สื่อสารอย่างไร ประเทศไทย 4.0


เมื่อโลกเปลี่ยน ประเทศไทย คนไทยจำเป็นต้องเปลี่ยน

ปัจจุบัน ความต้องการต่าง ๆ ของคนตามทฤษฎีของมาสโลว์ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง คนยังคงกินแฮมเบอร์เกอร์เหมือนเดิมแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น เลือกส่วนผสมที่จะใส่ได้เองมากขึ้น คนยังกินมันฝรั่งทอดเหมือนเดิม คนไทยยังกินข้าวผัดกระเพราเหมือนเดิม รูปแบบของอาคารพาณิชย์ยังคงลักษณะเดิม

ข้อมูลจาก Microsoft Consumer Study รายงานว่า ในปี 2543 (ค.ศ.2000) ความสนใจของคนเราในแต่ละเรื่องจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 12 วินาที แต่ในปี 2558 (ค.ศ.2015) ลดลงเหลือเพียง 8 วินาทีเท่านั้น ซึ่งค่าเฉลี่ยนี้น้อยกว่าความสนใจของปลาทองเสียอีก (ปลาทองสนใจอะไร ๆ ที่ 9 วินาที) นั่นเป็นเพราะเมื่อเทียบการรับข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) หรือสื่อใหม่ (New Media) มีมากกว่าเดิม จนทำให้ผู้คนมีสิทธิ์เลือกรับสื่อ และสามารถข้ามสิ่งที่ไม่น่าสนใจได้อย่างรวดเร็ว เพื่อไปเสพอะไรที่เข้ากับตนเองมากกว่า

นี่คือ ปรากฏการณ์ที่ธุรกิจสื่อต่าง ๆ กำลังแปรเปลี่ยนไป จากความเร่งรีบ การเสพข้อมูลได้หลากหลาย และการทำหลายๆ สิ่งพร้อมกัน (Multitask) จึงมีโอกาสสูงที่ค่าเฉลี่ยความสนใจจะลดลงไปเหลือ 5 วินาทีในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ดังนั้น ถ้าสื่อดั้งเดิม ทั้งสิ่งพิมพ์ และโทรทัศน์ไม่ยอมปรับตัว การจะอยู่รอดในอุตสาหกรรมนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถ้าไม่มีฐานการขายโฆษณาที่แข็งแกร่ง และถึงจะอยู่ได้ก็คงรวดเร็วเท่ากับ Social Media ที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอด และพร้อมถาโถมข้อมูลจำนวนมากไปให้กับผู้บริโภคให้ได้เลือกเสพกันได้อย่างหลากหลาย

Patrick Dixon กล่าวไว้ว่า The single word that will drive the future is emotion หรือ คำเพียงคำเดียวที่ขับเคลื่อนอนาคตคือ อารมณ์
ปัจจุบัน โลกและโลกธุรกิจขับเคลื่อนล้วนขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ การเสนอขายสินค้า ขายบริการต่าง ๆ ล้วนขึ้นอยู่กับอารมณ์มากกว่าความเป็นจริง ทั้ง ๆ ที่ไม่ว่าโลกของปัจจุบันหรืออนาคตจะเป็นอย่างไร คำว่า คุณภาพไม่ใช่สิ่งที่เป็นความลับอีกต่อไป

สอดคล้องกับคำกล่าวของ Thomas L.Friedman (Thank you for being late) ว่า Social media is good for collective sharing but not always so great for collective building, good for collective destruction, but maybe not so good for collection construction. สื่อสังคมออนไลน์ดีสำหรับการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยน แต่ไม่ดีสำหรับการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอะไรสักอย่างหนึ่ง ดีสำหรับการรวมกลุ่มเพื่อทำลาย แต่อาจจะไม่ดีสำหรับการรวมกันสร้าง

“ลูกค้าวางใจเครือข่ายของกลุ่มเพื่อนและครอบครัวมากกว่าที่จะไว้ใจบริษัทหรือแบรนด์ การสนทนาของคนในกลุ่มลูกค้าแบบ peer to peer จะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด” Philip Kotler (Marketing 4.0)

นี่อย่างไร ประเทศไทยต้องเปลี่ยนผ่านสู่ประเทศไทย 4.0

หมายเลขบันทึก: 640591เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท