๕๘๕. บางคนอาจต้องทำงาน คนละแนวทางกับที่ศึกษา จะเป็นอย่างใดก็ตาม ก็ควรยินดีและเต็มใจทำ..


"..บางคนอาจต้องทำงานคนละแนวทางกับที่ศึกษา จะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็ควรยินดีและเต็มใจทำ เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษาเพียงพออยู่แล้วที่จะคิดหาแนวทางปฏิบัติงานทั้งนั้นให้ดีได้.."

“..เป็นไปได้ยากยิ่งที่ทุกคนจะมีโอกาสได้ทำงานตรงกับวิชาที่เรียนมา หรือพอดีกับคุณวุฒิที่มีอยู่ บางคนอาจต้องทำงานต่ำกว่าระดับวิทยฐานะ.."

"..บางคนอาจต้องทำงานคนละแนวทางกับที่ศึกษา จะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็ควรยินดีและเต็มใจทำ เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานการศึกษาเพียงพออยู่แล้วที่จะคิดหาแนวทางปฏิบัติงานทั้งนั้นให้ดีได้.."

"..ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะต้องตั้งใจทำงานให้จริง ด้วยความคิด ด้วยความพยายาม ด้วยความพอเหมาะพอดี และด้วยความรู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้ทำงานได้สำเร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง พร้อมทั้งได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับด้วย.."

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๐....

ผมอ่านพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านหลายเที่ยว..จนเข้าใจถึงชีวิตข้าราชการ..งานที่ทำอยู่ ต้องบริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก ทั้งที่ผมเรียนจบด้านวิธีสอน..บ่อยครั้ง..ในบางช่วงบางตอนของชีวิตประจำวัน ยังต้องดูแลปรับปรุงซ่อมแซม..อาคารสถานที่ สำรวจน้ำและไฟฟ้า ให้เกิดการประหยัดและปลอดภัย..

บางครั้งก็เข้าใจได้ว่า..การถึงขั้นลงมือปฏิบัติเช่นนี้..ไม่ใช่หน้าที่ ไม่มีภาพลักษณ์ของนักบริหาร แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นใด ที่ดีกว่า"ยินดีและเต็มใจทำ" ด้วยมีพื้นฐานมาจากการศึกษาเดิมๆที่ชอบเรียนรู้และหาประสบการณ์ชีวิตที่ดี ตลอดจน..สู้งาน..แม้จะพบปัญหาและอุปสรรคก็ตาม..

ด้วยความเชื่อที่ว่า..ไม่มีอะไรยาก เกินกว่าความตั้งใจในการทำงานให้จริงจัง..ด้วยความรักและศรัทธาในงาน จึงผ่านการบริหารจัดการสถานศึกษามาได้.และมาได้ไกลพอสมควร ประคับประคอง ค่อยๆก้าวไปเรื่อยๆ หาจุดที่พอเหมาะพอดี มีความสอดคล้องกับบริบท ไม่ทำอะไรเกินตัว..เพราะความรู้สึกที่ตระหนักอยู่เสมอว่าเราไม่ได้เรียนมาโดยตรง..จึงไม่ใช่ผู้บริหารมืออาชีพ...

ผมมีโอกาสได้ใช้ความรู้เดิม.จึงสามารถ.เป็นครูช่วยสอน..ปฏิบัติหน้าที่สอนทุกวัน ทำให้รู้ปัญหาการเรียนการสอน เข้าถึงวิธีการแก้ปัญหาทางวิชาการได้ไม่ยาก ข้อค้นพบต่างๆ จึงเป็นที่มาของการ "อ่านคล่องเขียนคล่อง"ของนักเรียน..ที่ครูทุกคนต่างภาคภูมิใจ..

ถึงแม้ว่า..งานวิชาการอันเป็นหัวใจสำคัญ จะหมดห่วงหมดกังวลไปได้มากมาย แต่จากการศึกษาและสังเกตพบว่า นักเรียนยังต้องเรียนรู้คู่การปฏิบัติ ที่ต้องใช้แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม ที่มีความมั่นคงและยั่งยืน เพื่อสร้างรากฐานทักษะชีวิตให้นักเรียน ให้สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหา สามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างรู้รักสามัคคี..

ณ เวลานี้..หลังจากที่ผมได้ไปกราบพระบรมศพพ่อหลวง..เป็นที่เรียบร้อย งานนอกห้องเรียนของผมก็คือนำนักเรียน ช่วยกันเพาะและทำแปลงปลูกดาวเรือง คาดหมายและมุ่งหวัง..ตั้งใจ..จะให้เดือนตุลาคม ๒๕๖๐ มีดอกไม้สีเหลือง เรืองรองอร่ามเต็มโรงเรียน...

ผมไม่เคยมีความรู้ด้านเกษตรกรรมมาก่อน..การมีอาชีพครู ทำให้ต้องศึกษาเรียนรู้และลงมือทำ ลองผิดลองถูก สนุกกับกิจกรรมไร่นาสวนผสม บ่มเพาะประสบการณ์มานานนับ ๑๐ ปี วันนี้..มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เห็นพัฒนาการ เห็นการทำงานที่เชื่อมโยงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจน

งานพิเศษ..ผมไม่เคยมองข้าม ผมถือเป็นสีสันของโรงเรียนขนาดเล็ก ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรมและสัมพันธ์ชุมชน..นอกจากจะช่วยก่อเกิดสำนึกดีตามวิถีไทยแล้ว ยังเป็นการสร้างภูมิกันให้โรงเรียนเข้มแข็งและช่วยสร้างคนดีให้เกิดขึ้นในสังคม..

ด้วยการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้าน..เพลงฉ่อย..ที่มีเนื้อหาที่สามารถทำให้นักเรียน..ค้นพบตัวเอง การบรรเลงดนตรีกันทุกวัน..มีโอกาสสื่อสารให้ชุมชนรับรู้  ความใส่ใจและมุ่งมั่นของครู ผนวกกับความกล้าแสดงออกของนักเรียนในทางที่ถูกที่ควร  ล้วนเป็น รั้วแห่งศรัทธา นำมาซึ่งการจัดการศึกษาที่ยั่งยืน..

วันนี้..เทศบาลมอบป้ายนิเทศขนาดใหญ่ติดกระจกใสเลื่อนปิดเปิดได้ให้โรงเรียน ตรงกับความใฝ่ฝันของผม ที่อยากเห็นอยากมีที่หน้าห้องสมุด..ผมจะประเดิมเริ่มต้นติดข้อความที่ป้ายนิเทศ ด้วยพระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ ๙..รายล้อมด้วยภาพดาวเรือง..

นี่คืออีกหนึ่งเรื่องเล่าในโรงเรียนขนาดเล็ก..ที่ผมภูมิใจ..ครับ

ยันต์  เพชรศรีจันทร์

๕  สิงหาคม  ๒๕๖๐ 











หมายเลขบันทึก: 632623เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2017 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2017 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน อาจารย์

       ขอแสดงความยินดี และร่วมภาคภูมิ กับการปฏิบัติในบทบาทครูค่ะ

  • เนื่องจากมีประสบการณ์การเรียนรู้ในการสร้างโรงงาน ในบทบาทผู้บริหารระดับสูง ก็ลงมือปฏิบัติ ในหลากหลายปัจจัย เช่นกัน นอกจากเกิดผลที่ดีแล้ว ยังเกิดความรู้ใหม่อีกมากมาย ที่เรียก ว่า การจัดการความรู้ และเป็นความจริง ทำให้ผู้ปฏิบัติอย่างเราเกิดการพัฒนาไปด้วย พร้อมกับ ผู้คนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม
  • การสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม จึงจะเร้าให้นักเรียนใฝ่เรียนรู้ เกิดจินตนาการ เป็นงานของครูสมัยนี้ค่ะ
  • เพลงพื้นบ้าน เป็น ศิลปะ ทางเสียง อารมณ์ ที่ส่งเสริมและกระตุ้น สมองซีกซ้าย และเหมาะสมกับนักเรียนในท้องถิ่นที่เขาเกิด มากกว่า เพลงสากลแน่นอน เขาจะเติบโตแบบมีเอกลักษณ์ไทย นุ่มนวล มีแต่ครูที่ลึกซึ้ง จึงทำเช่นนี้ได้
  • สมองซีกซ้ายสำคัญมาก ถ้าต้องการพัฒนาประเทศ ต้องปรับวิธีการสอน ที่เน้นตรรกกะสมองซีกขวา มาใช้ สมองซีกซ้ายให้มากจนเกิดความสมดุล เด็กๆจะเติบโต เ็นผู้ใหญ่ ที่แตกต่าง จาก ผู้บริหาร นักวิชาการ ฯลฯ จำนวนมากที่มีบทบาทในสังคมไทยปัจจุบัน อันนำพาแต่ การถอยหลังลงคลอง

สมกับเป็นครูในยุคสมัยนี้ที่สุดค่ะ

คุณลิขิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท