(คุยกับตนเอง ตอนที่ 19) AAR : ย้อนมองและใคร่ครวญ (4)


(คุยกับตนเอง ตอนที่ 19) AAR : ย้อนมองและใคร่ครวญ (4)

เรื่องราวในสองวันจากสิ่งที่รู้หรือไม่รู้ไปเกิดการสร้างความรู้เพิ่มอย่างไรบ้าง และเกิดการแปรเปลี่ยนในตนเองอย่างไร

ความเชื่อมโยงของการสายธารแห่งความรู้ที่ปรากฏ เริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมนันทนาการเบาเบาแต่สนุกและผ่อนคลายเป็นการทำ Ice Breaking ได้ดีมากๆ โดยคุณวาณี 

มองแนวคิดเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพผ่านผู้บริหาร คือ อ.นพ.ชลอ ศานติวรางคณาChalor Santiwarangkanaa ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 4 และคุณพนิต มโนการ รอง ผอ.สปสช.เขต4 ซึ่งทั้งสองท่านต่างมี Tacit Knowledge เยอะมากเพราะเป็นบุคคลร่วมสมัยในยุคปฏิรูประบบสุขภาพ การมอบแนวคิดมีเป้าหมายของการปูพื้นข้อมูลที่นำไปสู่การเตรียมการสร้างความรู้ให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้าเบื้องต้นได้ข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง กระบวนการสร้างความรู้ที่ตามมาจะมีคุณค่าและตกผลึก (https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1395045973876697)

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อให้การฟังดังกล่าวเริ่มเคลื่อนไปสู่ความลุ่มลึกมากขึ้นจึงใช้กระบวนการ BAR มาสะท้อนให้นักศึกษาได้มองเห็นตนเองชัดขึ้นว่ารู้อะไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน 

ซึ่ง BAR หรือ Before Action Review ซึ่งนอกจากจะได้ฝึกฝนเรื่องการใคร่ครวญในตนเองเกี่ยวกับความคาดหวังแล้ว ยังให้ได้เกิดการทบทวนตนเองในเรื่องพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพว่ามีพื้นฐานความรู้เดิมมากน้อยเพียงใด ซึ่งน้องๆ นักศึกษาค่อนข้างทำได้ดีสะท้อนออกมาได้อย่างน่าสนใจ (https://www.facebook.com/nipap... และ https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1395129350535026)

แล้วมีการเติมองค์ความรู้ผ่านฐานการเรียนรู้ในเนื้อหาเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพทั้งสิ้น 6 ฐาน เห็นความตั้งใจและความท้าทาย เพราะลักษณะการเรียนรู้จากฐานแบบนี้คล้ายเป็นการบอกความรู้ หรือให้ข้อมูล (Data/Information) ซึ่งส่วนใหญ่การเรียนรู้แบบบอกความรู้ (https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1395162897198338) กระบวนการทางปัญญาภายในถ้าไม่ได้รับการกระตุ้นต่อก็มักจะถูกนำไปเก็บไว้ในคลังความรู้ หรือไม่ก็ถูกทิ้ง(ลืม) แต่การจัดกระบวนการครั้งนี้ ใช้ Reflection (https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1395174550530506) และการแสดงบทบาทสมมติผ่านโจทย์ที่ได้รับมอบหมายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเรียนรู้ให้ตลกผลึกเกิดเป็นความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและสามารถสะท้อนออกมาได้ด้วยการสื่อสารเป็นเรื่องเล่าที่แสดงออกแบบ Role Play (https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1395348917179736)

และเพื่อการตกผลึกมากขึ้น การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด (Reflective Learning) ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือกันระหว่างอาจารย์และนิสิตนักศึกษา (Collaborative Learning) และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (Share&Learning) โดยผ่านการกระตุ้นด้วยคำถาม ซึ่งกิจกรรมที่นำมาสู่การเกิด Interactive Learning ในครั้งนี้ใช้ world cafe มาเป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในเช้าวันที่สอง การเรียนรู้แบบนี้จะแตกต่างจากการเรียนรู้แบบฐานในครั้งแรกคือ นิสิตนักศึกษาที่เข้ากลุ่มจะมีพลังและรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของของการสร้างความรู้นั้นด้วยตนเองมากขึ้น ปราศจากการตัดสินว่าถูกหรือผิด (https://www.facebook.com/nipap... และ https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1396057793775515)
และมีการทำ Reflection โดย อ.นพ.ชลอ ศานติวรางคณา และคุณพนิต มโนการ เพื่อเป็นสะท้อนภาพความรู้ความเข้าใจ ชื่นชม และเป็นการเติมเต็มองค์ความรู้ในส่วนที่ขาดหาย บันทึกคลิปไว้ที่ https://www.facebook.com/nipap...

(ภาพบันทึกการนำเสนอแต่ละกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง https://www.facebook.com/nipap...

กลุ่มที่สอง https://www.facebook.com/nipap...

กลุ่มที่สาม https://www.facebook.com/nipap...

กลุ่มที่สี่ https://www.facebook.com/nipap...

กลุ่มที่ห้า https://www.facebook.com/nipap...

กลุ่มที่หก https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1395847990463162)

กระบวนการเรียนรู้จบลงด้วยการทำ AAR หรือ After Action Review
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สะท้อนภาพทั้งหมดให้เห็นความเชื่อมโยงความรู้ จากความไม่รู้หรือรู้อะไรมาบ้าง และเมื่อเสร็จกระบวนการได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างไร สะท้อนถึงแนวโน้มของการเป็น "พลเมืองหลักประกันสุขภาพ" มากน้อยแค่ไหน ซึ่งในส่วนนี้คุณสุนันท์คงต้องตามลงไปดูเมื่อกลับไปสู่สถาบันการศึกษาหรือที่บ้านและชุมชนว่ามีการนำความรู้ที่ได้ครั้งนี้ไปสร้างความรู้ในสถานการณ์จริงอย่างไรบ้าง

บทสรุป AAR บันทึกไว้ที่ https://www.facebook.com/nipap... และ https://www.facebook.com/nipap...

"พลเมืองหลักประกันสุขภาพ" (Universal Health Coverage Citizen) UHC การเสริมสร้างความเชื่อมโยงสร้างความรู้ความเข้าใจในสถาบันการศึกษา รุ่นที่ 4 โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 วันที่ 30-31 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุมโรงแรมอิงธาร รีสอร์ท จ.นครนายก ถือว่าเกิดสายธารแห่งการเรียนรู้ได้อย่างค่อนข้างครบถ้วยและดีมากสำหรับการจัดกระบวนการและประสบการณ์ของการทำหน้าที่จับภาพ (Capture)


หมายเลขบันทึก: 632486เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2017 05:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2017 05:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท