การจัดการความปวดในผู้ป่วยผ่าตัด


Pain Management

  ในเดือนธันวาคมนี้ตึกศัลยกรรมนรีเวชจะเริ่มเอาจริงเอาจังในการประเมินอาการปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลังจากที่ทางตึกพิเศษ 5 ได้นำไปปฏิบัติและประสบความสำเร็จไปก่อน เนื่องจากตึกศัลยกรรมนรีเวชมีจำนวนผู้ป่วยมากและหลายประเภท จำนวนเตียงผู้ป่วยมากกว่าคือรับได้เต็มที่ 32 เตียง ตึกพิเศษ 19 เตียง ดังนั้นเพื่อให้การจัดการความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดสำเร็จ พญ.ศรัณยา ได้มาช่วยให้เริ่มประเมินผู้ป่วยที่ผ่าตัดหน้าท้องและให้ทางตึกช่วยกำหนดว่าจะทำรายไหนคือเป็นการเริ่มทำในจำนวนน้อยๆ ซึ่งเมื่อได้ตกลงกับเจ้าหน้าที่ในตึกแล้วทุกคนพร้อมที่จะเริ่มทำ ซึ่งกระบวนการของเราคือ ขั้นแรก ก่อนผ่าตัด พยาบาลต้องไปอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงลักษณะการผ่าตัด ความเจ็บปวดที่เกิดหลังผ่าตัดซึ่งจะถูกประเมิน เป็นการตกลงกับผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนและเมื่อหลังจากได้รับการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความปวดทุก 2 ชั่วโมงเป็นเวลา 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ซึ่งจะได้มารายงานผลต่อไป

โดย ปิยะวดี  ฉาไธสง

คำสำคัญ (Tags): #ความปวด
หมายเลขบันทึก: 63978เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
น่าสนใจดีค่ะ    จะติดตามผลงานต่อค่ะ
  • ดูเหมือนกับเรื่องนี้สามารถพัฒนาเป็นงานวิจัยจากงานประจำได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานประจำอย่างเป็นระบบโดยใช้กระบวนการวิจัยครับ
  • โดยเรื่องราว เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีประโยชน์ครับ จึงน่าทำการต่อยอดให้เป็นงานวิจัยและเผยแพร่ออกไป
  • น่าทำการเปรียบเทียบผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัด เมื่อมาอยู่วอร์ด การใช้วิธีการ approach ผู้ป่วยแบบเก่า กับวิธีการใหม่ ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดลดลงหรือไม่ อย่างไร ทำการเปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติ และเขียนเผยแพร่ออกไปครับ จะเป็นประโยชน์ในวงกว้างมากขึ้นครับ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ คิดว่าหัวหน้าโครงการนี้คงจะนำไปสู่งานวิจัยแน่นอนคะ

  • แวะเข้ามาเยี่ยมและหาความรู้ค่ะ
  • ขอบคุณมากนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท