เล่าต่อกระบวนการ slc เวทีเติมพลังเครือข่ายฮักนะป่าใหญ่(มหาสารคาม)


ในบันทึกนี้ ขอเล่าต่อจากกระบวนการ  ที่ทาง Sumsung smart learning center ได้จัดเวทีเติมพลังเครือข่ายฮักนะป่าใหญ่(มหาสารคาม) ขึ้นในวันที่ ๑๔-๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยมีโรงเรียนเครือข่ายหลายโรงที่เข้าร่วมเรียนรู้ ซึ่งในที่นี้จะขอเล่ากิจกรรมในวันแรก ซึ่งเน้นที่กระบวนการเป็นหลัก เพื่อเป็นชุดข้อมูลในการสื่อสารเพื่ออภิวัฒน์กระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

๑) เครื่องมือในการช่วยให้เด็กเข้าใจตนเอง 

เป็นทฤษฎีพหุปัญญาของ ฮาวาร์ด  การ์ดเนอร์ โดยออกแบบเป็นเครื่องมือในการช่วยให้เด็กได้เข้าใจถึงความชอบ ความสนใจ ความต้องการ และด้านถนัดของตนเอง ในบทบาทของครูผู้สอน น่าจะให้เด็กๆได้ลองลงมือทำเพื่อช่วยให้เขาได้เห็นตนเองชัดเจนขึ้นว่าเขาถนัดด้านไหน อย่างไร ซึ่งท่านสามารถศึกษาได้ที่  http://www.samsungslc.org/scd/  มีทั้งแบบสำรวจตนเองและตัวอย่างสาขาอาชีพ  ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นทุนทางอุดมการณ์ให้เขาเกิดความตระหนักรู้ภายใน(Self Awareness) ตั้งคำถามกับตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมองศักยภาพของตนเองออกว่าจะไปได้หรือไม่ควรต่อด้วย "แผนชีวิต ๑ สัปดาห์" แล้วให้เขามองว่าแผนนี้ที่เราใช้ชีวิต เพียงพอสำหรับการไปสู่ฝั้นนั้นหรือไม่ อย่างไร ถ้ายัง ก็ให้ปรับแผนแล้วทำตาม

๒) เทคนิคการตั้งคำถามให้คิดแบบต่างๆ ตามประเด็น 

แบบฝึกคิด

เครื่องมือนี้ ลัดมาจากชุดครื่องมือการระดมประเด็น ซึ่งในเครื่องมือนี้เราได้ประเด็นแล้ว คือ "ธุรกิจผ้าไหม ออนไลน์" เมื่อได้ประเด็นแล้ว ในเครื่องมือนี้ก็มีชุด Pattern ให้ฝึกตั้งคำถามเพื่อเอาไปโค้ชเด็ก และบรรจุเป็นกลยุทธในการสอนของแผนประสบการณ์(EAP) โดยแต่ละคำถามการคิด อธิบายดังนี้

  • คิดคล่อง "บอกมาให้มากที่สุด" เช่น ถามว่า ถ้านึกถึงผ้าไหมจะนึกถึงอะไร  ถ้าให้ใบ้คำว่าผ้าไหมโดยไม่มีคำว่าผ้าไหมจะใบ้ว่าอะไรบ้าง คิดว่าผ้าไหมสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไนได้บ้าง 
  • กล้าคิด "จะเกิดอะไรขึ้นถ้า" เช่น ถามว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้า ทุกคนในโลกนี้ใส่ผ้าไหม ถ้าผ้าไหมเป็นลิขสิทธิ์ของชาวต่างชาติ ถ้าโลกนี้ไม่มีผ้าไหม ถ้านำผ้าไหมไปสร้างบ้าน ถ้านำผ้าไหมไปสร้างหุ่นยนต์  ถ้าผ้าไหมเป็นกระแสฮิตที่สุดในโลก
  • คิดกว้าง "เชื่อหรือไม่" เช่น ถามว่า เชื่อหรือไม่ว่า คนทำธุรกิจผ้าไหมแล้วจะรวย  คนใส่ผ้าไหมเป็นคนรวย คนใส่ผ้าไหมจะช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น คนทอผ้าไหมเป็นคนจน 
  • คิดซับซ้อนเชิงเหตุผล "ทำไม" เช่น ถามว่า ทำไมต้องขายผ้าไหมออนไลน์ ทำไมต้องใส่ผ้าไหม ทำไมผ้าไหมถึงแพง ทำไมเราต้องอนุรักษ์ผ้าไหม
  • คิดวางแผน "บอกขั้นตอน" เช่นถามว่า มีขั้นตอนการขายของออนไลน์อย่างไร มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร มีขั้นตอนการส่งของออนไลน์อย่างไร มีขันตอนการบริการอย่างไร 
  • คิดดัดแปลง ประยุกต์ เช่น ถามว่า ประยุกต์งานผ้าไหมกับเทศกาลต่างๆของโลกอย่างไร (วาเลนไทน์ คริสต์มาส ฯ) ประยุกต์ผ้าไหมกับแฟชั่น ๒๐๑๗ อย่างไรให้ดู Start Up 
  • คิดของใหม่ ออกแบบ ประดิษฐิ์ เช่น ถามว่า ให้ออกแบบลวดลายผ้าไหมที่ตอบโจทย์ Trend ๒๐๑๗ เรื่องอะไรก็ได้ ให้ออกแบบผ้าไหมไทยให้สอดคล้องกับการรับมือพายุเซินกา  ให้ออกแบบผ้าไหมไทยในลายการ์ตูนที่หนูชอบที่สุด
  • คิดเลือกตัดสินใจ เช่น ถามว่า ๕ เหตุผลที่ทำให้คุณเลือกซื้อผ้าไหม เหตุผลที่ทำให้คุณลงทุนทำธุรกิจผ้าไหม ออนไลน์ เหตุผลที่ทำให้คุณสนใจเลือกซื้อผ้าไหมจากร้านนี้ 

๓) การเขียนแผนการเรียนรู้จากประสบการณ์ (EAP: Experiential Activities Planner)

ภาพนี้สื่อความหมายได้ชัดเจน ตอนที่อาจารย์พาทำ ท่านจะพาทำขั้นที่ ๖ )ถอดรหัสปรับใช้ ก่อนเพื่อเป็นเป้าหมายว่าให้เขียนตามกรอบเนื้อหานี้ โดยให้เพิ่ม ๖.๑),๖.๒) เพื่อให้เด็กๆได้ไปเรียนรู้ต่อเพิ่มเติม ซึ่งครูอาจมีงานมอบหมายให้เขาทำเป็นเงื่อนไขในการเรียนรู้  เมื่อทำข้อ ๖ เสร็จ ก็ให้ไปทำข้อ ๒ ประกอบด้วย ๒.๑) , ๒.๒) และ ๒.๓) โดยอาจารย์ให้ทำ ๒.๓) ก่อน คือ ให้เลือกเอาคำถามจากเครื่องมือฝึกคิดด้านบน ที่เด็ดที่สุดมา ๑ คำถาม แล้วเขียนลงไปในข้อ ๒.๓ แล้วข้อ ๒.๑-๒.๒ ให้เขียนขั้นตอนตามตนเองว่าจะนำไปสู่คำถามอย่างไร

จากกนั้นที่เหลือ คือ ข้อ ๑) ๓) ๔) และ ๕) มีหลักคิดที่เน้น ดังนี้
๑) เน้นการสร้างความสนุก สดชื่น มีส่วนร่วมซึ่งเป็นสันทนาการตามแบบของครูแต่ละท่าน
๓) เน้นการฝึกให้คิดช่วยกัน "เน้นคำถามที่ว่า ทำไม อย่างไร" อาจใช้เครื่องมือ สื่อเพื่อกระตุ้นการคิด หรือใช้ MI test ดังตัวอย่าง
๔) เน้นการสร้างชิ้นงานร่วมกันผ่านกระบวนการกลุ่ม อาจทำเป็นสื่ออะไรก็ได้
๕) เน้นการสื่อสารสร้างสรรค์ จัดพื้นที่สร้างสรรค์ แล้วให้เขานำเสนอผลงาน

ทั้งนี้ เครื่องมือดังกล่าว ได้จากเวที Sumsung smart learning center บันทึกนี้จึงสื่อสารตามเครื่องมือที่ผู้เขียนได้รับรู้เรื่องใหม่ๆ ครับ 



หมายเลขบันทึก: 633530เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2017 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2017 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"เน้นคำถามที่ว่า ทำไม อย่างไร" 

....

ชอบมากครับ
ชัดเจนมากๆ

คำถามข้างต้น
คือกลไกสำคัญของการใช้ชีวิตและการงาน

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท