University 4.0 : Engaged HE



                บริหารมหาวิทยาลัย โดยใช้ยุทธศาสตร์ มาตรการ และกติกา engagement กับชีวิตจริง การทำงานจริง เพื่อประเทศไทย ๔.๐

อุดมศึกษาเพื่อประเทศไทย ๔.๐ ต้องเปลี่ยน management platform   จากเรียนเน้นที่ทฤษฎีเป็นหลักใหญ่    สู่การเรียนทั้งความรู้ปฏิบัติและความรู้ทฤษฎี    ให้คล่องแคล่วทั้งด้าน practical knowledge และ theoretical knowledge

เปลี่ยน management platform ของระบบอุดมศึกษาทั้งหมด    ให้หลุดจากการเป็น “อุดมศึกษาแบบลอยตัว แยกจากสังคม” (Socially Dis-engaged Higher Education)    สู่ Engaged Higher Education    ซึ่งผมตีความว่า สถาบันอุดมศึกษาต้องให้ความสำคัญต่อความรู้ทฤษฎีและความรู้ปฏิบัติเท่าๆ กัน    ไม่ใช่ละเลยความรู้ปฏิบัติ    เน้นเพียงความรู้ทฤษฎีในกิจการต่างๆ ของสถาบัน อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 จะเปลี่ยนวัฒนธรรมเช่นนี้ได้ ต้องหาทางทำให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีความมั่นใจในความรู้ของตนทั้งสองขั้ว คือขั้วความรู้ปฏิบัติ และขั้วความรู้ทฤษฎี   

รูปแบบการพัฒนาอาจารย์ต้องเปลี่ยน หรือเพิ่มในส่วนประสบการณ์ในสถานปฏิบัติงานจริง    อย่างที่คณะ วิศวกรรมศาสตร์ในเยอรมนี กำหนดให้คนเป็นอาจารย์ต้องไปทำงานในสถานประกอบการอย่างน้อย ๕ ปี หลังเรียนจบปริญญาเอก    ซึ่งหมายความว่า เวลาและความรู้ที่ได้จากสถานประกอบการเป็น “คุณวุฒิ” อย่างหนึ่ง ของผู้ที่จะสมัครเป็นอาจารย์

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและรายวิชาต้องเปลี่ยน    ไม่ใช่แค่มีอาจารย์จบปริญญาเอก ๕ คน ก็มีสิทธิ์เปิดหลักสูตร    ต้องเปลี่ยนเป็นมีการประเมินตนเองว่ามี practical knowledge ด้านนั้นเพียงพอสำหรับ การเรียนการสอนแบบ engaged curriculum หรือไม่    หากยังไม่เข้มแข็งพอจะมีอาจารย์พิเศษจากสถานประกอบการ มาเติมเต็มอย่างไร    และจะจัดการให้คณาจาย์ที่มีอยู่ได้เพิ่มเติม practical knowledge ของตนอย่างไร   

รูปแบบการเรียนของ นศ. ต้องเปลี่ยนไป มีการเรียนในสภาพการทำงานจริงแบบต่างๆ ในสัดส่วนของเวลา ที่เพิ่มขึ้น  มีการกำหนดความหลากหลายของสถานประกอบการ  มีระบบส่งเสริมให้สะท้อนคิดร่วมกันจากประสบการณ์ ในสถานประกอบการ เช่นโดยการเขียน reflective journal    และมีการจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เอาข้อ สะท้อนคิดเด็ดๆ มาเล่าเป็นเรื่องราวเล่าขานต่อเนื่องไม่รู้จบ    เพื่อสร้างฐาน practical knowledge 

โจทย์วิจัย ต้องเปลี่ยนไปให้น้ำหนักโจทย์จากสภาพการทำงานจริงให้มากขึ้น    และมี platform ใหม่ในการเผยแพร่และให้คุณค่าของผลงานวิจัย   เพิ่มจากวารสารวิชาการเพื่อสังคม 

ผมนำจินตนาการนี้มาชักชวนให้ผู้สนใจช่วยกันเติมเต็มหรือปรับปรุง การดำเนินการเพื่อเปลี่ยนอุดมศึกษาให้เป็น อุดมศึกษาหุ้นส่วนสังคม

วิจารณ์ พานิช

๒๖ พ.ย. ๖๐


 

หมายเลขบันทึก: 643224เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2017 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2017 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท