ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษา


ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษา โรงพยาบาลครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ปี 2549

                              สมพงษ์  ประไพวัชรพันธ์ และคณะ
 โรงพยาบาลครบุรี  นครราชสีมา

       จากข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคของอำเภอครบุรี พบว่าอัตราการรักษาสำเร็จของวัณโรค (Success rate) มีแนวโน้มลดลงมาเป็นลำดับ โดยในปี 2548 พบว่ามีอัตราการรักษาสำเร็จเพียงร้อยละ 74.08 ในขณะที่เกณฑ์อัตราการรักษาสำเร็จของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85 ขึ้นไป ซึ่งจะส่งผลทำให้การแพร่เชื้อ การดื้อต่อยาวัณโรคในเขตอำเภอครบุรี

       จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อหาสาเหตุของการขาดการรักษา และหาแนวทางที่จะพัฒนาการติดตามผู้ป่วย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนระหว่างการรักษา ผู้ป่วยที่จำหน่ายจากการรักษาครบกำหนด ผู้ป่วยขาดการรักษา ของโรงพยาบาลครบุรี และผู้เกี่ยวข้องได้แก่ แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข โดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และศึกษาจากทะเบียนรายงานผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลครบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงลึก (Contents Analysis) ใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการจัดเรียงข้อมูล โดยการกำหนด Code มีการตรวจสอบความถูกต้อง โดยหลักทฤษฎีสามเส้า ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง

       ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรค มาจากปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติ การตระหนักของผู้ป่วย ครอบครัวและระบบการจัดการในการบริการผู้ป่วย  แนวทางที่จะติดตามให้ผู้ป่วยมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง มุ่งไปที่การพัฒนาระบบข้อมูล การพัฒนาคลินิกบริการ พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิให้ได้มาตรฐาน เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการรับบริการที่ใกล้บ้านของผู้ป่วยได้ต่อไป

สนับสนุนทุนพัฒนานักวิจัย โดย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบการสร้างเสริมสุขภาพในบริบทพยาบาลชุมชน

ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย

หมายเลขบันทึก: 63809เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 23:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากได้ full paper กำลังทำวิจัยเรื่อง DOT ขอความกรุณาด้วย

ติดต่อที่ เจ้าของงานวิจัย หรือที่ คุณจรรยาวัฒน์ ทับจันทร์ โรงพยาบาลสูงเนิน นครราชสีมา ได้เลยครับ

สุพัฒน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท