การทบทวนหลังเรียน(ปฎิบัติ ) After action review (AAR) รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สัปดาห์ที่5


        หลังจากสัปดาห์ที่แล้ว ได้ลงเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ผ่านการจัดกิจกรรมเรียนรู้ 2 ครั้ง ในวันที่ 31 สิงหาคมท่านอาจารย์ก็ได้ตั้งคำถาม 3 ข้อและให้สรุปเป็นMind Mapping คือ

• ได้รู้อะไร
• ได้เข้าใจอะไร
• อยากให้หลักสูตรเป็นอย่างไร
      อาจารย์ให้รวมกลุ่มกัน สนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลและอภิปรายการออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรที่ดี ระหว่างกัน หลายๆคนได้สะท้อนปัญหาและความต้องการที่พบเจอ อาทิ ปัญหาในการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็ก ปัญหาการคิดวิเคราะห์ ปัญหาในด้านพฤติกกรมของผู้เรียน การจัดกิจกกรมที่เอื้อต่อความสนใจของเด็ก รวมถึงสภาพสังคมรอบโรงเรียนด้วย ข้อมูลต่างๆนี้ล้วนเป็นปัจจัยในการพัฒนาหลักสูตรในขั้นต่อไปอย่างยิ่ง คือขั้นพัฒนาร่างหลักสูตร ดังนี้
ขั้นพัฒนาร่างหลักสูตร เป็นการกำหนดองค์ประกอบของร่างหลักสูตร มีองค์ประกอบสำคัญๆดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน การกำหนดจุดมุ่งหมายได้จะต้องพิจารณาจากข้องมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรมด้วย
2. เนื้อหา เป็นข้อมูลที่เลือกมาให้ผู้เรียนได้เรียนเพื่อให้เกิดตามจุดประสงค์ และจะอาศัยข้อมูลทางด้านวิชาการและด้านอื่นๆประกอบก้วย
3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือการจัดกิจกรรมให้นักเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ตามหลักสูตร อาจใช้ข้อมูลทางด้านปรัชญาการศึกษา จิตวิทยา ด้านเทคโนโลยีในการออกแบบกิจกรรมด้วย
4. การประเมินร่างหลักสูตร กระบวนการวิจัยเชิงประเมินเพื่อพิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตร อาศัยการศึกษาข้อมูลด้านวิชาการและอื่นๆด้วย

หมายเลขบันทึก: 635576เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2017 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2017 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท