ผมได้ยินเรื่องเล่า ที่ต้องเอามาเล่าต่อครับในวันนี้ เรื่องที่จะเล่าคนเล่ามีคติสอนใจ (ที่เขาสรุปเอง) ว่าปัญญาไม่สามารถเกิดได้ จากความอคติ ผมนึกในใจว่าน้องเขาคิดได้ไง "คติสอนใจ"
เรื่องมีอยู่ว่าในการปฐมนิเทศอย่างไม่เป็นทางการนักศึกษาที่กลับมาจากมหาวิทยาลัยหนึ่ง หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข เป็นหลักสูตรต่อเนื่องหลังอนุปริญญา เพื่อมาเรียนต่อพร้อม ๆ กับการฝึกปฏิบัติงานจริง (ทำงานไปด้วย ฝึกงานไปด้วย) เป็นการฝึกการทำแผนงาน/โครงการ และการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาในชุมชนจริง ๆ ทั้งนี้อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการจากมหาวิทยาลัยนั้น ก็ได้พิจารณาในเบื้องต้นของร่างโครงการนั้นมาแล้ว แต่ที่ผ่านมา (รุ่นพี่ ๆ) มักจะถูกปรับแก้ให้เป็น "โครงการของพี่เลี้ยง" "แต่ให้นักศึกษาทำ" "โดยเป็นปัญหาของพี่เลี้ยงไม่ใช่ปัญหาของชุมชน" แล้วนักศึกษาเหล่านั้นก็ต้องเลือกระหว่าง "เอาพี่เลี้ยงเพื่อให้จบกลับมาทำงาน" กับ "เอาอุดมการณ์ เอาความจริง แต่ไม่จบ หรือจบยาก" ถ้อยคำที่แปลก ๆ เช่น "อย่าไปถามคนอื่น อย่างไปฟังคนอื่น เพราะพี่ให้คะแนน" (ผมเล่าตามที่ฟังได้) อย่างนี้เป็นต้น
ผมฟังมาแต่ไม่ตัดสินใจเชื่ออะไรมากนัก และไม่ค่อยสนใจนักต่อประเด็นนั้น ผมมุ่งสนใจที่ว่ากระบวนการเรียนการสอนมากกว่า เกิดอะไรขึ้นจึงทำให้นักศึกษาคิดอย่างนี้ ผมเกรงว่าจะเกิดบุคลากรที่ไม่กล้าคิดนอกกรอบบ้างมากกว่า ซึ่งการคิดนอกรอบนั้นต้องอาศัยยุทธการทั้ง 9 ที่เคยบันทึกไว้ที่ 9 ยุทธการชวนคนแหกกรอบเติมนวัตกรรมใหม่ใส่องค์กร มากกว่า ก็ได้แต่ฝากบอกน้อง ๆ ไป และปริ้นบันทึกเรื่อง 9 ยุทธการชวนคนแหกกรอบเติมนวัตกรรมใหม่ใส่องค์กร ฝากให้ไปอ่านดู ด้วยหวังอยากเห็นการกล้าคิด เพราะหากไม่กล้าคิดแล้ว จะหาความกล้าทำและกล้ารับผิดชอบไปไม่ได้ โดยเฉพาะการทำงานชุมชน เพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน ให้ไปถึงสุขภาวะที่แท้จริง
ไม่มีความเห็น