Regional Workshop on Use of ICT for Community Empowerment through NFE


ICT for Community Empowerment

บันทึกการเดินทาง ประเทศ อินโดนีเซีย
________________________________________
 บันทึกนี้ ได้บันทึกการเดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วม Regional Workshop on Use of ICT for Community Empowerment through NFE ที่เมือง โซโล ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 20 ถึง 24 พฤศจิกายน 2549
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
      วันนี้เป็นวันเดินทาง โดยเครื่องบินจะออกจากอุบล ตอน 3 ทุ่มครึ่ง วันนี้ทั้งวัน จึงเตรียมเรื่องต่างๆ เช่น เตรียมเคื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมเสื้อผ้า กระเป๋าเดินทาง และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำแป็น ตอนประมาณ 4 โมงเย็น ออกไปซื้อของที่ระลึก เป็นกระเป๋าเล็กๆ แล้วกลับมาบรรจุของลงกระเป๋า ปรากฏว่าหนักมาก ต้องเอาของออกหลายอย่าง

เริ่มต้นการเดินทาง
   การเดินทางเริ่มต้น โดยสุเทพขับรถมาส่งที่สนามบิน มีคนไปส่ง 4 คนคือ ละมัย สุเทพ อัมมรา และน้องน้ำ ออกจากบ้านประมาณ 2 ทุ่มครึ่ง ถึงสนามบินเข้า Check in โดยเอากระเป๋าผ่านเครื่องตรวจ และไปที่ Check in Counter เขาออกตั๋วให้ ได้เลขที่นั่ง 36 A ติดหน้าต่าง เข้าห้องพักผู้โดยสาร ปรากฏว่า ผ่านประตูเครื่องตรวจ เสียงดังไปหมด จึงต้องถูกตรวจ ปรากฏว่า ดังทั้งสร้อย เหรียญในกระเป๋า กระเป๋าสตางค์ แว่นตา (จำได้ว่า ตอนก่อนอุปกรณ์เหล่านี้ ผ่านเครื่องตรวจจะไม่ดัง) นั่งรอสักพักใหญ่ ก็เริ่มขึ้นเครื่องที่ Gate 2 เวลาประมาณ 3 ทุ่ม 45
ไม่ได้นั่งเครื่องเสียนานเริ่มต้นแปลกๆกับการนั่งเครื่องอีกแต่วันนี้อากาศปลอดโปร่งมาก ทั้งๆ ที่ตอนบ่ายมีฝนตกลงมาเล็กน้อย ตอนเครื่อง Take Off และไต่เพดาลบิน มองลงมาเห็นตัวเมืองอุบล จำได้แต่ถนนทางออกสนามบิน ต่อจากนั้น ก็จำไม่ได้ว่า ถนนไหนเป็นถนนไหน ต่อไปก็เห็นแต่แสงสว่างอยู่ข้างล่าง ระหว่างการเดินทาง มีของว่างมาบริการ จนผ่านไปเกือบชั่วโมงก็ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เป็นครั้งแรกที่เราจะได้เห็น พอเครื่องลดระดับลง และ ร่อนลงอย่างนุ่มนวล จึงเริ่มเห็นความใหญ่โตสนามบิน มีเครื่องบินจอดเรียงรายเต็มไปหมด เครื่องบินต้องวิ่งไปค่อนข้างไกล ตลอดทางก็เห็นเครื่องบินจอดเต็มไปหมด โดยเฉพาะเครื่องที่ลำใหญ่ๆ ที่เราไม่เคยนั่งมาก่อน พอรถจอดก็มีรถบัส มารับที่บันไดเครื่องบิน พาไปส่งที่อาคารผู้โดยสาร ซึ่งรถวิ่งไปไกลขนานไปกับ Runway และผ่านเครืองบินของการบินไทยที่จอดเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดเวลาก็เห็นเครื่องบิน บินลงบน Runway ตลอดเวลา พอถึงอาคารผู้โดยสาร ได้เหยียบอาคารสนามบินสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก ก็รู้สึกภูมิใจประเทศไทยเป็นอย่างมาก สนามบินใหญ่โตมาก เปรียบเทียบกับที่เราเคยไปมาหลายที่ ไม่ว่าจะเป็น อเมริการ       แคนาดา ฮ่องกง เกาหลี  เดินเข้าไปที่สายพานรับกระเป๋า ไปเอารถเข็ญมาคอยอยู่ครู่ใหญ่ กระเป๋าก็ค่อยๆ ทะยอยมา  ได้กระเป๋าแล้ว เดินไปทางออก ถามเจ้าหน้าที่ว่า ที่ Check In ต่างประเทศอยู่ที่ไหน เขาตอบว่า อยู่ที่ชั้น 4 จึงเข็ญรถออกมา ตอนนี้จึงได้เห็นความใหญ่โตของสนามบินสุวรรณภูมิจริงๆ ใหญ่มากๆๆๆๆ และโอ่อ่า สมเป็น International Airport

เหิรฟ้าสู่ จาการ์ต้า
เริ่มต้นหาที่ Check In โดยเข็ญรถกระเป๋าขึ้นไปชั้น 4 ซึ่งไม่ยากนัก เพราะเป็นทางลาดเอียง พอไปถึง ก็เริ่มไปอ่านป้ายว่า เครื่องที่จะไป Indonesia Flight GA 867 (GIA 867) จะต้องไป Check in ที่ไหน หาจนตาลาย เพราะเยอะมาก และตัวหนังสือมันก็ขึ้นสลับภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ แต่ในที่สุดก็เจอ ว่าอยู่ที่ Zone G เข็ญรถหาอีก ปรากฏว่าหาไม่ยาก เพราะเข้าทำเป็นตัวหนังสือใหญ่ๆ ไว้ ความจริงก็เรียงไว้ ตั้งแต่ A เป็นต้นไป แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ไปสิ้นสุดที่ตัวอะไร และ Zone G ก็อยู่ติดกับป้ายนั่นเอง
เข็ญรถเข้าไปหาที่ Check In แต่ตั้งใจว่าจะหาที่สุชินก่อน เพราะเข้าใจว่า คงมาถึงแล้ว มองหาแป๊บเดียวก็เห็น เพราะยืนอยู่หน้า Counter Check In ของสายการบิน KARUDA กำลัง Check In อยู่ เราก็เข้าไปหาทันที และ Check In ต่อจากพี่สุชิน ได้ที่นั่ง 18E ส่วนพี่สุชิน 18F ซึ่งอยู่ติดหน้าต่าง ทำให้หมดภาระเรื่องกระเป๋า  เขาก็เอา TAX  ตั๋ว มาติดที่ Passport เพื่อไปแสดงตอนรับกระเป๋า (เราลืมเรื่องนี้ไปเลย และไม่ได้นึกถึงว่า เขาติดไว้ทำไม ทำให้มีปัญหาเล็กน้องที่ อินโด ซึ่งจะเล่าให้ฟังต่อไป) ตอน Check In ก็ได้พบกับเพื่อนเดินทางจากประเทศลาว ที่จะไป work shop ด้วยกัน ชื่อ ท่านลำพูน ส่วนอีกท่านหนึ่งท่านไม่ไผ่ ตำแหน่งศึกษาธิการ เมื่องวังเวียง พอเสร็จแล้วก็ไปขอแบบฟอร์ม ของ Immigration เพื่อประทับตราการเข้าออก ประเทศ  นั่งกรอกข้อมูล ที่ไม่รู้ก็ถามพี่สุชิน จนเสร็จ จึงเดินไปแลกเงิน เป็นสกุล US คอลลาร์ จำนวน $100 คิดเป็นเงินไทย 3,688 บาท แล้วจึงไปซื้อตั๋วค่าเข้าสนามบิน ราคา 500 บาท ความจริงเราก็ไม่รู้เรื่องนี้มาก่อนเหมือนกันว่าต้องเสียอะไร และตอนไหน ถ้ามาคนเดียวคงจะเงอะๆงะๆ น่าดู เพราะเขาตั้งเป็น Counter เหมือกับตอนไปซื้อคูปอง  พี่สุชินพาไปซื้อเราก็งงเหมือนกันว่า จ่ายเงินอะไร พอรู้ว่า ค่าเข้าใช้สนามบินเราจึงนึกออก เพราะตอนไปต่างประเทศที่ผ่านๆ มาทุกสนามบิน ก็ต้องจ่าย แต่ตอนก่อนแค่ 200 บาท
เมื่อจ่ายค่าเข้าใช้สนามบินแล้ว ก็เป็นอันว่า เรียบร้อยหนดทุกอย่าง  เข้าไปสู่ห้องพักเพื่อรอการขึ้นเครื่องได้ จึงเข้าสู่ด่าน ตม. (Immigration) มีการตรวจ Passport และแบบฟอร์มที่กรอกไว้ ตอนนี้เราก็เดินตามหลังที่สุดชินตลอด แต่พอดีมีอีกช่องหนึ่งว่าง จึงแยกไปผ่านช่องนั้น ปรากฏว่า เกิดปัญหา ที่กรอกมาน่าจะผิดอะไรสักอย่างเขาให้กรอกใหม่ ตอนนี้เพิ่งรู้ว่าแว่นตาของเราพายุ่งยากจริงๆ เพราะจะเขียนต้องใช้อันหนึ่ง แต่ถ้าใส่อันนี้ ก็มองไกลๆ ไม่เห็น ก็เลยได้ความคิดใหม่ แว่นที่ใช้ดูไกล เอาเก็บใส่กระเป๋าแว่นดูใกล้เอาใส่ซองแว่น ร้อยไว้ที่เข็มขัด เลิกใช้แว่นดูไกล เพราะไม่ต้องใช้แว่นก็พอมองเห็น ตอนนี้ก็ผ่านด่าน ตม เรียบร้อย ถือว่าออกนอกประเทศแล้ว เดินเข้าไปส่วนผู้โดยสารที่จะออกนอกประเทศ สิ่งที่เห็นตื่นตา คือ ประติมากรรม นารายณ์เกษียรสมุทร (เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายภาพไว้ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้เดินทางไปต่างประเทศอีก) เสร็จแล้ว ก็เดินทางตามทางที่สองข้างทางเป็นร้านขายสินค้า Duty Free และตื่นตากับความใหญ่โตของ สุวรรณภูมิ นึกขึ้นได้ว่า โทรไปหาลูกก่อน จึงโทรศัพท์ ไปหาลูกตาล ที่พักอยู่กับต้อมที่กรุงเทพ ซึ่งกำลังจะนอนพอดีบอกว่า พอกำลังจะขึ้นเครื่อง ต่อจากนั้นก็ปิดโทรศัพท์มือถือ และเก็บเข้ากระเป๋า (และปิดไว้ตลอดการเดินทาง และที่อินโดนีเซีย) ตอนนี้นึกขึ้นได้ว่า เราจะเดินไปที่ประตู (Gate) ไหน ควักเอาตั่วมาดู ก็ไม่เห็น จึงถามพี่สุชิน ก็ไดคำตอบว่า  D8 จึงมาสังเกตที่ตั๋วอีกครั้ง ว่าเขียนไว้ที่ไหน จึงพบ เพราะเขาเขียนไว้เป็นภาษาอินโดว่า Pintu แล้วด้านใต้เขียนว่า Gate จึงเดาเอาว่า Pintu แปลว่า ประตู (ความจริงเราเคยรู้มาว่า ภาษาอินโด มาเลย์ หลายๆ อย่างเมือนภาษาไทย เช่น ถนน เขาใช้ JL หรือจรัล คือจราจร)
เดินดูของตามทางเพราะยังมีเวลาก่อนเครื่องขึ้น สักพักจึงไปที่ D8 ของสายการบิน Karuda นั่งรอที่พักรอผู้โดยสาร ระหว่างนี้รองเข้าห้องน้ำสนามบิน ที่เขาบอกว่า ไม่เพียงพอ และคับแคบ ปรากฏว่า จริงตามที่เขาว่า เช่นห้องน้ำชาย ที่โถปัสสาวะ 2 ที่ และห้องนำเล็กๆ อ่างน้ำ 2 อ่าง ปรากฏว่า ใช้ระบบ Sensor คือน้ำจะไหลเองเมื่อเอามือเข้าไปใต้ก๊อกน้ำ แต่ปรากฏว่า มันไม่ทำงาน เห็นฝรั่งคนหนึ่งอารมณ์เสีย โยกก๊อกน้ำ เราก็คิดในใจว่า พังแน่ๆ เสียดายของดีๆ  นั่งรอขึ้นเครื่องอยู่ค่อนข้างนาน ตามเวลา คือ เที่ยงคืน 30 นาที แต่กว่าจะได้ขึ้น ก็เป็นเวลา ตี 1 กว่า ขณะที่นั่งรอ ก็ง่วงนอน จึงคุยกับพี่สุชินถึงเรื่องงานในพื้นที่ ช่วยให้ไม่ง่วงนอน
ก่อนเวลาขึ้นเครื่อง พนักงานมาเก็บฉีกตั๋วโดยสาร แล้วก็รออีกพักหนึ่ง ก็ได้เวลา     เดินออกจากอาคารผ่านงวงช้าง ขึ้นเครื่องซึ่งเราก็แปลกใจว่า ทำไมตรงประตูเข้าด้านหน้า มองเห็นห้องนักบิน เข้าไปจึงรู้ว่า เป็นเครื่องเล็ก เท่ากับของการบินไทยที่มาจากอุบล เป็นแบบ 737 400 มีแถวละ 6 ที่นั่ง พอผู้โดยสารเข้าประจำที่หมด ก็เริ่มได้ยินเสียงพนักงานบนเครื่องเป็นภาษาอินโด และภาษาอังกฤษ แทบจะแยกไม่ออกเลยว่า เขาพูดอังกฤษ หรืออินโด แล้วในที่สุดก็ได้เวลาเดินทาง เครื่องวิ่งไปตามทางวิ่ง เราสังเกตว่า มีเครื่องเข้าคิวที่จะบินกันเป็นแถวต่อกัน เหมือนในสถานีขนส่งไม่มีผิด เวลาเครื่องบินเลี้ยว มองเห็น runway ก็จะเห็น เครื่องบินทยอย Take Off ต่อกัน แล้วก็ได้เวลาบินออกจากกรุงเทพ สู่ จาร์กาตา และก็เป็นช่วงเวลาที่ง่วงนอนมาก แต่ก็ยังนอนไม่ได้ เพราะต้องคอยรับบริการบนเครื่องก่อน คือ บริการหูฟัง เครื่องดื่ม อาหาร วันนี้เราเลือก Chicken Noodle (ก๊วยเตี๋ยวไก่) แต่พอกินแล้วก็ไม่เป็นตากิน ทนกินไปจนหมด ตามด้วยน้ำส้ม ตอนนี้ทำให้นึกถึงอาหารไทย ของสายการบินไทย ทำอร่อยกว่า คนต่างชาติ ติดใจ ต่อจากนั้น พนักงานบนเครื่อง เอาแบบฟอร์มของ ตม. อินโดมาแจก เราก็กรอกโดยลอกพี่สุชินอีกตามเคย แต่เว้นไว้ที่หนึ่งคือ ซื่อโรงแรมที่จะไปพัก เพราะจำไม่ได้ เอกสารอยู่ในกระเป๋า ต่อจากนั้นก็หลับ พักผ่อน แต่ก็หลับๆ ตื่นๆ ตลอด มาเริ่มตื่นอีกที ตอนเครื่องลดเพดานบิน เข้าสู่สนามบินที่จาร์กาต้า ดูนาฬิกา ประมาณ ตี 5 ครึ่ง ได้ยินเสียงพนักงานประกาศ ฟังไม่รู้เรื่องเหมือนเดิม จนเครื่องจอดที่ สนามบินซูการ์โน ฮัตตา กรุงจาร์กาต้า รีบเอากระเป๋าลงมาดูเอกสาร เพื่อกรอกชื่อโรงแรมที่พัก แล้ว เดินเข้าสู่ประเทศอินโด ที่สนามบิน ท้องฟ้าสว่างแล้ว มองไปไกลๆ เห็นหมอกปกคลุมบางๆ เดินไปตามทางไกลเหมือนกัน สังเกตว่า สนามบินเงียบ ไม่ค่อยเห็นคนมากนัก และเมื่อเทียบกับสุวรรณภูมิ มีขนาดต่างกันมาก ก่อนที่จะผ่านด่าน ตม. ที่สุชินให้เราตรวจความเรียบร้อยเอกสารอีกครั้ง เมื่อเรียบร้อย ก็เข้าคิว เราก็บอกพี่สุชินว่า ผมจะเดินตามหลังพี่นะ มีปัญหาอะไร จะได้บอกเข้าว่า มาประชุมที่เดียวกันคนที่อยู่ข้างหน้า  แต่ตอนเข้าคิวจริงๆ เกือบจะถึงเราอยู่แล้ว มีช่องหนึ่งว่าง เราจึงเปลี่ยนไปช่องนั้น แต่ก็นึกในใจว่า เขาจะถามอะไรไหม แล้วเราจะตอบได้ไหม แล้วก็จริงๆ เขาถามว่า ชื่อ VIHOGTO ใช่ไหม จะไปไน ไปทำอะไร ซึ่งก็ดีที่เขาใช้สำเนียงภาษาอังกฤษ ไม่เหมือนบนเครื่องบิน เลยรู้เรื่องและตอบได้ พอบอกว่าไปประชุมของ UNESCO ที่ SOLO ก็จบ ผ่านไปได้
ผ่านเข้ามาในสนามบิน ดูเล็กมากเลย สายพานกระเป๋าเล็กๆ เท่ากับสนามบินอุบล รอกระเป๋าอยู้นาน ความจริงเมื่อเดินเข้ามาถึงก็เห็นกระเป๋าเราทันที แต่รอของพี่สุชินนานมาก เพื่อชาวลาว 2 ท่านก็มารอด้วยกัน พอได้กระเป๋าแล้ว ก็เดินออกจากสนามบิน ตรงนี้แหละที่เคยกล่าวไว้ตอนต้นว่ามีปัญหา เพราะพี่สุชินเดินล่วงหน้าไปแล้ว เราอยู่ข้างหลังเขาตรวดูว่า เป็นกระเป๋าของเราหรือเปล่า โดยขอดู TAX กระเป๋า เราก็นึกไม่ออกว่าอญุ่ที่ไหน (ตอน Check In ที่กรุงเทพ เขาแปะไว้ที่ Passport) หาไม่พบ สุดท้ายจึงลองเอากากตั๋วส่งให้ พอดีมีชื่อเราพอดี เขาก็เลยให้ผ่าน ปัญหาที่เกิดคือนอกจากจะหาไม่เจอแล้ว ยังฟังภาษาอังกฤษแบบอินโดไม่ค่อยรู้เรื่อง พอออกมาได้ ก็หาว่า ถ้าจะไปต่อเครื่องไป Solo  (Transit) อยู่ที่ไหน ไม่มีป้ายบอก      พี่สุชินเข้าไปถาม เขาก็บอกว่า ตรงไปแล้วเลี่ยวขวา ปรากฏว่า ไม่ใช เพราะเป็นทางออกจากสนามบิน ถามเขาอีก ปรากฏว่า เลยไปอีกช่องเดินตรงไปมีลิฟซ่อนอยู่ตรงนั้น ขึ้นไปชั้นบน จะเป็นส่วนผู้โดยสารขาออก ปรากฏว่า เล็กกว่าสุวรรณภูมิจนเทียบกันไม่ได้เลย ขนาดพอๆ กับสนามบินอุบล เวลาเดินเข้าไป ต้องผ่านการตรวจ และเข้าเครื่องเอกเรย์ อีก (ความจริงเขาน่าจะไม่ต้องทำแบบนี้ก็ได้ คือผู้ที่มาจากต่างประเทศแล้วจะต่อเครื่องก็เข้ามาในส่วนนี้เลย โดยไม่ต้องออกไปนอกสนามบิน) และเมื่อเราผ่านเครื่องตรวจ ก็มีเสียงดังอีก เขาก็มาตรวคลำทุกที่จึงผ่าน เพราะดังเพราะสร้อยคอ และ แว่นตา ถึงตอนนี้ก็เดินหาอีก ว่าไปต่อเครื่องในประเทศที่ไหน เพราะในตั๋วก็ไม่ได้บอกว่า Gate ไหน (ถึงตอนนี้ก็มีเรื่องที่เราไม่รู้มาแต่แรกอีก ที่กรุงเทพเขาให้ตั๋วมา 2 ใบ เราก็ไม่ได้สังเกตว่า เป็นตั๋วอะไร เข้าใจแต่ว่า เป็นตั๋ว กรุงเทจ จาร์กาต้า แต่ก็นึกว่า ทำไมมี 2 ใบ พนักงานเขาเอาไปใบหนึ่งเห็นพี่สุชินเก็บใส่กระเป๋า เราก็เก็บบ้าง มาถึงที่จาร์กาต้า จึงรู้ว่าเป็นตั๋วที่ออกจากจาร์กาต้า ไป SOLO มาถึงบางอ้อเอาตอนนี้ เพราะตอนอยู่กรุงเทพตาลายไม่ได้ดูว่าเป็นตั๋วอะไร) ก็เลยไปนั่งพัก พี่สุชิน ไปห้องน้ำ เราเฝ้ากระเป๋า สักพักใหญ่กลับมาโดยมีข้อมูลว่า ตอน 8 โมง จึงจะมีข้อมูลขึ้นที่บอร์ด ว่าไปขึ้นที่ Gate ไหน ก็เลยนั่งรอ และคุยกันไป เพราะเพิ่งจะ 6 โมงกว่าๆ ตรงที่นั่งรอ เป็นร้าน Roty Boys โรตีบอย เห็นคนนิยมกันมาก เข้าคิวยาว และซื้อกันคนละถุงใหญ่ๆ แสดงว่า เหมือนกับร้าน McDonal บ้านเรา
นั่งคอยสักครู่ มีคณะผู้เข้าประชุมจาก อุสเบกิสถานเดินผ่านมา พี่สุชินรู้จัก จึงทักทายกัน และทราบว่า ขึ้นเครื่องที่ Gate 3 จึงเข็ญกระเป๋า ไป Check In ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้องเสียค่าธรรมเนียมสนามบิน โดยต้องไปแลกเป็นเงินรูเปีย คนละ 30,000 จึงเข็นรถไปแลกเงิน โดย 10 US Dolla ได้ 88,000 รูเปีย พี่สุชินแลกมาเผื่อเราเรียบเรียบร้อย พอจะมา Check In อีก เขาบอกว่า ต้องไปใช้พลาสติกสีเหลือง รัดกระเป๋าก่อน ซึ่งมีบริการฟรี พอไปทำเสร็จ มา Check In เขาบอกว่า เราเดินทางมาต่อเครื่องที่นี่ ไม้ต้องเสียค่าสนามบิน ก็เลยเป็นอันว่า แลกเงินมาฟรี พอ Check in หมดภาระเรื่องกระเป๋า ก็เดินมาเข้าห้องพักผู้โดยสาร ผ่านการตรวจเหมือนเช่นสนามบินทั่วๆไป สรุปว่า ต้องผ่านถึง 2 ด่านในสนามบินนี้ และทั้ง 2 แห่ง มีเสียงดัง ต้องตรวจ พอจะผ่านเข้าห้องพักผู้โดยสาร เขาขอตรวจตั๋ว ก็มีปัญหาอีก เขาถามหาตั๋ว ที่มีปัญหาเพราะ เวลา Check In เป็นการ Check กระเป๋ารวมกับพี่สุชิน จึงไม่มีใบสีฟ้าๆ ติดมากับตั๋ว เขาพาเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ข้างใน เห็นเขาอธิบายกันและวงปากกาบนตั๋วอธิบายกัน จับใจความว่า เราจะ Transit คือเดินทางมาจากกรุงเทพ แล้วไปต่อที่ SOLO เจ้าหน้าที่คนแรกจึงให้เราเข้าไป จึงได้เข้าไปนั่งรอในที่พักผู้โดยสาร ที่จะไปเมือง SOLO บริเวณนี้เห็นแล้ว เขาทำดีมาก เหมือนเป็นศาลาหลังใหญ่ๆ มอบเห็นรอบทิศ เห็น Runway สนามบิน นั่งรออยู่นานกว่าเครื่องจะออก สังเกตว่า ไม่ค่อยเห็นเครื่องบินจอดอยู่ และจะเห็นเฉพาะ สายการบิน Karuda สักครู่ เพื่อจากลาว 2 คน ก็เข้ามา พอใกล้เวลาเครื่องออก คนก็มากขึ้นเรื่อยๆ และพบคณะที่จะไปประชุมด้วยกันมากขึ้น ที่พอจำได้คือ คณะจาก อุสเบกิสถาน ที่พบกันแล้ว คณะจากศรีลังกา จาก ACCU จนเวลาประมาณ 9 โมงกว่าๆ ก็ได้ขึ้นเครื่อง แล้วเดินทางไปเมือง SOLO ด้วยเครื่องบิน BOEING 737 เหมือนกับที่มาจากอุบล เราได้ที่นั่ง 9 F ที่อยู่ติดหน้าต่างทางขวา แต่มีคนอินโดนั่งอยู่แล้ว และเว้นที่นั่ง 9D ซึ่งติดทางเดิน เอาไว้ให้ เราก็เลยนั่งที่ 9D ตอนนี้อาการง่วงเริ่มมาเยือนอย่างมาก จะหลับให้ได้ แต่ก็พยายามฝืน พอดี เขาบริการของว่าง กว่าจะเสร็จ ก็ได้เวลาเครื่องร่อนลงเมือง SOLO ที่สนามบิน Adi Sumarmo Airport Solo
มองออกมานอกหน้าต่างเครื่องบินตอนร่อนลง เห็นเป็นทุ่งนา และมีภูเขาอยู่ใกล้ๆ เครื่องลงจอด หน้าอาคารผู้โดยสาร ขนาดเล็ก เดินลงบันใด แล้วเดินไปรับกระเป๋า รู้สึกว่า แดดจ้าและร้อนน่าดู จนต้องเอาแวนตาใส่กันแดด เดินเข้าไปรอรับกระเป๋าสักครู่ พอได้กระเป๋า เดินออกมา ก็พบคนถือป้าย ว่า UNESCO มารอรับอยู่ จึงแนะนำตัวกับเขา แล้วเดินตามไปที่รถ ซึ่งมีรถรอไปส่งคณะที่โรงแรมอยู่ เท่าที่เห็นมีรถอยู่ 2 คัน ระยะทางไกลเหมือนกัน สังเกตว่า สนามบินอยู่ไกลตัวเมืองมาก ออกจากสนามบินก็ผ่านท้องไรท้องนา ก่อนที่จะเข้าตัวเมือง มีการทำนาเหมือนบ้านเรา ที่แปลกคือ ในนาข้าว มีทั้งที่กำลังดำอยู่ก็มี ที่โตและจะเกี่ยวได้ ก็มี ตนไม้ก็เหมือนบ้านเราทุกประการ โดยเฉพาะมีถนนตอนหนึ่งปลูกต้นตะขบ เป็นแถวข้างถนน สองข้างทาง ป้าย ชื่อร้านเขียนด้วยตัวภาษาอังกฤษ แต่เป็นภาษาอินโด อ่านได้ แต่ไม่รู้ว่า หมายความว่าอะไร ระยะทางกว่าจะถึงโรงแรมค่อนข้างไกล ตัวเมื่อที่ผ่านมา เหมือนเป็นเมืองเล็กๆ เก่าๆ แต่อาจจะยังไม่ใช่ส่วนเมืองใหม่ของเขาก็ได้
ถึงโรงแรมที่พัก SAHID KUSUMA SOLO เป็นเหมือนโรงแรมเล็กๆ แต่โอ่โถง ที่ Lobby ของโรงแรม เป็นอาคารชั้นเดียว สร้างด้วยสถาปัตยกรรมอบบอินโดนีเซีย ซึ่งมีทั้งห้องประชุม ภัตาคาร และร้านค้า การระชุมครั้งนี้ จะประชุมที่ห้องประชุมที่อยู่ในอาคารหลังนี้ โดยด้านหน้าของ Lobby จะมีเครื่องดรตรีพื้นเมืองประเภทเครื่องตี เหมือนวงปี่พทย์ บ้านเราวางอยู่ โดยช่วงเวลากลางคืน จะมีการแสดงให้แขกได้ชม โรงแรมนี้ถ้าเปรียบเทียบถึงความหรูหราของโรงแรมแล้ว ถือว่า เป็นเหมือนกับโรมแรมแบบธรรมดาๆ ในบ้านเรา ไม่มีอะไรพิเศษ ไม่มีอะไรทันสมัย เป็นเหมือนโรงแรมเก่าๆ ของบ้านเรา แต่ที่พักทำไว้น่าพักผ่อน เพราะทำเป็นบ้านพักเป็นหลังๆ และปลูกต้นไม่ไว้ร่มรื่น เลียนแบบบ้านของชาวอินโดนีเซีย หลังคามุงด้วยแผ่นไม่เล็กๆ ทำเหมือนกระเบื้อง เหมือนบ้านสมัยก่อนทางภาคเหนือ และภาคอีสาน
  
อาคารที่เป็น Lobby ของโรงแรม และป้ายหน้าเวทีห้องประชุม
ห้องพักที่เขาจัดไว้ให้ เยี่ยมมาก มีรายชื่อผู้เข้าพักไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ตรวจดูแล้ว ไม่มีชื่อของเราอีกเช่นเคย เลยเขียนชื่อเอาไว้ มีเจ้าหน้าที่ของโรงแรม จะเอากระเป๋าไปส่งยังบ้านพัก ที่เรียกบ้านพักเพราะมีเป็นเหมือนบังกะโล เป็นหลังๆ แต่ของ พักที่อาคารรวม 2 ชั้น หลังใหญ่ แต่บางคน ก็พักที่อาคารบ้านพักหลังเล็กๆ
   
อาคารที่เราพัก เป็นอาคาร 2 ชั้น (ภาพซ้าย) เราพักอยู่ชั้นบน ส่วนภาพขวา เป็นอาคารเป็นหลังๆ
   
บริเวณรองโรงแรม ปลูกต้นไม่ไว้อย่างร่มรื่น รวมทั้งไม้ผลด้วย เช่น เงาะ ขนุน มะม่วง ตอนนี้เงาะกำลังออกลูกเต็มต้น

เราได้พักชั้นสอง ห้อง 245 อยากจะอาบน้ำมาก เพราะอากาศร้อน จึงลากกระเป๋ากันมาที่ห้องพักโดยไม่รอให้เขาไปส่ง มาถึงห้องพักและเห็นห้องพักที่แสนจะใหญ่โตพักกัน 4 คนก็ได้ แต่เขาให้พักคนละห้อง ยังไม่ได้สำรวจอะไรมาก จัดการเสื้อผ้าในกระเป๋าออกก่อน แล้วอาบน้ำ อาบท่า เดินสำรวจห้องพักคร่าวๆ เห็นเขาเอาผมไม่วางไว้ต้อนรับที่โต๊ะในส่วนที่เป็นห้องรับแขก
      
ห้องพักโรงแรม Sahid Kusuma Solo ใหญ่มาก เป็นห้อง Suit พักคนละห้อง ภายในห้องมีห้องรับแขก และห้องนอน
จากภาพ เป็นบริเวณห้องรับแขกด้านหน้าห้องนอน ซึ่งมีห้องน้ำ 1 ห้อง
    
จากภาพถ่ายภายในห้องนอน และจากภายในห้องนอน ผ่านประตูออกไปห้องรับแขก
ก่อนเข้าพักทางผู้จัดประชุมบอกว่า จะมีอาหารกลางวันตอนเที่ยง พี่สุชินจึงชวนมาพักที่ห้องก่อน และนัดกันลงไปกินข้าวตอนเที่ยง อาบบ้ำอาบท่าเสร็จก็พอดีได้เวลาเที่ยง พี่สุชิน มาเคาะประตูเรียก เดินไปที่ห้องอาหาร เขาบอกว่ายังไม่เสร็จ ขอเปลี่ยนเวลาเป็น ตอนบ่าย ก็เลยชวนกันไปเดินเที่ยวชมเมืองโดยเดินออกไปทางด้านหน้าของโรงแรม
Walk Around
ก่อนออกจากโรงแรม เดินสำรวจรอบๆ โรงแรมก่อน ที่เห็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ ร้าน INTERNET มีอยู่ติดกับห้องอาหาร รอบๆโรงแรมปลูกต้นไม้ซึ่งเหมือนๆ กับบ้านเรา เช่นมะม่วง ขนุน เงาะ ซึ่งกำลังออกลูก ไม่ที่จัดสวน ก็เหมือนๆ กัน เดินรอบโรงแรมแล้ว ก็เลยไปเดินตลาด ออกจากหน้าโรงแรม ถามสามล้อหน้าโรงแรมว่า Super Market อยู่ที่ไหน เขาบอกว่า ห่างออกไปประมาณ 3 กิโล แล้วจะให้เรานั่งสามล้อไป แต่เราบอกว่า จะเดินเที่ยว จึงเดินตรงไปไปจากหน้าโรงแรม ดูความเป็นอยู่ของชาวชุมชนเมือง SOLO เช่น อาหารการกิน ร้านค้า รถรา เดินไปเรื่อยๆ จนไปถึงถนนสายหหลัก เป็นถนน 4 เลนส์  แล้วเดินไปอีกสักครู่จึงกลับโรงแรม
 
สิ่งที่พบแปลกตา คือ ภาษาอินโด อ่านได้ แต่ไม่รู้เรื่อง เพราะเขาเขียนด้วยตัวหนังสืออารบิค คือตัวหนังสืออังกฤษ แต่เป็นภาษาอินโด ดังนั้น ดูตามป้ายต่างๆ จึงไม่รู้เรื่องเลย นานนานจึงจะพบภาษาอังกฤษ อีกสิ่งหนึ่ง คือ รถสามล้อ ที่มีที่นั่งอยู่ด้านหน้า คนปั่นอยู่ด้านหลังมีเห็นอยู่เต็มเมืองไปหมด มีรถม้า ด้วย คล้ายๆรถม้าลำปาง  รถยนต์ ขับชิดซ้ายเหมือนบ้านเรา และรถส่วนมากก็เป็นรถญี่ปุ่น แต่มักจะเป็นรุ่นเก่าๆ และรถมอเตอร์ไซด์ มีมากจริงๆ มีรถเข็ญขายของอยู่ตลอด 2 ข้างทาง ถนนหนทางทีเราผ่านไม่ค่อยเรียบร้อยนัก เหมือนบ้านเรานั่นแหละ แต่ถ้าเป็นถนนใหญ่ก็ค่อยน่าดูหน่อย
เดินพอได้เหงื่อจึงเดินกลับโรงแรม พอดีอาหารกลางวันพร้อม เข้าไปในห้องอาหาร มีคนส่วนหนึ่งนั่งกินกันอยู่แล้ว และได้พบอาจารย์คนหนึ่งที่เราคุ้นหน้าอย่างมาก และถึงบางอ้อ เมื่ออาจารย์ทักทายเรา คือ อาจารย์ดรุณี ซึ่งแต่ก่อนเคยอยู่ กศน. และเป็นคนช่วยเราอย่างมาก ในการเดินทางไปต่างประเทศครั้งแรกของเราที่ฟิลิปปินส์ แต่ตอนนี้ท่านไปอยู่ UNESCO ก่อนหน้านี้ เมื่อสัก 3 ปีที่แล้ว เคยพบกันในการประชุมเสนอการประเมินผลสื่อ เอดส์ที่กรุงเทพ ทักทายกันนิดหน่อยแล้วไปกินข้าว เห็นอาหารแล้ว เหมือนทำเหมือบ้านเราเปียบ มีต้มจืด ผัดผัก และพวกผลไม้ รถชาดก็เหมือนกัน กินเสร็จแล้วกลับห้องพัก นอน และนอนยาวจริงๆ เราตื่นมาอีกที มืดแล้วดูนาฬิกา ทุ่มกว่า จึงอาบน้ำ และนั่งคอยจน 2 ทุ่ม ไม่เห็นพี่สุชินมาเรียก จึงโทรไปหาที่ห้อง ไม่มีคนรับ ไปกดกริ่งหน้าประตู ไม่มีคนเปิด เราจึงเข้าใจว่า คงจะไปแล้ว จึงเดินไปกินข้าวเย็น และไปร่วมงาน Dinner Party
Dinner party
จัดขึ้นที่ Pantirjo Meeting Room เริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับของ รองอธิบดีของ กศน. อินโดนีเซีย และ ตามด้วย ผู้แทน UNSCO ประเทศไทย Mr. Hakeem ซึ่ง ได้มีการแนะนำสิ่งที่มีชื่อเสียงของเมื่อง SOLO สิ่งแรกคือ ผ้าบาติก และศิลปวัฒนธรรมต่างๆ และที่แถมท้าย Director ก็กล่าวการประชุมครั้งนี้ คือให้ Work เสร็จแล้วก็ Shopping ส่วน Hakeem ก็กล่าวถึงตัว C ของ UNESCO ว่า หมายถึง Culture ซึ่งเมืองนี้เป็นเมืองที่มีจุดเด่นทางด้านวัฒนธรรม

   ต่อจากนั้นก็เป็นการแสดง มีทั้งร้องเพลงที่เป็นภาษาอินโดนีเชีย และที่เป็นจุดเด่นของงานคือ การแสดง Ramayana หรือรามเกียรต์ (สะกดอย่างไรหว่า) ที่บ้านเรา ตัวละครชื่อเหมือนที่บ้านเราเลย โดยเฉพาะตัวเอกชื่อ หนุมาน แต่งตัวเป็นลิงสีขาวแบบเดียวกัน ส่วนพลยักษ์ ก็เขียนหน้าตาจนน่ากลัว และที่สำคัญคือ จะครอบปากเป็นฟันยื่อนออกมา และมีเขี้ยวงอกออกมายาว


คณะผู้เข้าร่วม Workshop ถ่ายรูปร่วมกับผู้แสดง RAMAYANA ทั้งหมด
หลังจากงานเลิก ก็ขึ้นห้องพัก จะนอนก็คงไม่หลับ เพราะนอนมาเต็มที่แล้ว จึงเปิดคอมพิวเตอร์ เพื่อบันทึกการเดินทาง จน 6 ทุ่มกว่า จึงนอนพักผ่อน


วันที่ 20 พฤศจิกายน 2549

วันแรกของการ Workshop มีกำหนดการวันนี้ดังนี้
8.00-8.30 Registration
8.30-9.15 Opening
9.15-9.45 Coffee Break
9.45-11.00 Agenda 1: Workshop Introduction and Overview of the ICT for community Empowerment Project
11.00-12.30 Agenda 2: Sharing of country experiences Country Presentation on Theme 1: Use ICT for Capacity Building and linkage between CLC and CMC (Nepal, Srilanka and Philippines)
12.30-13.30 Lunch
13.30-14.30 Agenda 2: Sharing of country experiences. Group discussion on theme 1
14.30-15.00 Agenda 2: Sharing of country experiences. Presentation and discussion
15.00-15.30 Coffee Break
15.30.16.45 Agenda 2: Sharing of country experiences. Sharing of country experiences Country Presentation on Theme 2: Use of ICT for Quality of life Improvement (China, India and Lao PDR)
16.45-17.45 Agenda 2: Sharing of country experiences. Group discussion on theme 2
17.45-18.15 Agenda 2: Sharing of country experiences. Presentation and discussion
Evening Dinner Hosted by UNESCO

ตื่นขึ้นแต่เช้า เพราะแดดส่องเข้ามาในห้องแต่เมื่อดูนาฬิกาเพิ่งจะตี 5 แต่ก็ลุกขึ้นมาเพราะสว่างแล้ว ไม่รู้จะทำอะไร ก็เปิดคอมพิวเตอร์มานั่งบันทึกต่อจนถึงเวลาประมาณ 7 โมงกว่า จึงอาบน้ำแต่งตัว ไม่แน่ใจว่า ควรจะใส่สูทหรือเปล่า แต่ก็เตรียมเอาไว้ พร้อมทั้งเตรียมแผ่น CD-ROM ที่จะเอาไปแสดง แต่ก็ไม่แน่ใจจึงโทรไปห้องพี่สุชินว่าจะเอาลงไปไหม ก็ได้รับคำตอบว่า เอาไปด้วยก็ดี แต่ตอนนี้ลงไปกินข้าวก่อน แล้วค่อยเอาลงไป จึงเดินลงไปกินข้าว ที่ห้องอาหารของโรงแรม แต่เขาเรียกว่า ภัตตาคาร  Gambie Sakethi Restaurant อาหารเช้าวันนี้ มีต้มเนื้อ ปลาดุกทอด และอีก 2-3 อย่าง ไม่รู้ว่าอะไร ของหวานก็เหมือนบ้านเรา เป็นผลไม้ คือ แตงโม มะละกอ สับปะรด กินเสร็จก็กลับมาที่ห้อง มาเอากระเป๋า คอมพิวเตอร์ และแผ่น CD-ROM กลับไปที่ห้องประชุม โดยไม่ใส่สูท แต่เปลี่ยนเป็น Jacket ตามพี่สุชิน ซึ่งปรากฏว่า คนอื่นๆ ส่วนมากก็ใส่เสื้อและผูกเนคไทเท่านั้น แต่ก็มีใส่สูทหลายคน (แต่ในที่สุดก็ต้องถอดออก ทั้งนั้น เพราะอากาศร้อน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในห้องแอร์)
เข้าไปในห้องประชุม เห็นพี่สุชินกำลังติดโปสเตอร์กับผนัง และเตรียมเอกสาร เราจึงเข้าไปช่วย และเอา CD-ROM ไปวางแสดง เป็นนิทรรศการของประเทศไทย ประเทศอื่นไม่มีใครเตรียมมาเลย มีประเทศไทยประเทศเดียวที่แสดง ส่วนที่มีแสดง ก็เป็นของ UNSCO เมื่อใกล้เวลาเปิดประชุม ก็เริ่มทยอยลงทะเบียนง่ายๆ โดยเซ็นชื่อ รับเงิน และกระเป๋าเอกกสาร เป็นอันเสร็จพิธี โดยจ่ายให้เรา $ 200 เป็นเบี้ยเลี้ยง 6 วัน $120 และค่าโรงแรมที่กรุงเทพ $80

พิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการ
ก่อนประธานจะกล่างเปิดการประชุมปฏิบัติการ  พิธีการประกาศว่า จะมีการแสดงซึ่งเป็นวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย แต่ชื่อว่าอะไร ฟังแล้วจำไม่ได้ เพราะเป็นภาษาอินโด เรียกยาก ซึ่งเป็นการแสดงของอินนีเซีย เหมือนกับเป็นการรำอวยพร โดยบรรเลงดนตรีสด จากเครื่องคนดรี ที่จัดวางแสดงอยู่ที่โรงแรม และเป็นชุดเดียวกับที่ใช้ในการแสดงเมื่อคืนนี้ เสียงร้องก็ใช้ร้องสดลักษณะแบบเดียวกับประเทศไทย แต่ต่างกันที่ผู้ฟ้อนรำไม่ยิ้มเลย
 เมื่อการแสดงเสร็จ พิธีกร คือ Triana ได้เชิญประธาน คือ อธิบดี ของ Out of school และ UNESCO ประเทศไทย Mr Hakeem กล่าวเปิดการประชุมปฏิบัติการ
อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียนกล่าวเปิดการประชุม เมืองโซโลนับเป็นเมืองสำคัญของอินโดนีเซีย ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศ เป็นเมืองที่สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ รัฐบาลพยายามขยายเครือข่าย ICT ไปให้ทั่วถึง แต่ก็ยังติดปัญหาขาดกำลังคนที่จะเข้ามาช่วยรับผิดชอบในการให้บริการแก่ประชาชน เน้นการใช้เพื่อประโยชน์สำหรับทุกคน ไม่ใช่เป็นเทคโนโลยีที่หรูหราสำหรับทุกคนเท่านั้น การเข้าถึงของประชาชนยังมีปัญหาคือได้ราว ๓ ล้านคนในประชากรกว่า ๒๐๐ ล้านคน กำลังพิจารณานำเอาไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้มากขึ้น เพิ่มความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตให้มากขึ้น โครงการยกระดับ computer literacy เริ่มมาแต่ปี ๒๐๐๐ พัฒนา NFE MIS สำหรับการพัฒนางานการศึกษานอกโรงเรียน
 

 คุณ Hakeem กล่าวว่าที่ประชุมนี้มีผู้ที่มีประสบการณ์ในการนำ ICT ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ใน ๑๐ ประเทศ จึงเป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณค่าของการประชุมครั้งนี้ พร้อมกับกล่าวเตือนใจให้ลดความใส่ใจเรื่องเทคโนโลยีลง แต่ควรให้ความสนใจกับการใช้ประโยชน์เพื่อกลุ่มคนที่ขาดโอกาสให้มากขึ้น เพิ่มพลังอำนาจให้กับพวกเขา ส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ในวิธีการของตนเอง ร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ที่ทำงานในระดับชุมชนเช่นเดียวกัน คือ Community Multimedia Centers ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในหลายประเทศ (ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ สรุป)
 
หลังจากพิธีเปิด ทุกคนมาถ่ายภาพร่วมกัน
เมื่อพิธีเปิดผ่านไปแล้ว ก็เข้าสู่กระบวนการประชุมปฏิบัติการ โดยเริ่มจาก คุณ Hakeem นำเสนอภาพรวมของการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) และเปรียบเทียบกับ MDGs ความก้าวหน้าในเรื่องการรู้หนังสือของประเทศต่าง ๆ การขยายงานการศึกษาระดับประถมของประเทศต่าง ๆ (Universalized Primary Education – UPE) ผลกระทบของการรู้หนังสือ ผลกระทบของการถูกกีดกันจากบริการการศึกษา ฐานะของนักการศึกษาทางด้านการรู้หนังสือซึ่งยังต่ำต้อย การคิดถึงภาษาของกลุ่มชนต่าง ๆ และวิธีการเรียนที่เริ่มจากภาษาแม่ ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อปวงชนในระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมา และผลสำเร็จของประเทศไทย
คุณ Kiichi Oyasu กล่าวถึงเรื่องของศูนย์การเรียนชุมชน ว่าด้วยการขยายขอบเขตของการศึกษาจากในระบบโรงเรียนเท่านั้นไปสู่การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ก้าวไปสู่การศึกษาตลอดช่วงชีวิตของคนเราด้วย แนวทางการดำเนินการเรื่องนี้เน้นที่การเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมจากชุมชน พัฒนาคุณภาพในด้านทรัพยากรและบุคลากรที่รับผิดชอบ ให้บริการถึงผู้ที่จำเป็น หน้าที่และความหมายของศูนย์การเรียนชุมชน ตัวอย่างศูนย์การเรียนชุมชนในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้ประโยชน์เพื่อให้การศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อการพัฒนาชุมชน
 ผลจากการดำเนินงานที่ผ่านมาคือ เป็นแหล่งสนับสนุนการพัฒนาทั้งในระดับบุคคลและชุมชน ในด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การเสริมสร้างพลังอำนาจของคนด้อยโอกาส เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน เช่น การเลี้ยงดูเด็ก การถกเถียงเรื่องต่าง ๆ เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศต่าง ๆ
 ความมั่นคงของศูนย์การเรียนชุมชนขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ เช่น นโยบายสนับสนุนเรื่องการระดมทรัพยากรตาง ๆ ยกระดับความสามารถของบุคลากรและสร้างความเป็นผู้นำ มีความชำนาญการในการพัฒนากิจกรรมเพื่อจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
 ในส่วนที่เกี่ยวกับ ICT เพื่อการศึกษานอกโรงเรียนนั้นเท่าที่ผ่านมาพบว่าไม่ได้มีนโยบายเฉพาะสำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ม

คำสำคัญ (Tags): #ict#for#community#empowerment
หมายเลขบันทึก: 64393เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท