ชีวิตที่พอเพียง : 3015. สี่สหายชมวัดเครือวัลย์และวัดหงส์รัตนาราม



วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ คณะสี่สหายนัดพบกันที่ภัตตาคารผ่านฟ้า    กินปู ไก่ตอน  แฮ่กึ๊น และอาหารเลอรสคล้ายๆ กับที่เล่าไว้เมื่อสองปีเศษมาแล้ว ที่   แล้วเคลื่อนย้ายสู่วัดเครือวัลย์วรวิหาร () มีคณะของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์รอต้อนรับอยู่แล้ว

 


วัดเครือวัลย์วรวิหาร

พระครูวุฒิธรรมานุสรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส กรุณามาบรรยายสรุปเรื่องวัดนี้ให้ฟัง    ว่าสร้างสมัย ร. ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยะรัตพันธุ์) ไปปราบกบฏที่เวียงจันทน์ กลับมาฝันร้ายเห็นดวงวิญญาณ ของคนที่บาดเจ็บล้มตายจากสงคราม จึงสร้างวัดด้านทิศใต้ของคลองมอญ    ยังสร้างไม่เสร็จท่านถึงแก่อสัญกรรม   เจ้าจอมเครือวัลย์ธิดาของท่าน (เป็นเจ้าจอมของ ร. ๓) สร้างต่อจนเสร็จ    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงพระราชทานนามว่าวัดเครือวัลย์ ตามชื่อของเจ้าจอมเครือวัลย์    เจ้าอาวาสองค์ที่ ๓ พระเทพโมลี (เอี่ยม) ในสมัย ร. ๔ ได้ร่วมตั้งธรรมยุติกนิกาย      

มีเจ้าอาวาสถึงปัจจุบัน ๑๒ รูป   

พื้นที่วัด ๑๘ ไร่    แต่ในปี ๒๕๒๒ มีการตัดถนนอรุณอมรินทร์เฉือนที่วัดออกเป็นสองส่วน   ที่ดินฝั่งตรงข้ามถนนให้ชาวบ้านเช่า

จุดเด่นของวัดคือพระอุโบสถ  มีพระประธานเป็นพระยืน ปางห้ามญาติ ชื่อพระพุทธสรรเพชญ์เสด็จมาจากเวียงจันทน์   พุทธลักษณะแบบเวียงจันทน์ คือคางใหญ่    พระประธานยืนมีไม่มาก    ตัวอย่างหลวงพ่อบ้านแหลมที่สมุทรสงคราม ()    พระร่วงโรจนฤทธิ์ () ที่หน้าพระปฐมเจดีย์

ท่านพระครูท่องกลอน แต่งโดยนายมี ให้เราฟังว่า

“วัดทั้งหลายคล้ายกันเป็นอันมาก    ไม่หนีจากอย่างเก่าเป็นอวสาน

แต่วัดเครือวัลย์ใหม่อำไพพาน           หนีโบราณแปลกเปื้อนไม่เหมือนใคร

เขียนชาดกยกเรื่องโพธิสัตว์             ทอดประทัดตรีกลางสว่างไสว

เป็นช่องช่องห้องละชาติออกดาษไป  นับชาติได้ห้าร้อยสิบชาติปาง

ด้วยบุญญาอานิสงส์ที่ทรงสร้าง       ไม่ต้องจ้างสินบาทดังปรารถนา

ด้วยบุญญาอานิสงส์ทรงศรัทธา       ไม่ต้องหาช่างเขียนเวียนมาเอง”  

 

ความแปลกของพระอุโบสถนี้อีกอย่างหนึ่งคือภาพฝาผนังเป็นภาพเรื่องพระพุทธเจ้าห้าร้อยชาติ    (ในขณะที่วัดอื่นๆ จะเขียนภาพทศชาติ)  เขียนเป็นช่องๆ   แต่วาดให้ภาพของต่างช่องต่อเนื่องกัน (เช่นหลังคาเก๋งจีน) ทำให้สวยงาม   

ภาพเขียนนี้ต้องบูรณะบ่อยเพราะถูกทำลายโดยความชื้น    การบูรณะครั้งหลังสุดได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์    

จากนั้นท่านพระครูพาเราไปชมพระวิหาร    มีคุณอาทิตย์แห่งสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้บรรยายสรุป    จุดเด่นคือภาพฝาผนังเป็นภาพจิตรกรรมบนแผ่นกระเบื้องเซรามิก    ทำโดยวาดภาพใหญ่ ตัดเป็นชิ้นพอดีแผ่นเซรามิก แล้วเอาภาพไปทาบ และเอาไปเผา     ซึ่งจะทนทานมาก ไม่ลบเลือนจากความชื้น   ภาพผนังด้านหนึ่งเป็นประวัติพระมหากษัตริย์กับพุทธศาสนาในยุคต่างๆ เริ่มจากทวาราวดี  ศรีวิชัย มีภาพพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างวัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช  ขุนยวมกษัตริย์โยนกเชียงแสนสร้างวัดป่าสัก    พระเจ้ามังรายสร้างวัดเชียงมั่นเป็นวัดแรกของเชียงใหม่    พระมหาธรรมราชาลิไทสร้างวัดช้างล้อมที่ศรีสัชนาลัย   พระบรมไตรโลกนาถสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ที่อยุธยา     พระเจ้าตากสินมหาราชสร้างวัดบางยี่เรือ   ร. ๑ สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม   ร. ๒ สร้างวัดสุทัศน์ราชวราราม    ร. ๓ สร้างวัดราชนัดดาราม   ร. ๔ สร้างวัดปทุมวนาราม   ร. ๕ สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม   ร. ๖ เทศน์แก่ข้าราชบริพาร     ผนังอีกด้านหนึ่งเป็นเรื่องราวพระราชกรณียกิจในสมัย ร. ๙ 

 


วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ()

มีขนาดใหญ่และเก่าแก่กว่าวัดเครือวัลย์มาก  และศักดิ์ก็สูงกว่า    มีพื้นที่ ๔๒ ไร่  ใช้เป็นวัด ๒๐ ไร่    อีก ๒๒ ไร่ให้ชาวบ้านเช่า    สร้างโดยเจ้าสัวหงสมัยกรุงศรีอยุธยา    บูรณะครั้งใหญ่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี    โดยที่วัดอยู่ติดกำแพงวัง    และต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการบูรณะอีกหลายครั้ง    เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ มาโดยตลอด    บูรณะครั้งหลังสุดโดยเงินสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 

ความงามของพระอุโบสถอยู่ที่เสา ซึ่งมีขนาดใหญ่และวางตำแหน่งแปลกมาก ()    

ท่านพระครูปลัดบำรุงมาเล่าเรื่องวัดให้คณะสี่สหายฟัง

ศาสนวัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดของวัดน่าจะเป็นพระพุทธรูปสีดำ ชื่อหลวงพ่อแสน เมืองเชียงแตง () ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ ด้านหน้าของพระประธานที่เรียกชื่อกันว่าหลวงพ่อโต    และพระพุทธรูปทองคำ () เนื้อนวโลหะ มีทองคำร้อยละ ๖๐  ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ร่วมกับพระพุทธรูปสมัยโบราณอีกหลายองค์  

สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในวัดคือ สระน้ำมนตร์ศักดิ์สิทธิ์ และศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช    วัดนี้มีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมาก    เล่ากันว่า ท่านไปนั่งสมาธิที่วัดนี้บ่อยๆ  

ทั้งสองวัดนี้ บริเวณสะอาด ดูสง่างาม และสงบ      

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ส.ค. ๖๐



1 หน้าพระอุโบสถ วัดเครือวัลย์



2 หน้าต่างพระอุโบสถ


3 พระประธานเป็นพระยืน ปางห้ามญาติ



4 ส่วนหนึ่งของภาพฝาผนังพระเจ้าห้าร้อยชาติ



5 บานประตูพระอุโบสถของเก่าดั้งเดิม


6 พระประธานในพระวิหารวัดเครือวัลย์


7 ภาพฝาผนังสมัยใหม่บนแผ่นเซรามิก เรื่องการสร้างวัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช



8 ภาพบนแผ่นเซรามิก แสดงพระราชกรณียกิจ ร. ๙




9 พระวิหาร วัดเครือวัลย์



10 พระอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม




11 ภายในพระอุโบสถวัดหงส์ฯ หลวงพ่อโตและหลวงพ่อแสน



12 หลวงพ่อแสน




13 หน้าต่างพระอุโบสถ


14 พระพุทธรูปทองคำในพระวิหารวัดหงส์ฯ</p><hr><p>



15



16



17 โคมไฟในพระวิหาร



18 บริเวณพระอุโบสถ



19 สระน้ำมนตร์ เห็นพลับพลาพระเจ้าตากอยู่ไกลๆ



20 สระน้ำมนตร์และพลับพลาพระเจ้าตากฯ



21 พลับพลาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หมายเลขบันทึก: 638063เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2017 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2017 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วัดร่มรื่นและสะอาดมากเลยครับ

ครั้งนี้ไม่มีรูป 4 สหายนะครับ

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท