ร่วมด้วยช่วยกัน กับเครือข่ายเภสัชฯ (4) ... สรุปปัจจัยความสำเร็จตามหัวปลา


ตัวอย่างเล็กๆ สำหรับการฝึกทักษะการจัดการความรู้ในเรื่องหนึ่ง

 

ช่วงต่อมา ... คุณอ้วน (ฉัตรลดา) + คุณศรี ช่วยแจมตามสมควร นำกลุ่มเพื่อการสรุปปัจจัยความสำเร็จจากการประชุมกลุ่ม พอนำมามาประมวลรวมกันก็พอจะสรุปได้ตามนี้นะคะ

 

คุณอ้วน (ฉัตรลดา) ค่ะ

ปัจจัยความสำเร็จ (สรุปจากเรื่องเล่าของกลุ่ม) "ความภูมิใจ / ประทับใจ ของการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนคณะเภสัชศาสตร์"

  1. จิตวิญญาณความเป็นครู ... ตั้งใจ เสียสละ พยายาม อดทน
  2. มีใจ มุ่งมั่น ทุ่มใจ ใฝ่รู้ ศรัทธา
  3. รักองค์กร ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ
  4. วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผู้บริหารให้การสนับสนุน
  5. มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าเปลี่ยนแปลง พัฒนา ช่างสังเกต
  6. มีการพัฒนาตน พัฒนางานตลอดเวลา
  7. มีการสื่อสารที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ มีเครือข่าย ประมาณตน ทำงานเป็นทีม
  8. มีประสบการณ์การทำงาน
  9. มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
  10. มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม
  11. ยึด นศ. เป็นหลัก
  12. ทำงานเป็นระบบ มีการวางแผน ติดตามประเมินผล และนำมาปรับปรุงงาน
  13. การเป็น มีตัวอย่างที่ดี

 

อาจารย์ผู้นำเสนอกลุ่มสองค่ะ

ก็ถือได้ว่า ทั้ง 13 ข้อด้านบนนี้ เป็นข้อสรูปของประเด็นเรื่องเล่าจากกลุ่ม ... กระบวนการที่ทำในตอนนี้ อาจจะพอสรุปเป็นประเด็นเพื่อการเรียนรู้ การทำกลุ่ม Train Fa & Note ดังนี้นะคะ

  1. ข้อสรุปปัจจัยความสำเร็จ ได้มาจากเรื่องเล่าของทุกๆ คน ... ทุกคนจึงต้องมีส่วนร่วมในการเล่าของตัวเอง และฟังเรื่องเล่าของสมาชิกกลุ่ม
  2. ความรู้ในประเด็น หัวปลา ของวันนี้ นำมาสู่ competence ของหน่วยงาน
  3. ความรู้ที่สกัดได้ต่อไป จะนำไปสู่ตารางอิสรภาพ ซึ่งเป็นการกำหนดระดับของความสำเร็จเรื่องหนึ่งๆ เป็นลำดับไป
  4. ประเมินตนเอง ตามเกณฑ์ระดับจากตารางอิสรภาพที่ได้ทำขึ้นมา เป็นระยะปัจจุบัน (Current : C) และเป้าหมายที่ตั้งไว้ในอนาคต ที่ต้องการจะไปถึง (Target : T)
  5. และเมื่อนำ C และ T มาเข้าสูตร ทำจากโปรแกรม Excel ก็จะสามารถแปลผลไปสู่ธารปัญญา
  6. ข้อคิด ... ระดับของความสำเร็จที่กำหนดขึ้นมานี้ ไม่ควรกำหนดให้ยากเกินไป หรือง่ายเกินไป ระดับ ที่ 1 ถึงระดับที่ 4 ของความสำเร็จอาจดึงมาได้จากเรื่องเล่า หรือประสบการณ์ที่เล่าของกลุ่ม แต่ระดับสูงสุด ควรกำหนดระดับที่ท้าทาย ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร
  7. ข้อคิด ... การจัดการความรู้ไม่ได้ทำเพียงครั้งเดียว แต่อาจต้องทำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เป็นคำพูดที่เป็นมาตรฐาน เข้าใจง่าย เข้าใจตรงกัน และวัดได้
  8. และอื่นๆ

กระบวนการนี้ ถ้าทำครบก็จะได้ข้อสรุปกิจกรรม "การเรียนการสอนคณะเภสัชศาสตร์" ละค่ะ และก็จะนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อการจัดการความรู้ในเรื่องนี้ได้ต่อไป

สิ่งนี้คงเป็นตัวอย่างเล็กๆ สำหรับการฝึกทักษะการจัดการความรู้ในเรื่องหนึ่งๆ นะคะ ... ส่วนที่ว่า ถ้าเรามีความต้องการไปจัดการความรู้ในเรื่องที่ตรงตามความต้องการกว่านี้นั้น คงต้องระดมผู้รู้ในเรื่องนั้น มาเรียนรู้เพื่อร่วมกันสร้างกิจกรรมที่หน่วยงานต้องการจัดการความรู้ต่อไป

ยังไม่จบกระบวนการซะทีเดียวนะคะ ยังมีต่อ

 

หมายเลขบันทึก: 63339เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนคุณหมอนนทลี คุณศรีวิภา คุณฉัตรลดา

              ทีมเยี่ยมมากๆเลยครับ การเรียนรู้เข้มข้น เห็นบรรยากาศของการเรียนรู้จริงๆครับ สรุปว่าเมื่อได้ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จมีอะไรบ้างแล้ว ก็มาถึงกระบวนการพัฒนาตนเองว่าตนเองจะต้องพัฒนาสมรรถนะอย่างไรเพื่อให้งานเดินไปสู่เป้ามหมาย(หัวปลา) ประมาณนี้ใช่ไหมครับ ....เรื่องเล่าเล็กๆ 5 นาที จึงมีคุณค่า เร้าพลังได้จริงๆ จะตามตอนต่อไปครับ

Yes ... ถูกต้องแล้วค่า ครูนง

เช่นนี้นี้แล้วก็คือ ถ้าเราตั้งหัวปลาที่ดี งานที่ทำนั้นก็จะเป็นงานที่วัดได้ เอาเข้ากระบวนการทำงานชิ้นนั้น เป้าหมายก็จะชัดเจนค่ะ ... เป้าหมาย (หัวปลา) จึงสำคัญมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท