เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

วิจารณ์พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 (ครั้งที่3)


แนวคิดหลักของการส่งเสริมการลงทุนพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคจากการใช้พระราชบัญญัติในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบัน

   

                                ประเด็นที่ 3  

                     แนวคิดและวิวัฒนาการของการเกิดพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520
                          การส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทยเริ่มต้นมานานถึง 40 ปีแล้ว ปัจจุบันบีโอไอ ปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544  นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบันมาตั้งแต่ปี2520  จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลากว่า 29 ปีมาแล้วซึ่งเมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการลงทุนนั้นในทางเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและระดับระหว่างประเทศนั้นจะพบว่าสภาวะแวดล้อมต่างๆทางเศรษฐกิจโดยรวมนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่การค้าของโลกมีแนวโน้มเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศต่างๆก็ได้เปิดประเทศและเน้นการส่งออกมากขึ้น ธุรกิจของเอกชนได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากส่งผลให้ประเทศไทยต้องจับตาประเทศคู่แข่งที่สำคัญอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นจีน หรือกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเพื่อที่จะรักษาสภาพการส่งออกของไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านแรงงาน ด้านการผลิตที่ทันสมัยขึ้น เป็นต้น ประกอบกับกฎเกณฑ์ซึ่งเป็นระเบียบภายในก็ได้มีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างและอัตราภาษีอากร ในส่วนกฎระเบียบระหว่างประเทศก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง กล่าวคือในระดับสากลหรือระดับพหุภาคี ได้มีการจัดตั้งองค์การการค้าโลก[1]ขึ้นในปี พ.ศ. 2538  ซี่งความตกลงของไทยภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลกนี้เองที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนของไทยปี 2520     เช่นในเรื่องของพันธกรณีตามความตกลงว่าด้วยมาตรการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการค้า (Agreement on  Trade Related Investment Measures,TRIMs)[2] ทำให้ต้องยกเลิกเงื่อนไขการใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในประเทศในกรอบของกฎหมายการลงทุนไป และนอกจากนี้ยังมีการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี(Free  Trade Agreement,  FTA)  กับบางประเทศ เช่น กรณีของประเทศอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกฎเกณฑ์ในเรื่องของการลงทุนก็เป็นประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งในความตกลงในเรื่องนี้          

                       การตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนในด้านการค้าระหว่างประเทศ ประกอบการค้าโลกมีแนวโน้มการแข่งขันและการกีดกันทางการค้าที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยและประเทศคู่แข่งด้านการลงทุนอื่นๆจำต้องมีการปรับปรุงกฎหมายและมาตรการการลงทุนของประเทศตนอยู่ตลอดเวลาเพื่อเป็นการชักจูงให้เกิดการลงทุนและส่งเสริมการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ และนอกจากนี้เนื่องจากกฎหมายในเรื่องของการลงทุนนั้นเป็นกฎหมายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกฎหมายตามกาลสมัย ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงต่างๆอยู่เสมอเพื่อให้เป็นกฎหมายที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เอื้อต่อการแข่งขันกับประเทศอื่นๆรวมทั้งมีกลไกที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักลงทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศได้                  

                              หลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลไทย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 สามารถพิจารณาได้ดังนี้คือ                 

                               1.รัฐบาลไทยให้หลักประกันว่า กิจการที่ได้รับการส่งเสริมจะไม่ถูกโอนมาเป็นของรัฐ, รัฐจะไม่ตั้งรัฐวิสาหกิจใหม่เพื่อแข่งขันกับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการของรัฐจะไม่ผูกขาดการขายสินค้าที่คล้ายคลึงกับสินค้าที่ผลิตโดยโครงการที่ได้รับการส่งเสริม             

                     2. มาตรการป้องกันภายใต้เหตุผลอันสมควรและจำเป็น การตั้งบังคับเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าในอัตราไม่เกินร้อยละ 50 ของราคา ซีไอเอฟ ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีต่อ 1ครั้ง, การห้ามนำเข้าสินค้าที่มีการแข่งขัน               

                    3 การอนุญาตในเรื่องต่างๆ กฎหมายอนุญาตให้นำบุคคลจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน, อนุญาติให้คนต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และนอกจากนี้ยังมีการอนุญาตให้นำหรือส่งเงินตราออกนอกประเทศได้                 

                     4 สิ่งจูงใจทางด้านภาษี มีการยกเว้นหรือลดอากรขาเข้าเครื่องจักรที่นำเข้า, ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลาตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น และได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินปันผลที่จ่ายจากกิจการในระหว่างที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน               

                     5 สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนพิเศษ คือการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 เป็นระยะเวลา 5 ปี หลังจากระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้น, อนุญาตให้หักค่าน้ำ ค่าไฟและ ค่าขนส่งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีเป็นระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบการวันแรก             

                    6 สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับกิจการส่งออก คือการยกเว้นอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบและส่วนประกอบที่นำเข้ามา, ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาผลิตและส่งกลับไปขายในต่างประเทศ, ยกเว้นอากรขาออก

                          หลักการดังกล่าวตามข้างต้นนี้เองถือเป็นกรณีที่รัฐบาลได้วางหลักเอาไว้เพื่อใช้เป็นหลักการในการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ. 2520 แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาแล้วจะพบว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนฉบับนี้นั้นมีปัญหาและอุปสรรค 3 เรื่องซึ่งสามารถพิจาณาได้ดังนี้

                            1.    กฏหมายการลงทุนฉบับปัจจุบันขาดบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน เช่น การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาที่เป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนต่างชาติที่เข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน[3] การตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือหรือส่งเสริมนักลงทุน[4] ,การให้หลักประกันต่อการถูกเลือกปฏิบัติในการได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆสำหรับนักลงทุนต่างชาติ[5

                2.    บทบัญญัติบางประการของกฎหมายส่งเสริมการลงทุนนั้นควรที่จะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและเน้นการรองรับแนวทางส่งเสริมการลงทุนในอนาคต เช่นการขยายขอบเขตประเภทของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา 17 ให้กว้างขึ้นทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัตินั้นจะพบว่าผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรานี้นั้นจำกัดอยู่แค่บริษัท มูลนิธิ หรือสหกรณ์ที่จัดตั้งตามกฎหมาย เท่านั้น ซึ่งน่าจะเพิ่มจะเพิ่มห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือวิสาหกิจชุมชน โดยอาจจะเขียนบทบัญญัติใหม่โดยอาจเขียนว่า ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นองค์กรตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดโดยประกาศเป็นประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น

                            และนอกจากนี้กรณีหลักประกันในการโอนกิจการเป็นของรัฐ ตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน บัญญัติว่า รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมาเป็นของรัฐ  หากพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการโอนกิจการเป็นของรัฐแล้วนักลงทุนส่วนใหญ่มิได้มีความกังวลในมาตรการดังกล่าวแต่มีความกังวลในกรณีของหลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องมีความเป็นธรรมและเหมาะสมกับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งกฎหมายการลงทุนของบางประเทศได้มีบทบัญญัติในเรื่องของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (compensation) ไว้ เช่นกรณีของ investment of foreign investor   maybe subject to expropriation exclusively foe public purposes or interests and only in accordance with due process of law, non-discrimination basic and against full compensation”[6] 

                    3.ปัญหาที่เกิดจาการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งสรุปจากมุมมองของหน่วยงานต่างๆได้ดังต่อไปนี้ได้แก่ 

                                -ปัญหาทางด้านระเบียบปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันระหว่างหน่วยงานอื่นกับแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง

                              -ปัญหาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา31[7] 

                              -การใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามมาตรา28[8] 

                            4ปัญหาและอุปสรรคการลงทุนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้ เป็นกรณีในเรื่องที่เป็นประโยชน์ในการลงทุนในมุมมองของเจ้าหน้าที่บังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับปัจจุบัน

                          เช่น  

                               - กรณีสิทธิประโยชน์ทางภาษี ในกรณีของการหักค่าเสื่อมราคาเพิ่มมากกว่าปกติ

                            - กรณีสิทธิประโยชน์ทางการเงิน ในกรณีของ Tax Allowance หรือ Tax credit

                  -   มาตรการในการระงับข้อพิพาทระหว่างผุ้ร่วมลงทุนไทยกับต่างประเทศ

                 -   มาตรการในการให้นักลงทุนลงทุนต่อหลังจากที่ได้มีการชักจูงการลงทุนแล้ว

                            เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาจากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการวิเคราะห์นำเสนอมาตรการการส่งเสริมการลงทุนใหม่โดยวิเคราะห์จากมุมมองในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐศาสตร์และด้านกฎหมาย ทำให้เห็นชัดว่ามีหลายประเด็นในกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับปัจจุบันควรได้รับการแก้ไขและปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านเศรษฐกิจการลงทุนและกติกาการค้าระหว่างประเทศในเวทีเศรษฐกิจโลก


[1] World Trade Organization หรือ WTO
[2] มาตรฐานการค้าที่เกี่ยวกับการลงทุน ที่กำหนดโดยรัฐผู้รับการลงทุนซึ่งมีผลกับการค้าและการให้การอนุญาติฃต่อการลงทุนต่างชาติโดยทั่วไป หมายถึงมาตรการที่เป็นข้อห้ามมิให้รัฐผู้รับการลงทุนกำหนดขึ้นและเป้นอุปสรรคของการดำเนินการของการลงทุนต่างชาติ คือการจำกัดการใช้วัตถุดิบภายใน ข้อจำกัดการส่งออก  ข้อจำกัดการถ่ยทอดเทคโนโลยี และขัอจำกัดเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน สถานที่ตั้งและการเงิน
[3] กฎหหมายการลงทุนของบางประเทศ เช่น กฎหมายการลงทุนของ MOZAMBIQUE “Law No4/84  Foreign  Investment Law” มีบทบัญญัติยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับบุคคลดังกล่าว
[4] เช่นกฎหมายของประเทศ MOROCCO มีบทบัญญัติในเรื่องนี้

[5] เช่นกฎหมายการลงทุนของประเทศ SUDAN “ The encouragement of investment Act 1980

[6]  Foreign Investment of Mongolia

[7] พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปี 2520
[8] พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปี 2520
                
       
หมายเลขบันทึก: 63979เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท