เป็น หรือ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ออกกำลังกายได้ไหม?


จากข่าวรอง ผวจ.สตูล (นายสรเดช สุนทรารชุน) เสียชีวิตกระทันหัน ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ขณะเล่นกีฬาแบดมินตัน อาจทำให้หลายๆคนที่มีความคิดอยากเริ่มออกกำลังกายถึงกับทบทวนความคิดตน จนอาจชลอการออกกำลังกายออกไป 

(ขอบคุณภาพจาก https://www.dailynews.co.th/re...)

การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตค่ะ แต่ทุกสิ่งเมื้อมีประโยชน์ ก็มีโทษควบคู่กันไปด้วย เราจึงต้องรู้เท่าทันทั้งคุณและโทษ เพื่อควบคุมในส่วนของโทษให้ปรากฏน้อยที่สุดหรือไม่ปรากฏเลย เพื่อที่เราจะได้รับเพียงประโยชน์ที่ต้องการ

ดังนั้นถ้าปกติเราไม่ได้ออกกำลังกาย หรือหยุดออกกำลังกายไประยะหนึ่ง เมื่อจะเริ่ม จึงต้องมีการประเมินความพร้อมก่อน ว่าเราพร้อมจะออกกำลังกายได้เลยหรือไม่ โดยประเมินจากแบบ PAR-Q Plus 2017 (https://www.gotoknow.org/posts...) เพื่อคัดกรองผู้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นอันดับแรก และถึงจะสามารถออกกำลังกายได้เลย ก็ยังต้องประเมินหาความหนักในการออกกำลังกายที่เราจะทำได้ โดยประเมินจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ 

ตามข่าว ท่านรองผู้ว่ามีโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ ด้วยความที่เป็นโรคหัวใจ จึงทำให้มีความเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่ไปเมื่อมีการออกกำลังกาย

อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ลดอาการแทรกซ้อนอื่นๆได้ โดยที่ก่อนออกกำลังกาย ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ (เช่น จำนวนครั้งที่สูงสุดของการเต้นหัวใจใน 1 นาที) และผ่านการทำ Cardiac Rehabitation Program  มาก่อน ก่อนที่จะมาออกกำลังกายภายใต้การดูแลของครูฝึก และควรใส้ใจข้อจำกัดของการออกกำลังกายดังนี้

1.ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ภาวะทางระบบหัวใจและอื่นๆค่อนข้างคงที่ 

- ไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

-ไม่มีอาการที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ดี

-ความสามารถของร่างกายเกินกว่า 7 METs หลังจาก 3 สัปดาห์ที่เริ่มการรักษาตัวในโรงพยาบาล (มีคำธิบาเกียวกับ METs โดยคุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์ อยู่ที่นี่ค่ะ http://203.157.7.40/exercise/t...)

-หัวใจห้องล่างมีการทำงานมากกว่า 50% ของการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจในแต่ละครั้ง

-ไม่มีสัญญาณการเต้นผิดจังหวะของหัวใจทั้งในขณะพักและขณะออกกำลังกาย

2.ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ขึ้นไป  ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย (https://www.gotoknow.org/posts...)

3.ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจควรมีการทำ Maximum Graded Exercise Test เพื่อความสามารถในการทำงานของหัวใจก่อนออกกำลังกาย เพื่อครูฝึกสามารถออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมและปลอดภัย

4.ควรหยุดออกกำลังกายทันทีที่มีอาการผิดปกติต่างๆทั้งก่อน ขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกายทันที และควรติดต่อหน่วยฉุกเฉินทันที

สำหรับการออกกำลังกาย ว่าสามารถออกในแบบใดบ้าง มีตัวอย่างโปรแกรมพื้นฐานที่เหมาะสมแก่ผู้เป็นโรคหัวใจดังนี้ค่ะ

1.การออกกำลังกายด้วยความหนักระดับต่ำ เพื่อความทนทานของกล้ามเนื้อ เข่น เดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือ Low Impact Aerobic

 2.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบเกร็งค้าง เพราะจะยิ่งเพิ่มแรงดันในหลอดเลือด และทำให้หัวใจทำงานหนัก

3.การออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน ควรเป็นแบบความหนักระดับต่ำ จำนวนครั้งสูง

4.ใช้ RPE ( https://www.gotoknow.org/posts...)เป็นการกำหนดความหนักในการออกกำลังกาย โดยให้ RPE ประมาณ 9-11 (แต่อาจสูงได้ถึง 14)

5.จำนวนครั้งของการเต้นหัวใจที่ต้องการขณะออกกำลังกาย ควรสูงกว่าขณะพักประมาณ 20-30 ครั้ง/นาที หรืออาจสูงได้ถึง 40-75% ของอัตราการเต้นหัวใจสำรอง (https://www.gotoknow.org/posts...)

6.ระยะเวลาในการออกกำลังกายในแต่ละครั้ง ควรค่อยๆเพิ่ม จนถึง 30 นาที/ครั้ง

7.ควรมีเวลาในการ Warm-Up และ Cool-Down ประมาณ 10-15 นาที (ไม่รวมเวลาในการออกกำลังกาย) 

8.ควรออกกำลังกาย 3-5 ครั้ง /สัปดาห์ โดยมีการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน 2 ครั้ง/สัปดาห์

เหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้เป็นโรคหัวใจควรปฏิบัติตามค่ะ เพื่อรับประโยชน์จากการออกกำลังกายอย่างแท้จริง


หมายเลขบันทึก: 640449เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2017 05:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท