง ๆ มากกว่า 20 เล่ม


 เมื่อชาว U.S.A. และอังกฤษมาไทยเลยได้ท่านช่วยเรื่องไทย ๆ ท่านตั้งชื่อ มานุษยวิทยา ถือว่าเป็นบิดาแห่งมานุษยวิทยาด้วย น่าคิดคือนักวิชาการที่มีอิทธิพลสร้างงานได้มากส่วนใหญ่เป็นพวกลูกผสม และงานเขียนที่ออกมาส่วนมากจะหลังจากปี พ.ศ. 2510 ประมาณราวปี พ.ศ. 2516 มีหนังสือโด่งดังมากชื่อ กลไกทางสังคม ดร. พัทยา สายหู จบมาจากอังกฤษ ท่านเขียนเทียบสังคมคือร่างกาย ถ้าร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้เพราะทุกส่วนของร่างกายทำงานประสานกัน งานเขียนนี้ได้รับอิทธิพลแนวคิดจากดาร์วิน ( Charles Darwin ) จากหนังสือชื่อ On The Origin of Species เขาตายปี ค.ศ. 1809 นั้นเอง.
............................................................................
คำขอบคุณ เก็บมุมคิดนี้จากการฟัง ศ. ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ เมื่อ วันที่ 13 – 14 ม.ค. 2561 ณ ม. ทักษิณ สงขลา.

หมายเลขบันทึก: 644066เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2018 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2018 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท